มอบโล่”ผู้หญิงเก่ง”เสวนา “ลดความรุนแรง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมเสมอภาค-สมานฉันท์”

สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ”ผู้หญิงเก่ง”และเสวนา “ลดความรุนแรง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมเสมอภาค-สมานฉันท์”

วันที่ 3 มีนาคม 2560 สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯได้จัดงานมอบโล่ะประกาศเกียรติคุณ “ผู้หญิงเก่งปี 2560 ” ในงานสัปดาห์วันสตรีสากล 2560 โดยคุณเรืองรวี พิชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนาได้รายงานถึงการมอบโล่ครั้งนี้นั้นมีประกอบด้วยผู้หญิงเก่ง 9 สาขา ประกอบด้วย คุณณัฐธยาน์ ดำงาม สาขาเกษตรกร ,คุณชลธิชา ศรีสุข สาขาสิ่งแวดล้อม , คุณประภาพร เชื้อเมืองพานสาขานักพัฒนา,คุณพิกุล กิตติพล สาขาผู้ริเริ่มทางเศรษฐกิจ ,คุณเพ็ญภัค รัตนคำฟู สาขานักการเมืองท่องถิ่น , คุณปทุมทิพย์ ไพเราะ สาขานักบริหาร,คุณรัตนา เตชะเสาวภาคย์ สาขาสื่อมวลชน, คุณชลธิกาญจน์ กัลยา สาขาเยาวชนสตรี , คุณนงลักษณ์ ชูศรี สาขาสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองดีเด่น คือ กองทุนหมู่บ้านสันต้นแหน การบริหารตัดการอย่างมีส่วนร่วมของผู้หญิง และผู้หญิงเก่งแห่งปี คือคุณอุษา เลิศศรีสันทัด ผู้อำนวยการโครงการมูลนิธิผู้หญิง และ ผู้ชายเก่งแห่งปี คือผู้พิพากษาวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญสกุล 

ผู้พิพากษาวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญสกุล กล่าวในเวทีเสวนาผู้หญิงแห่งปี และผู้ชายแห่งปี 2560 ว่า การพิจารณาคดีก็มีการใช้แนวคิดในมุมมองด้านความเป็นผู้หญิงเข้าไปด้วย ซึ่งก็มีคนมองว่า มันไม่มีกฎหมายที่พูดถึง อย่าคดีความที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศที่ศาลหรือกฎหมายต้องมีการเอาคนทั้งสองมาเผชิญหน้า ซึ่งตนก็พยายามไม่ให้เกิดการเผชิญหน้าเพราะการเผชิญหน้าจะทำให้เกิดความวิตกกังวล และอย่างคดีที่ผู้หญิงที่ฆ่าสามีก็ถือเป็นคดีที่ต้องมีการความเคารพและพิจารณาที่ต้องมีมุมมองอย่างเข้าใจประเด็นความเป็นผู้หญิงผู้ชาย หรือประเด็นเพศที่สามก็ต้องการมุมมองที่เข้าใจเป็นพิเศษเช่นกัน

การดำเนินคดีต้องไม่มีการเผชิญหน้าต่อกรณีผู้เสียหายจากการถูกละเมิดทางเพศ ซึ่งศาลยังจัดให้นั่งด้วยกันเผชิญหน้ากัน ซึ่งควรใช้แบบคดีเด็กและเยาวชนในการดำเนินคดีที่มีการแยกการสอบสวน ไตรสวนคดี เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ยุคหลังผู้พิพากษารุ่นหลังนั้นมีการผ่านกระบวนการหลักสูตรหญิงชาย จึงคิดว่าการดำเนินคดีศาลจะมีความเข้าใจเรื่องมิติหญิงชายมากขึ้นในการพิพากษาคดีความ

“คิดว่าสังคมต้องเคารพกันและการเรียนรู้ต้อเรียนรู้เหมือนกันถึงบทบาทกันและกันอย่างเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่า เทียมกัน สังคมเป็นตนเขียดกำหนดให้เขาผิดและรุมประนามว่าผิดตัดสินแล้วโดยไม่ได้มองเขาอย่างเคารพ ซึ่งหากมองกันอย่างเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันทั้งหญิงและชายไม่มองใครแบบตัดสินทุกอย่างจะเป็นธรรมมากขึ้น สังคมจะเรียนรู้ร่วมกันถึงความเป็นหญิงและชายอย่างเท่าเทียมกัน” ผู้พิพากษาวัชรินทร์ กล่าว

คุณอุษา เลิศศรีสันทัด ผู้อำนวยการโครงการมูลนิธิผู้หญิง กล่าวว่า การขับเคลื่อนขององค์กรผู้หญิงก็จะเป็นเรื่องของการทำตามสถาพปัญหาจะมีการผลักดันให้แก้ไขทางรากเหง้าของปัญหายังยากอยู่ ถือเป็นอุปสรรค์ทางวัฒนธรรม ค่านิยมทางสังคมที่มุมมองว่า การที่ผู้หญิงถูกทุบตี หรือว่าถูกหลอกลวงไปค้าประเวณีเป็นเรื่องที่ผู้หญิงรู้อยูแล้วแต่ทำไมไป และศาลเอง หรือคนที่ถือกฎหมายก็ไม่ได้มองเรื่องความเสมอภาค ความเท่าเทียม แบบแยกเรื่องบทบาทหญิงชาย กับวัฒนธรรม จากกรณีที่ผู้หญิงตีสามีถึงเสียชีวิต แต่กฎหมายก็ดำเนินคดีโดยไม่ได้ดูหรือวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการเป็นอยู่ของผู้หญิง ที่ต้องทนถูกสามีทุบตี แม้จะร้องขอไปทางภาครัฐท้องถิ่น หรือว่าสังคมรอบตัวถึงความต้องการหย่าแต่ว่าไม่มีใครใส่ใจจนเกิดเหตุขึ้นมา

การสื่อสาร การทำความเข้าใจต้องมีส่วนร่วมของทั้งผู้หญิง ผู้ชายโดยเฉพาะสื่อมวลชน คุณครูที่ต้องมีการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องบทบาทหญิงชาย ความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ สถานการศึกษาต้องช่วยเน้นย้ำ ในการศึกษาไม่ต้องรอให้ผู้หญิงต้องให้การศึกษากันเองเท่านั้นสังคมต้องช่วยกัน

ต่อมาได้มีการจัดเสวนาเรื่อง “ลดความรุนแรง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมเสมอภาค-สมานฉันท์”

พอเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธี และธรรมาภิบาลสถาบันพระปกเกล้า และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป. กล่าวว่า การทำงานเรื่องปรองดองมีการทำมาโดยตลอด และมีความพยายามมาอย่างน้อยสองหรือสามรัฐบาล แต่การที่รัฐบาลชุดนี้มาเร่งการปรองดองโดยการตั้งคณะกรรมการ ป.ย.ป.นั้นคิดว่าคงเป็นช่วงท้ายของรัฐบาลแล้ว และหากไม่ทำเรื่องปรองดองก็คงเสียของอีกครั้ง ซึ่งการปรองดองจะเป็นจริงได้รัฐต้องแก้หลายเรื่องไม่ใช่เรื่องเดียวต้องทำพร้อมกัน คือปรองดองต้องไม่ใช่อำนาจ ทำด้วยใจ เปิดใจที่จะรับฟัง ไม่ใช่เปิดให้รัฐพูดฝ่ายเดียว ต้องนั่งฟัง และมีส่วนร่วมจริง และไม่ควรจะมีการมองเรื่องสี เลือกข้างเหลือสี ต้องมีมุมมองที่ฟังแบบไม่ตัดสิน ซึ่งอาจเริ่มจากการมองอดีต สาเหตุที่เกิดความขัดแย้งคืออะไร จากนั้นต้อง หาความจริง แบบไม่เอนเอียง   ต้องอำนวยความยุติธรรม ต้องมีการอภัยให้กัน การเยียวยาด้านกายภาพ ด้านการเงิน และด้านจิตรใจด้วยไม่มองแค่เงินเยียวยาได้ทุกอย่าง เรื่องในอนาคต คือ ต้องเปิดพื้นที่พูดคุย ให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกัน และหากขัดแย้งต้องมีองค์กรที่มีความเป็นกลางจริงๆเข้ามาแก้ปัญหาด้วย และหากผู้หญิงต้องการมีส่วนร่วม ผู้หญิงต้องคิดใหม่เพราะเราคือคนส่วนใหญ่ของประเทศ ต้องเลือกผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่าเลือกผู้ชาย

คุณธนพร วิจันทร์ รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า รัฐบาลจะบังคับปรองดองได้อย่างไร เมื่อไม่มีเวทีในการเจรจาต่อรองวันนี้แรงงาน ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบความรุนแรงจากนโยบายยังคงไม่มีทางออก ไม่เสรีภาพ และเวทีในการแสดงความคิดเห็นความต้องการ ยังคงถูกปิดกั้นเสรีภาพ โดยไม่เคยรับฟังความคิดเห็นผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ขาดการมีส่วนร่วมทำให้ไม่มีทางออกร่วมกันอย่างแท้จริง ทุกอย่างยังเป็นแนวของรัฐที่บอกว่าต้องแก้ปัญหาความขัดแย้ง ทั้งที่ความจริงความขีดแย้งมาจากความไม่เท่าเทียมกัน ความจนเส้นแบ่งที่คนรวยคนจนที่ห่างกัน คนไม่มีกินกับคนมีกินแบบเหลือทิ้ง จะให้ปรองดองรัฐต้องเปิดให้มีเวทีที่มีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ไม่ใช่แค่เชิญมาจับมือกันแล้วบอกว่าปรองดองกันแล้ว

“จริงๆแล้วรัฐต้องดูว่า ปัญหาคืออะไร ใครคือคู่ขัดแย้ง ไม่มีทางที่คนจะรักกัน และไม่มีความคิดต่างเพราะนั้นคือความเป็นประชาธิปไตย ครอบครัวยังขัดแย้งกันเลย หากรัฐต้องการจัดการปองดองจริงต้องจริงใจยกเลิกพรบ.ชุมนุม เปิดให้มีเวทีพูดคุย แบบเจรจาต่อรองกันจริงๆ และต้องยอมรับความคิดต่างด้วย” คุณธนพร กล่าว

คุณธรพร ยังกล่าวอีกว่า วันนี้ปัญหาแรงงานหญิงที่ได้รับผลกระทบจากการลงทุน ค่าจ้างสวัสดิการที่ยังต่ำอยู่แม้ว่าอดีตการต่อสู้ของแรงงานหญิงในโรงงานอุตสาหกรรมในยุโรปต่อสู้จนเกิดสวัสดิการค่าจ้างและเวลาการทำงานระบบ 3 แปด ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง ปัจจุบันการทำงานของแรงงานมากกว่า 8 ชั่วโมงต้องทำงานล่วงเวลาไม่อย่างนั้นค่าจ้างไม่เพีบงพอต่ค่าใช้จ่าย แล้วนโยบายที่จะให้มีลูกตามที่รัฐบาลต้องการจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะกลัวไม่มีเงินเลี้ยงดูลูก ยังมีปัญหาเรื่องศูนย์เลี้ยงเด็กที่ไม่สอดคล้องในการดูแลลูกแรงงานเพราะทำงานเข้าออกไม่ได้ตามเวลาปกติเป็นต้น ความเท่าเทียม การมีส่วนร่วมทางการเมือง ไตรภาคี หลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง ยังมีประเด็นความเหลื่อมล้ำที่ต้องแก้ไข

คุณอรนุช ผลภิญโญ ผู้ประสานงานเครือข่ายที่ดินภาคอีสาน กล่าวว่า เรื่องที่ดินความขัดแย้ง รัฐ นายทุนกับชาวบ้าน ซึ่งผลกระจากการทำเหมื่องแร่ที่เกิดปัญหากับชุมชนครอบครัวความขัดแย้งที่เกิดขึ้น นโยบายทวงคืนผืนป่าที่มองว่า ชาวบ้านบุกรุกป่า ดั่งที่เห็นภาพของการไล่รื้อ ตัดต้นยาง และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกล่าวหาว่า ชาวบ้านทำให้เกิดโลกร้อน ไร่ละแสนห้าเงินที่ไหนมาประกันตัวสู้คดี และกฏหมายนี้ควรที่จะไปดำเนินการกับอุตสาหกรรมไม่ใช่หรือ นี่มันคือความรุนแรงที่ชาวบ้านได้รับ เมื่อมีกระแสการเรียกร้องกระบวนของรัฐก็ออกกฎมาอีกว่า เว้นแต่คนจน ซึ่งผู้ปฏิบัติก็มาตีความว่าคนจนคืออย่างไรคือ คนที่ไม่มีที่ดินเกินกี่ไร่ ไม่มีรถ และบ้านใหญ่ ชาวบ้านก็โดนเช่นเดิม เพราะรัฐไม่มองเลยว่า ที่ดินมีมาเป็นมรดก รถมีเพื่ออะไร และกระบวนการที่มองคนจนต้องเสื้อขาดไม่มีอะไรเลยนั้นความจริงมีหรือว่าความจนนั้นเกิดจากนโยบายรัฐที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยมากขึ้นหรือไม่แล้วจะปรองดองอย่างไร เมื่อความขัดแย้งเป็นเรื่องความเหลือมล้ำ ไม่ใช่เรื่องสี ซึ่งเกิดขึ้นจากนโยบายรัฐที่สมทบกับทุน

คุณโซรยา จามจุรี คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ กล่าวว่า การทำงานภายใต้ความขัดแย้งที่รุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้นั้น กลุ่มผู้หญิงต้องใช้แนวการทำงานแบบสันติวิธี และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบพร้อมทั้งฟื้นฟูด้านจิตรใจ ซึ่งพอทำไปก็รู้สึกว่าไม่เพียงพอต้องมีการแก้ปัญด้วยการลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วยการบอกว่า รัฐต้องยุติการใช้กำลัง และให้ทหารออกจากพื้นที่ ซึ่งแรกก็เหมือนได้รับการตอบรับ ผู้หญิงมีการเดินขบวยเรียกร้องโดยสันติวิธี และมีการเจรจาของฝ่ายรัฐกับกลุ่มที่เราคิดว่า เป็นกลุ่มที่ต่อสู้กับรัฐแต่ว่า พอรับว่า จะยุติความรุนแรงระเบิดก็ดังอีกครั้งพร้อมความเสียหาย ซึ่งที้งสองฝ่ายที่เจรจากันอยู่ก็ปฏิเสธว่าไม่ได้ทำ ฉะนั้นคิดว่า ต้องมีกลุ่มอื่นที่ยังไม่เข้ากระบวนการเจรจาหรือไม่ ซึ่งกลุ่มผู้หญิง ก็ยังคงเดินหน้าเรียกร้องเพื่อยุติความขัดแย้งในชายแดนใต้อยู่ ซึ่งสิ่งที่รัฐตั้งคณะกรรมการป.ย.ป. เพื่อสร้างความปรองดองนั้นจริงแล้วใช้ได้จริงหนือ เพราะทางภาคใต้เคยทีแล้วแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งอาจดูเรื่องบทเรียนด้วยในการแก้ไขปัญหา

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน