สภาองค์การลูกจ้างหนุนเพื่อไทยปรับค่าจ้าง 300 บาท

สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย โดย นายบรรจง บุญรัตน์ ประธานฯ ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 “สนับสนุนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท” พร้อมแสดงข้อมูลการเปรียบเทียบราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ค่าที่อยู่อาศัยที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของแรงงาน

เสียงคัดค้านต่อต้านนโยบายค่าแรง 300 บาท ของพรรคเพื่อไทยดังไปทั่ว เมื่อเห็นได้ชัดแล้วว่า พรรคเพื่อไทยจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลแน่นอน โดยเฉพาะในส่วนข้อคัดค้านของฝ่ายทุน เช่น สภาอุตสาหกรรมนั้น แม้ยังฟังไม่ขึ้น แต่ก็เข้าใจได้คือเป็นความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง พูดอะไรก็ถูกทุกที   แล้วมีใครที่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทบ้างนอกจากแรงงาน  เพราะสื่อไม่ขยันพอจะไปเที่ยวหาคนที่ไม่ใช่นักการเมือง ที่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง 300 บาท   เพื่อเอาความเห็นของเขามานำเสนอบ้าง   มีแต่คนด่ากันผ่านสื่อ นั้นแหละที่สื่อจะเปิดพื้นที่ของตนให้  หากเป็นเช่นนี้ในไม่ช้า สังคมไทยก็จะคล้อยตามฝ่ายทุนว่า หากขึ้นค่าแรงระดับนี้ เศรษฐกิจทั้งระบบจะพังครืน (ทั้งๆ ที่อาจพังเพราะสาเหตุอื่น เช่น สหรัฐกำลังจะล้มละลายก็ได้)

นโยบายค่าแรง 300 บาท ของพรรคเพื่อไทย  สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย เห็นว่าไม่ใช่ตัวเลขลอยๆ ที่ได้มาจากการหาเสียง  มีเหตุผลของชีวิตแรงงานในฐานะมนุษย์รองรับอยู่  เว้นแต่คนที่จะเห็นว่าชีวิตของแรงงานไม่ใช่ชีวิตของมนุษย์เท่านั้นที่คิดว่า 300 บาท เป็นตัวเลขที่สูงเกินไป  หากแรงงานได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท แล้วจะทำให้สินค้าไทยราคาแพงขึ้นจนกระทั่งไม่อาจแข่งขันในตลาดโลกและตลาดภายในได้จริงหรือ ?

ขอบคุณภาพข่าวสดค่าแรงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตก็จริง แต่ยังมีอีกหลายปัจจัย เมื่อค่าแรงเพิ่มขึ้น 40 บาทต่อวัน มิได้หมายความว่าสินค้าจะเพิ่มขึ้นชิ้นละ 40 บาท   เพราะในกลไกการผลิตย่อมมีการดูดซับต้นทุนระหว่างกันจนกระทั่งราคาที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มค่าแรงอาจไม่มากนัก    หากรัฐเข้าไปหนุนช่วยในกลไกการผลิตในส่วนอื่น เช่น ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอะไหล่ หรือลดภาษีรายได้บริษัทลงเหลือ 27% ตามพรรคเพื่อไทยเสนอก็จะช่วยได้มาก

ยิ่งกว่านี้การหนุนช่วยของรัฐต้องมีจุดมุ่งหมายที่มากกว่าราคาสินค้าเฉพาะหน้า  ควรเป็นการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด  โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถของแรงงาน  เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้พ้นจากการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่การผลิตที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีมากขึ้น ไม่ใช่ข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมที่จะให้รัฐเข้ามาช่วยจ่ายค่าแรงเสมือนรัฐต้องจ้างอุตสาหกรรมมิให้กดขี่แรงงาน  อาจจะเป็นตรรกะเดียวกันที่นำเราไปสู่การจ้างโจรไม่ให้ปล้นด้วย

การปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท  จะนำไปสู่ของแพงขึ้นจริงหรือไม่  ก็คงมีผลให้ของแพงขึ้นในระยะหนึ่ง  เพราะเมื่อครอบครัวแรงงานสามารถกินไข่ได้ทุกวันก็เป็นธรรมดาที่ไข่ย่อมแพงขึ้นในระยะหนึ่งจนกว่าผู้ผลิตไข่ซึ่งขายดิบขายดีจะเร่งผลิตไข่ออกมาให้มากกว่าเดิม  การเพิ่มรายได้ทำให้ของแพง ก็เมื่อสินค้าใดเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น ราคาสูงขึ้น ทำไมจึงไม่แย่งกันผลิตเพื่อทำกำไร และเมื่อแย่งกันผลิตราคาสินค้านั้นก็น่าจะลดลงมาสู่ราคาที่สมเหตุสมผล ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่รายได้ซึ่งเพิ่มขึ้น  แต่น่าจะอยู่ที่ว่ากลไกตลาดของเราเองต้องมีอะไรบางอย่างบิดเบี้ยวทำให้ไม่มีใครแย่งกันผลิต

ดังนั้นการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมนั้นไม่มีจริงในตลาดไทย  เราน่าจะไปจัดการกับการเก็งกำไรของอำนาจเหนือตลาดในรูปแบบต่างๆ  ซึ่งครอบงำตลาดไทยอยู่ และที่จริงก็มีมากเสียด้วย  การเพิ่มค่าแรงเป็น 300 บาท จึงต้องมาพร้อมกับมาตรการที่จะทำลายอำนาจเหนือตลาดในรูปแบบต่างๆ ไม่ใช่ไปห้ามไม่ใช้จ่าย 300 บาท มิเช่นนั้นไม่ควรมีใครในโลกได้รายได้เพิ่มขึ้นสักคนรวมทั้งนักวิชาการด้วย

การลดดอกเบี้ยเงินกู้แก่ผู้ประกอบการ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิต ปัจจุบันธนาคารเอาเปรียบผู้ประกอบการและประชาชนมาก  ธนาคารสามารถขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ตามใจชอบ แต่ดอกเบี้ยเงินฝากถูกกดให้ต่ำติดดิน  นักวิชาการ นายทุน ผู้ประกอบการ น่าจะถามคำถามว่า ทำไมธนาคารจึงมีเสรีภาพในการเอารัดเอาเปรียบเช่นนี้  แทนที่จะโจมตีค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ต่อวัน

อันที่จริงนโยบาย 300 บาท นี้ก็เดินตามนโยบายของรัฐบาลของพี่ชายว่าที่นายกฯ เป็นการฟื้นเศรษฐกิจวิธีหนึ่ง (แทนการแจกเงินเฉยๆ แก่ข้าราชการและลูกจ้างและพนักงานรัฐวิสาหกิจ) คือทำให้เกิดความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยในตลาดให้มากขึ้น อันจะเป็นแรงขับเคลื่อน เศรษฐกิจทั้งระบบ เพียงแต่ว่าไม่ได้มุ่งเน้นแต่ตลาดต่างประเทศอย่างที่สภาอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ แต่เพิ่มกำลังซื้อภายในให้สูงขึ้น   อย่าลืมด้วยว่าตลาดภายในนับวันจะมีความสำคัญมากขึ้น

บางคนแสดงความห่วงใยว่า 300 บาท  จะดึงเอา พม่า ลาว  กัมพูชา หลั่งไหลเข้ามาอีกมากมายก็คงจะดึงจริงแน่  และถึงจะมีหรือไม่มี 300 บาท  อีก 5 ปีข้างหน้า ในเงื่อนไขของเศรษฐกิจเสรีอาเซียน  การหลั่งไหลของแรงงานข้ามชาติ  ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ปัญหาอยู่ว่าเหตุใดนายจ้างไทยจึงนิยมจ้างแรงงานต่างชาติ  ส่วนหนึ่งก็เพราะแรงงานไทยขาดแคลนและงานบางอย่างแรงงานไทยไม่ทำ   การมีแรงงานต่างชาติเข้ามาก็ดี   เป็นการช่วยอุตสาหกรรมบางประเภทให้อยู่ได้   แต่สาเหตุส่วนนี้ยังไม่สำคัญเท่ากับว่า แรงงานต่างชาติรับค่าจ้างและสวัสดิการต่ำกว่าแรงงานไทย  แม้กฎหมายไทยไม่ได้ยกเว้นแรงงานต่างชาติจากสิทธิทั้งหลายที่กฎหมายกำหนด แต่ในความเป็นจริงนายจ้างจ่ายค่าแรงต่ำกว่ามาก   อีกทั้งไม่ได้ให้สวัสดิการใดๆ ที่กฎหมายกำหนดเลย

สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิก 130 สหภาพแรงงาน มีลูกจ้างที่จะต้องดูแลถึง 60,000 คน ขอสนับสนุนนโยบายพรรคเพื่อไทยในการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ

เปรียบเทียบราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ค่าที่อยู่อาศัยที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของแรงงานไทย

ประเภทอาหาร

ลำดับ

ประเภทสินค้า

ปี 2533

ปี 2554

ส่วนต่าง

เพิ่ม

1

ข้าวเปล่า 1 ถุง

5

7

2

40%

2

แกงถุง 1 ถุง

20

25

5

25%

3

ก๋วยเตี๋ยว+อาหารจานเดียว 1 จาน

20

25-30

5-10

25-50%

4

บะหมี่สำเร็จรูป 1 ซอง

5

6

1

20%

5

ปลากระป๋อง 1 กระป๋องสามแม่ครัว

13

17

4

30%

6

น้ำเปล่า 1 ขวด

5

6

1

20%

7

น้ำมันพืช 1 ลิตร ปาล์ม

27

44

17

ประมาณ 60%

8

ไข่เบอร์ศูนย์ 10 ฟอง

39

44

5

ประมาณ 12%

9

น้ำตาลทรายขาว 1 กิโลกรัม

21

24

3

ประมาณ 15%

ประเภทที่อยู่อาศัยและค่าเดินทาง

ลำดับ

ประเภทสินค้า

ปี 2553

ปี 2554

ส่วนต่าง

เพิ่ม

10

ค่าห้องเช่าห้องน้ำในตัวไกลถนน

1,800

1,900

100

ประมาณ 5%

11

ค่าห้องเช่าห้องน้ำในตัวใกล้ถนน

2,300

2,350

50

ประมาณ 2%

12

ค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างออกจากซอยในเมือง

10

12

2

20%

13

ค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างออกจากซอยนอกเมือง

10

15

5

50%

14

ค่าน้ำประปาห้องเช่า/ยูนิต

15

16

1

ประมาณ 7%

15

ค่าไฟห้องเช่า

5

8

3

60%

 

ประเภทค่าใช้จ่ายจำเป็น

ลำดับ

ประเภทสินค้า

ปี 2553

ปี 2554

ส่วนต่าง

เพิ่ม

16

นมผงเด็กเอนฟาเลค/600 กรัม

489

589

100

20%

17

ค่าเลี้ยงเด็ก/เดือน

2,500

3,000

500

20%

18

ค่ารถโรงเรียน/เดือน

600

700

100

17%

สินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน ผู้ค้าปลีกปรับเพิ่มอีกประมาณ 10 เปอร์เซ็น

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายของคนงาน 1 คนต่อเดือน

ค่าอาหาร                                 300      บาท                 ค่าที่อยู่อาศัย                1,800   บาท

ค่าน้ำประปา+ค่าไฟฟ้า             500      บาท                 ค่าอุปโภค                    500      บาท

ค่าพาหนะ                                1,000   บาท                 ค่าโทรศัพท์                  300      บาท

รวม                                          7,100   บาท

ซึ่งยังไม่รวมเครื่องนุ่งห่ม บันเทิง หรือผ่อนทีวี ตู้เย็นและภาษีสังคม เช่น ซองผ้าป่า กฐิน งานศพ งานแต่งและที่สำคัญพ่อแม่ขั้นต่ำคนละ 1,000 บาท/เดือน เด็กเล็กเดือนละ 5,000 บาท/เดือน ลูกโตขั้นต่ำ 3,000 บาท/เดือน เปรียบเทียบให้เห็นว่าค่าจ้างเงินจะหมดไปกับอาหารและที่อยู่อาศัย

หยุดกดขี่แรงงาน  หยุดขูดรีดแรงงาน  หยุดการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน

คืนความเป็นธรรมให้คนในสังคม แล้วความสันติสุขจะกลับคืนมา

ขอบพระคุณพรรคเพื่อไทยที่มีนโยบายดี

*******************************************************