วันความปลอดภัยคสรท.พร้อมเครือข่ายประกาศ 3 ข้อแก้ปัญหา

วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ขบวนแรงงานประกาศข้อเสนอ 3 ข้อ แก้ปัญหาความไม่ปลอดในการทำงาน

วันที่ 10 พฤษภาคม 2560 ได้มีการจัดงาน วันความปลอดภัยแห่งชาติ อันตรายจากแร่ใยหิน ทำไมต้องเลิกใช้ งดนำเข้า จัดโดย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ที่โรงแรมทีเค พาเลซ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากผู้ใช้แรงงานกลุ่มต่างๆ ซึ่งก่อนเปิดงานได้มีการฉายวิดีทัศน์เรื่องการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงาน จากกรณีไฟไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาเคเดอร์ พร้อมร่วมกันยืนรำลึกถึงความสูญเสียชีวิตของคนงานเคเดอร์

ดร.ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เรื่องความปลอดภัยในการทำงานมีความก้าวหน้ามากทั้งด้านกฎหมาย การดูแล และการตระหนักถึงการทำงานและดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น ประเด็นเรื่องการใช้แร่ใยหินมีการทำงานรณรงค์มาช้านานเรื่องอันตรายจากแร่ใยหิน แต่ว่าความรับรู้ทางสังคมกับยังมีน้อย ถึงความอันตรายจากแร่ใยหิน ซึ่งควรต้องมีการสร้างความรับรู้กับสังคมให้ตระหนักถึงอันตรายจากแร่ใยหิน เพระอันรายจากแร่ใยหินอยู่ที่บ้านเรา ซึ่งหลายประเทศได้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินไปแล้ว

นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน กล่าวว่า สถาบันความปลอดภัยที่ต้องการให้การคุ้มครองดูแลแรงงานแต่ว่า กับได้มาแบบแขนกุดขาขาดจึงได้รับการชดเชย อย่างแนวนโยบายอุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์แต่ว่าเป็นแบบผักชีโรยหน้าหรือไม่ เมื่อสภาแครือข่ายฯได้มีการรับเรื่องราวร้องทุข์กรณีเจ็บป่วยจากการทำงานกรณีการยกของหนักปวดหลัง ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าป่วยปกติไม่ได้ เป็นพยาธิวิทยา ไม่ใช่การป่วยเนื่องจากการทำงานส่งผลให้นายจ้างเลิกจ้างต้องตกงานมีผลกระทบมากมาย และมีคนป่วยแบบนี้จำนวนมากในโรงงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นโยบายอุบัติเหตุเป็นศูนย์ ยังทำให้เรื่องการป่วยเนื่องจาการทำงานไม่เข้าถึงสิทธิการรักษาและการชดเชย ด้วยต้องการที่จะไม่ให้มีการเจ็บป่วยเนื่องจากงานนอกจากแขนขาขาดบาดหรือตาย เป็นข่าวเท่านั้น

อย่างประเด็นการรณรงค์เรื่องแร่ใยหิน ที่ส่งผลต่อสุขภาพคนที่สัมผัสกับแร่ใยหิน ซึ่งไม่ใช่แค่คนทำงานเกี่ยวข้องเท่านั้น แต่คนที่ใช้อย่างประชาชนที่ใช้ปลูกบ้าน หรือใช้อุปกรณ์ก่อสร้างที่มีแร่ใยหินแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นปอดอักเสบ และป่วยเป็นมะเร็งปอดได้ อยากให้รัฐเข้าถึงตรวจสอบได้ในโรงงานที่ใช้แร่ใยหินด้วย เพราะลูกจ้างไม่สามารถทำได้ด้วยต้องทำงานกับนายจ้าง ประเด็นต่อมาต้องทำให้คนงานเข้าสู่การดูแลป้องกัน และเข้าถึงประเด็นสุขภาพ ได้รับการวินิจฉัยการป่วยเนื่องจากการทำงาน และเข้าถึงสิทธิเงินทดแทน รัฐอย่ากลัวเรื่องนายจ้างไม่ได้รางวัลย์โรงงานปลอดจากอุบัติเหตุ และคนเจ็บป่วยจากการทำงาน ความไม่ปลอดภัยต้องเป็นศูนย์ หากรัฐแก้ปัญหาตรงจุด

ศ.ดร. นพ. พรชัย สิทธิสรัญกุล คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะกรรมการประกันสังคม มีคณะกรรมการแพทย์เพื่อพิจารณาการเจ็บป่วยไม่เนื่องจากงาน มีบาดเจ็บ เจ็บป่วยไม่เนื่องจากการทำงาน ประเด็นแร่ใยหิน หากมีสารพิษในอากาศปอดก็จะได้ผลกระทบ ซึ่งวัสดุที่มีแร่ใยหิน คือกระเบื้องทนไฟ ส่วนแรกคือคนงาน และส่วนต่อมาคือนำไปใช้ ทำให้เกิดอันตรายต่อปอด ซึ่งแร่ใยหินเป็นส่วนก่ออันตราย หากสูดเอาเศษที่แตกหัก ช่วงที่เรื้อถอน ซึ่งการรื้อถอนก็ต้องมีข้อควรระวัง

แนวคิดการแก้ไขปัญหาเรื่องแร่ใยหินความพยายามที่จะให้เกิดการยกเลิกการใช้หรือการนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม มีการประชุมระดับเอเชีย และประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อที่จะทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน มีการขับเคลื่อนในกลุ่มทีแบน ในการขับเคลื่อนเรื่องแร่ใยหิน และมีการตั้งคณะทำงาน เพื่อรณรงค์ทำความเข้าใจในการป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากแร่ใยหิน และสองก็ผลักดันด้านกฎหมาย และสามก็แบนแร่ใยหิน สี่ก็ให้กรมคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงแรงงานเข้าไปควบคุมดูแลลดการใช้แร่ใยหิน จากประเภทที่ 5 เหลือแค่ 4  ให้เหลือ 0.01 ดูแลเรื่องความปลอดภัยควบคุมมากขึ้น ซึ่งมีการแบนเรื่องคัมมอกโซน ยาปราบสัตรูพืชที่มีความเป็นอันตราย และใช้มีการควบคุมการนำเข้า และการใช้

ยุทธศาสตร์ที่สองเข้าพบรัฐมนตรี รณรงค์ข้อมูล และยุทธศาสตร์ที่สาม คือยังไม่พบคนที่ป่วยเนื่องจากแร่ใยหิน เพราะอะไรที่ยังไม่มีการแบนแร่ใยหิน อย่างคนญี่ปุ่น ที่แบนแร่ใยหินแล้ว นอกจากโรคจากแร่ใยหินก็จะมีโรคปอดจากฝุ่นถ่านหิน จากฝุ่นหินทราย เพื่อยืนยันในการรักษาดูแล หากพร้อมก็จะเข้าสู่การวินิจฉัยโรคจากการทำงานได้ และเข้าสู่การวินิจฉัยโรคจากฝุ่นเหล่านี้เพื่อเข้าสู่กองทุนเงินทดแทน โดยไม่มีการปฏิเสธโรคจากการทำงาน

กองทุนเงินทดแทน เป็นการตั้งขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่ เมื่อป่วยให้ไปคลีนิกโรคจากการทำงานเมื่อคิดว่าป่วยจากการทำงาน มีการเริ่มผลิตแพทย์ผู้เชียวชาญโรคจากการทำงาน แต่ถูกควบคลุมคุณภาพจากแพทยสภา ประวัติการทำงาน คนที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่คล้ายกัน ต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อส่งไยังแพทย์ผู้เชียวชาญด้านอาชีวอนามัย

ศ.ดร.พ.สุรศักดิ์ รณตรีเทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มะเร็งจากแร่ใยหินจะเป็นที่เยื้อหุ้มปอด ซึ่งการจะวินิจฉัยว่าใช่หรือไม่จะต้องพบมีแร่ใยหินที่ปอดก่อน และมะเร็งที่ผนังช่องท้อง หรือเยื้อหุ้มปอดจากเหตุแร่ใยหิน และก็มะเร็งรังไข เนื่องจากเป็นแบบเส้นแหลมจึงเข้าไปทะลุทะลวงได้ลึก ไคโทไซต์ เป็นแร่ที่อันตราย และมีการนำเข้าจากประเทศรัสเซีย อุตสาหกรรมที่ใช้แร่ใยหิน คือจะถูกนำมาใช้ในผ้าเบรก คัช กระเบื้องกันไฟ ซึ่งต่างประเทศต้องมีชุดที่ป้องกัน เมื่อมีการรื้อถอน พนักงานอู่ซ่อมรถ อู่ต่อเรือต้องมีชุดในการป้องกันเพราะว่ามีผลกระทบต่อคนทำงานอย่างมาก สิ่งแวดล้อมประชาชนก็ได้รับผลต่างๆได้หากมีการนำไปทิ้งในพื้นที่ต่างๆแล้วมีการฟุ้งกระจาย และส่วนหนึ่งที่เห็นด้วยกับการใช้แร่ใยหิน จะให้เหตุผลมีผู้ป่วยในแฟมแค่ 12 รายเท่านั้น คือมีผลกระทบน้อย จึงเห็นว่ามีผู้ป่วยจำนวนไม่มาก จะให้มีการใช้แร่ใยหินต่อไปไดแต่ป็นแบบป้องกันได้หรือไม่ ซึ่งมีโรงงาน 20 แห่งที่ใช้แร่ใยหิน ตรวจสอบไปเหลือ 14 แห่งที่ยังใช้อยู่ และเมื่อตรวจไปที่คนทำงานก็สามารถที่จะตรวจตามความเสี่ยงเนื่องจากการทำงาน จาก 14 โรงงานมีการถ่ายภาพรังสีปอดจริงแต่ฟิมล์ไม่มีคุณภาพพอ จึงพบว่าคนทำงานมีความเป็นปกติอยู่ และก็มีการหาดูกลุ่มคนงานก่อสร้าง ซึ่งต้องเป็นแรงงานที่อยู่นอกระบบ และจัดอบรมกันไปเรื่องการรื้อถอนกระเบื้องที่ปลอดภัยอย่างไร ก็ได้รับความสนใจ และก็อยากได้ข้อมูลคนทำงานที่สัมผัสกับแร่ใยหินซึ่งจะมีผลใช้เวลาก่อตัวของโรคราว 10-30 ปีซึ่งออกงานกันไปแล้ว และรูปแบบการดูแลคนป่วยตอนนั้นจะทำอย่างไร เป็นระบบไหนเพราะว่ากองทุนเงินทดแทนก็คงไม่ดูแลแล้ว จะมีการเก็บเงินจากบริษัทหรือไม่ ซึ่งมีคนที่ป่วยเป็นมะเร็งหุ้มปอดที่ลำปาง 100 กว่าราย ที่สวนดอกเชียงใหม่ 7 ราย มีรวมแล้ว 200 กว่ารายที่ป่วยเนื่องจากมะเร็งในเยื้อหุ้มปอด หากมีการตรวจพบมากขึ้น ซึ่งต้องขจัดที่ต้นเหตุคือยกเลิกใช้แร่ใยหิน

ดร.พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า เรื่องสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานนั้นหากจะทำงานเชิงรุกอาจต้องมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยควรต้องเข้าไปมีส่วนร่วม และทางกระทรวงแรงงานจะจัดสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานในเดือนกรกฎาคม และมีการพูดถึงไทยแลนด์ 4.0 เพื่อขับเคลื่อนเรื่องความปลอดภัยในการทำงานปี 2560 มีการรณรงค์ ทั้งการทำงาน สารปราบศัตรูพืช และการทำงานก่อสร้าง ต้องการที่จะลดอัตรายการประสบอันตรายในการทำงาน โดยตั้งเป้าไว้ 2 ล้านคน หากพูดถึงเซพตี้ไทยแลนในงานสัปดาห์ความปลอดภัยก็ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อลดอุบัติเหตุ อุบัติภัย และลดโรคจากการทำงาน ซึ่งเป็นแผน 20 ปี พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยในการทำงาน หลังเกิดสถาบันความปลอดภัย ซึ่งก็มีการบังคับกับภาครัฐดวย จากเดิมไม่มีการดูแลคนทำงานภาครัฐเลย

ทั่วประเทศที่ไม่มีคลีนิกโรคจากการทำงาน คือพิษณุโลก บึงกาฬ หนองบัวลำพูน ซึ่งมีแพทย์ไม่เพียงพอ ตามโรงพยาบาลต่างๆอย่างน้อยจะมีแพทย์ ปรือพยาบาลที่เชียวชาญโรคจากการทำงาน ซึ่งพยาบามกระตุ้น คนที่สงสัยว่าป่วยจากการทำงานให้ส่งไปที่คลีนิกโรคจากการทำงาน หากประวัติอาชีพชัดเจนก็เชื่อได้ว่าการป่วยจากการทำงาน หากแพทย์ซักประวัติน้อยก็จะไม่มีข้อมูลเข้ามาว่าป่วยจากการทำงาน แนวโน้มนายจ้างเมื่อพบหรือสงสัยว่าลูกจ้างป่วยเนื่องจากการทำงานก็จะส่งลูกจ้างไปโรงพยาบาลเอกชนไม่มีการส่งตัวไปโรงงานที่มีการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน หากไปโรงพยาบาลรัฐมีการรายงานการป่วยจากการทำงานแน่นอนหากเอกชนจะไม่ค่อยรายงานเรื่องป่วยจากงานแน่นอน

กฎหมายที่มาดูแลเรื่องแร่ใยหินเป็นของกรมอุตสาหกรรมไม่เกี่ยวกับสาธารณสุข หรือต้องมีการตรวจเรื่องวัสดุอันตราย ซึ่งช่วงที่การรอเพื่อยกเลิก ต้องมีการป้องกันตัวเอง และมีการรวมตัวเพื่อให้นายจ้างมีการจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากแร่ใยหินด้วย  และกว่าจะรู้ว่าป่วยก็ใช้เวลาถึง 30 ปี ซึ่งออกจากงานแล้ว แต่ละคนต้องช่วยกันดูแลหากทราบว่าใครทำงานเกี่ยวเนื่องกับแร่ใยหินให้บอกคนเหล่านั้นให้ไปตรวจสุขภาพเพื่อดูและและป้องกันเบื้องต้น การยกเลิกแร่ใยหินยังต้องใช้เวลาด้วยเป็นอำนาจของกรมอุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหาข้อมูลเพิ่มเติมในความเป็นไปได้ในการยกเลิกการใช้แร่ใยหิน

ในฐานะบอร์ด(คณะกรรมการ) สถาบันความปลอดภัยนั้น ยังมีการจัดการเรื่องวิชาการ ยังไม่ได้ลงเชิงระบบภัยสุขภาพ และไม่ได้เน้นตรงนี้ว่า มีอะไรที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยในกการทำงาน และอะไรที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ซึ่งลงไปที่การแก้ไขอุบัติเหตุมากกว่าโรคจากการทำงาน

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า หลังจากกรณีโศกนาฎกรรมสร้างความสูญเสียชีวิตของแรงงานจากกรณีไฟไหม้โรงงานผลิตตุกตาเคเดอร์ต้องสูญเสียชีวิตคนงาน 188 คน บาดเจ็บพิการ 469 คน อีกอีกหลายครั้งที่ต้องสูญเสีย เนื่องจากความไม่ปลอดภัย กว่าจะมาเป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ต้องมีการเคลื่อนไหวมากมายเพื่อให้เกิดการดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน โดยการรณรงค์ การล่าลายมือชื่อเพื่อเสนอ ให้มีการตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน เกิดพระราชบัญญัติส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน ตั้งสถาบันความปลอดภัยแต่ว่าชีวิตของคนงานการเข้าถึงสิทธิ การได้รับการดูแล การชดเชย ทดแทน ยังไม่ได้รับสิทธิ สถิติความไม่ปลอดภัยในการทำงานยังคงไม่มีการดูแล ซึ่งทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยมีนโยบายขับเคลื่อนเรื่องให้รัฐดูแลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานตลอด ประเด็นปัญหาในการทำงานนี้ใช้เวลามานานและยังคงมีคนป่วยจากการทำงาน พร้อมโรคใหม่ๆจำนวนมาก เช่นประเด็นแร่ใยหินวันนี้ก็ไม่ทราบว่าใครป่วยและป่วยจำนวนเทาาไรตัวเลขไม่ชัด เพราะว่าการฟักตัวของโรคใช้ระยะเวลานาน ซึ่งคนที่ทำงานก็ไม่อยู่ในงานแล้ว และการทำงานของคสรท.เรื่องการยกเลิกแร่ใยหินคงต้องลงพื้นที่ให้ความรู้ทำความเข้าใจกัน และต้องมีการทบทวนวางแผนกันในการให้การศึกษาให้ความรู้กับประชาชนคนทำงาน ข้อเรียกร้องวันแรงงานก็ต้องมีการติดตาม

เรื่องความปลอดภัยต้องก้าวข้ามเชื้อชาติ เพราะงานก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ อย่าให้ภาครัฐมาบิดเบือน คนทำงานทุกคนต้องได้รับสิทธิ เข้าถึงการคุ้มครองดูแล

จากนั้นทางเครือข่ายได้อ่านคำประกาศเจตนารมณ์เนื่องในวัน“ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ”10 พฤษภาคม 2560

วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 หรือย้อนไปเมื่อ 24 ปีที่แล้ว เกิดเพลิงไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาของบริษัท เคเดอร์อินดัสเตรียล ไทยแลนด์ อ.สามพราน จ.นครปฐม ส่งผลให้คนงานนับพันต้องวิ่งหนีตายอลหม่าน เหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นเหตุให้คนงานเสียชีวิต 188 คน และมีผู้บาดเจ็บอีก 469 คน

เพื่อไม่ให้ชีวิตของคนงานต้องสูญเปล่า สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และขบวนการแรงงานจากภาคส่วนต่างๆยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลประกาศให้ วันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ” โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2540 เห็นชอบให้วันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันอันตรายและการดูแลความปลอดภัยในการทำงานของคนทำงานในทุกสาขาอาชีพเป็นจุดเริ่มต้นให้ขบวนการแรงงานเคลื่อนไหวเรียกร้องความปลอดภัยในการทำงาน และใช้เวลา 21 ปีเพื่อผลักดันการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน จนเป็นผลสำเร็จ

กว่า 6 ปีของการประกาศใช้กฎหมาย แต่ก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง ด้วยเงื่อนไข และข้อจำกัด อีกทั้งขาดการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ มีบุคลากรที่จำกัด ทำให้สถานการณ์เรื่องความปลอดภัยยังอยู่ในสภาพที่ต้องผลักดันต่อไป โดยเฉพาะเรื่องสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ยังขาดทิศทางการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้แรงงาน  ทำให้คนงานขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย และการเข้าถึงบริการอาชีวอนามัย การเข้าถึงการวินิจฉัยโรค รักษาเยียวยาและทดแทน  สถานการณ์ล่วงเลยปรากฏการณ์และโรคใหม่ๆ ทางด้านอาชีวอนามัยจากการทำงาน อันตราย จากการใช้ การสัมผัสสารเคมี ทำให้คนงานเป็นโรคมะเร็ง เจ็บป่วยทุกข์ทรมานอย่างมาก

แร่ใยหิน (Asbestos) ซึ่งนำมาใช้มากทั้งที่ผลิตจากภายในประเทศและนำเข้า คืออุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องซีเมนต์ อุตสาหกรรมผลิตเบรคและคลัทช์ อุตสาหกรรมผลิตท่อน้ำ ยากำจัดศรัตรูพืช เป็นต้น

แร่ใยหินเข้าสู่ร่างกายทางจมูกโดยการหายใจเข้าไป อวัยวะเป้าหมายสำคัญคือ ปอด ผลจากการศึกษาทางระบาดวิทยา โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับแร่ใยหิน ทำให้เชื่อได้ว่า แร่ใยหินทุกชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค มะเร็งปอด และมะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุช่องท้อง (Mesothelioma)  แอสเบสโตสิส (Asbestosis) เป็นโรคปอดเรื้อรังที่เกิดเฉพาะกับผู้ที่สัมผัสกับแร่ใยหินเท่านั้น เนื่องจากปฏิกิริยาทางชีวภาพระหว่างเส้นใย แร่ใยหินและเนื้อเยื่อปอด ทำให้ปอดเกิดเป็นแผลเป็น ปอดที่ถูกทำลายไปแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับคืนมาดีได้ดังเดิม

ดังนั้น ข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)และสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เนื่องในวันความปลอดภัยในปีนี้และได้ยื่นเป็นข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากลต่อรัฐบาลไปแล้วเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2560 คือ

1.รัฐต้องเร่งรัดให้มีการพัฒนากลไกการเข้าถึงสิทธิ์ การบังคับใช้ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 อย่างจริงจัง ภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน และยกเลิกการใช้แร่ใยหินในทุกรูปแบบ

2. รัฐต้องจัดสรรเงินงบให้กับสถาบันความปลอดภัยฯ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัย ให้มีประสิทธิภาพ

3. ให้รัฐยกเลิกแร่ใยหินทุกรูปแบบ และในระหว่างที่ยังยังยกเลิกไม่หมดให้กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศให้แร่ใยหินเป็นวัตถุอันตรายประเภท 4 ให้กระทรวงแรงงานประกาศให้สภาพแวดล้อมที่ทำงานเกี่ยวกับการใช้แร่ใยหินจาก 5 เส้นใยเหลือ 0.01 เส้นใย

แม้รัฐบาลประกาศเดินหน้าโครงการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) มีการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่าง 6 กระทรวง แต่การจัดการเรื่องความปลอดภัยจะสำเร็จไปไม่ได้หากปราศจากการมีส่วนร่วมจากภาคีต่างๆ โดยเฉพาะภาคีของผู้ใช้แรงงาน และที่สำคัญยิ่ง สิ่งที่คาดหวังว่าความต้องการของพวกเราพี่น้องคนงานทั้งหลาย คือ “พลังของพวกเราที่จะร่วมกันผลักดัน”เฉกเช่นในอดีตที่ผ่านมา ที่เราผ่านความยากลำบากในการต่อสู้แต่เราก็สามารถฟันฝ่ามาสู่ความสำเร็จระดับหนึ่ง จึงเชื่อว่า ความสำเร็จจะอยู่ไม่ไกลหากเราสามัคคีรวมพลังกันพร้อมกับประสานงานขับเคลื่อนพร้อมกับเครือข่ายทางสังคมจะยิ่งทำให้ความสำเร็จเกิดขึ้นในเร็ววัน

เราขอประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันว่า เราจะร่วมกันผลักดันให้เรื่องความปลอดภัยเป็นวาระสำคัญให้บรรลุเป้าหมายความปลอดภัยของคนงานทั้งมวล

เราขอประกาศเจตนารมณ์ว่าเราจะร่วมกันรณรงค์ผลักดันให้ถึงที่สุด

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน