ผู้ประกันตน ตั้งธงค้านขยายเวลารับบำนาญ ติงรัฐหยุดคิดแทน

 ผู้ประกันตน ลูกจ้าง ถึงนายจ้าง จวกรัฐคุณพ่อรู้ดี แก้ปัญหาไม่ตรงจุด “ขยายระยะเวลารับเงินชราภาพของผู้ประกันตนจาก 55 ปีเป็น 60 ปี ใครได้ใครเสีย” ด้านรัฐหวั่นกองทุนล้ม จ่อขยายอายุรับสิทธิบำนาญ เตรียมเปิดประชาพิจารณ์ ฟังความเห็น ด้านแรงงานมองสปส.บริหารขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงเตรียมทวงเงินสมทบ 8 หมื่นล้านจากรัฐบาล

วันที่ 23 กรกฎาคม 2560 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ได้จัดการเสวนา เรื่อง “ขยายระยะเวลารับเงินชราภาพของผู้ประกันตนจาก 55 ปีเป็น 60 ปี ใครได้ใครเสีย” ณ โรงแรมบางกอกพาเลซ กรุงเทพมหานคร

นางสาวอำพันธ์ ธุรวิทย์ ผู้ตรวจราชการกรมสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ปัญหาเรื่องความเสี่ยงของกองทุนประกันสังคมนั้นมาจากการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรวัยทำงานที่เปลี่ยนไปจากเดิมของคนรุ่นใหม่ที่ทำงานนอกระบบ เป็นฟรีแลนด์มากขึ้น ตามที่มีการกล่าวถึงยุคแห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่การจ้างงานมีการนำโรบอทมารทดแทนการใช้แรงงานในอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจะทำให้ปัญหากองทุนประกันสังคมเรื่องความไม่มั่นคงในอนาคต หากไม่มีการขยายอายุการรับสิทธิกรณีบำนาญจากอายุ 55 ปีเป็น 60 ปี  และการเกษียณอายุของแรงงานสูงอายุตอนนี้ มีความต้องการที่จะรับเงินก้อนเพื่อทำกิจการของตัวเอง และการปรับอายุการเกษียณอายุนั้น ยังอยู่ในช่วงที่รัฐบาลก็มีการกล่าวถึงการดูแลแรงงานที่สูงอายุ หนึ่งส่งเสริมเรื่องการจ้างงานผู้สูงอายุ ดูแลให้มีงานทำ การขยายอายุแรงงานที่ 55 ปีเป็นอายุ 60 ปี เพื่อให้เกิดการเพิ่มแรงงานในระบบต่อไปอีก 5 ปี กองทุนประกันสังคมขยายออกไปอีก 5 ปีในการรับเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งทุกคนคงทราบแล้วว่าค่าจ้างปัจจุบันนั้นต่ำสุดการรับเงินบำนาญชราภาพอยู่ที่เดือนละ 3,000 บาท ซึ่งน้อยมาก หากมีการสะสมไปอีก 5 ปี เป็น 20 ปี หรือสะสมต่อไปอีกเป็น 25 ปี การคำนวณการรับสิทธิเงินบำนาญเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 ปี มีการสะสมเงินบำนาญเพิ่มขึ้นด้วย จากการที่แรงงานออกมาส่งเสียงถึงความต้องการว่าไม่อยากให้มีการขยายอายุการรับบำนาญจาก 55 ปีเป็นอายุ 60 ปีนั้น ทางสำนักงานประกันสังคมกำลังดูวิธีการเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม ซึ่งหนึ่งในข้อเสนอคือส่วนที่กำลังจะรับสิทธิก็ให้เลือกได้ว่าต้องการรับเป็นเงินบำเหน็จหรือไม่ หรือว่า จะรับบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปี สำนักงานประกันสังคม มีแนวคิดว่าจะต้องมาดูร่วมกันว่าด้วยการจัดประชาพิจารณ์ทิศทางการขยายอายุการรับบำนาญจากอายุ 55 ปี และการขยายเพดานการจัดเก็บเงินสมทบที่กำหนดไว้แค่เงินเดือน 15,000 บาท ส่วนนี้ต้องถามทางนายจ้างด้วยเนื่องจากเพิ่มการสมทบส่วนของนายจ้างด้วยเช่นกัน

นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภายานยนต์แห่งประเทศไทย ผู้แทนคณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า การได้เข้าไปเป็นคณะกรรมการบริหารประกันสังคม (บอร์ดสปส.)นั้น มีการประชุมพูดคุยกันหลายเรื่อง และหนึ่งในการประชุมคือเรื่องเสถียรภาพความมั่นคงของกองทุนประกันสังคม ประเด็นปัญหาในฐานะของผู้ประกันตนก็จะเห็นว่า การกำหนดการเกษียณอายุอยู่ที่นายจ้างกำหนดในสัญญาจ้างงาน และบางส่วนกำหนดการเกษียณอายุไว้ที่ 55 ปี หรืออายุ 60 ปี ในส่วนที่ทำงานของตนนั้นกำหนดไว้ที่อายุ 55 ปี ซึ่งปีนี้สหภาพแรงงานมีการยื่นข้อเรียกร้องขอให้เพิ่มอายุเกษียณอายที่ 60 ปี แต่บางบริษัทไม่มีกำหนดการเกษียณอายุให้แรงงานเลย ปล่อยให้ทำไปจนทำงานไม่ไหวแล้วลาออกไปเอง ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหา ถามว่า รัฐโดยสำนักงานประกันสังคมก็ไม่ได้ดูแล โดยนายจ้างกลุ่มนี้มองว่าทำไม่ไหวออกงานไปเองก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทำให้ความหวังของแรงงานอยู่กับการรับเงินบำนาญชราภาพเมื่อส่งสมทบครบ 180 เดือน และอายุครบ 55 ปีอย่างน้อยมีเงินดูแล หากมีการขยายอายุออกไปจึงเป็นประเด็นปัญหาด้านสิทธิแรงงาน แนวคิดการแก้ปัญหาด้วยการขยายอายุการรับสิทธิบำนาญชราภาพจากเดิมอายุ 55 เป็น 60 ปี เป็นการแก้ปัญหาจริงหรือไม่ จะทำอย่างไรหากนายจ้างให้ลูกจ้างเกษียณอายุที่ 55 ปี ซึ่งในฐานะบอร์ดประกันสังคมมีการคุยกัน และนำเอาเรื่องคณิตศาสตร์ประกันภัยมาดูกันว่าในส่วนของความมั่นคงในกองทุน หากไม่มีการหยุดจ่ายเงินออกจากกองทุนจะทำให้เงินกองทุนหมดไปแน่นอนเนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ถือเป็นปัญหาในอนาคต และประเด็นการขยายอายุการทำงานไปเกษียณอายุ 60 ปีนั้น ก็เป็นปัญหาจึงจะใช้ระบบว่า เมื่ออายุ 55 ปีสามารถรับบำเหน็จได้ หากไม่รอรับที่อายุ 60 ปี ที่ประชุมจึงมีแนวคิดว่าอาจปรับให้เป็นการสมัครใจในการรับสิทธิบำนาญว่า จะเอาเงินก้อนบำเหน็จ หรือว่าจะรอรับบำนาญ โดยอาจให้รับบำเหน็จไปก้อนส่วนหนึ่งก่อนพอที่จะนำไปใช้จ่าย แล้วพออายุครบ 60 ปี รับบำนาญรายเดือนอีกทุกเดือน และอยากชวนไปพูดถึงเรื่องสิทธิประโยชน์ที่ปัจจุบัน ผู้ประกันตนที่รับบำนาญแล้วไม่สามารถรับบริการรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมได้ ต้องไปใช้ระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งมองว่า เสียสิทธิเมื่อมีการรับบำนาญแล้ว ซึ่งให้อนุกรรมการสปส.ไปดูมา และเสนอให้มีการกลับเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลได้ และให้สมัครเป็นผู้รับสิทธิได้ โดยมีการหลักเงินบำนาญ เป็นการซื้อสิทธิการรักษาพยาบาลได้ 3 กรณี และเรื่องที่มาที่ไปของคณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการแพทย์ ก็จะมีการทบทวนเรื่องที่มาที่ไป เพื่อให้ผู้ประกันตนใช้สิทธิในการส่งตัวแทนเข้ามาเป็นคณะกรรมการประกันสังคมด้วย ซึ่งการจะทำอะไร สปส.ก็ต้องดูอนาคตด้วย การรับเงินเกษียณอายุ บำนาญแน่นอนเราคงอายุไม่ถึง 100 ปี ซึ่งการใช้เงินบำนาญไม่ถึง 30 ปีแต่กองทุนจะหมดไป ทั้งที่กองทุนควรต้องมีเพื่อไปดูลูกหลานด้วย ไม่ใช่ใช้หมดเหลือไม่ถึงลูกหลาน แต่อย่างไรก็ตามการปรับในช่วงการเปลี่ยนผ่านคือผู้ประกันตนสามารถที่จะรับบำเหน็จไปได้ก่อน แต่อย่างไรอยู่ที่ความสมัครใจของผู้ประกันตน

นายสนธยา เผ่าดี ประธานชมรมผู้บริหารงานบุคคล ธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า นายจ้างส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่า ทำไมมีแนวคิดการขยายอายุการรับสิทธิบำนาญชราภาพประกันสังคม ซึ่งได้เข้าไปดูข้อมูลซึ่งพบว่าสังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมสูงวัย พร้อมๆกันไม่ใช่แค่ส่วนของผู้ประกันตน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ประชาชนทั่วไปล้วนเข้าสู่สังคมสูงวัยกันทั้งนั้น แต่ทำไมปัญหาอยู่เพียงกองทุนประกันสังคมที่ต้องขยาย แต่พอเข้าใจได้ว่า เงินในกองทุนอาจมีปัญหาในอนาคตหากมีการรับสิทธิจำนวนมาก ซึ่งเมื่อมีการปรับตัวของอุตสาหกรรม 4.0 ที่จะการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำงานแทนคน นายจ้างเขาคงไม่ต้องจ้างแรงงานจำนวนมาก สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรที่น้อยลง และแรงงานก็เข้าสู่วัยเกษียณ ซึ่งระบบสวัสดิการที่จะมารองรับผู้สูงวัยต้องเป็นหน้าที่ของภาครัฐอยู่แล้ว การที่สังคมประเทศไทยต้องเข้าสู่สังคมสูงวัย และนักคณิตศาสตร์ประกันภัยมองว่า การขยายกองทุนออกไปอีก 5 ปีจะมีเงินเพิ่มขึ้น เพื่อให้กองทุนอยู่รอดเป็นการยืดอายุกองทุน แต่ปัญหาคือ ไม่ว่าอย่างไรเงินกองทุนก็หมดอยู่ดีถึงจะยืดไปอีก 5 หรือ 10 ปีก็ตาม คิดว่า อนาคตก็ต้องมีการเก็บเงินสมทบเพิ่มอีกแน่นอนนายจ้างก็ต้องกระทบกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งเรื่องค่าจ้าง การขนส่งก็เพิ่มขึ้น นายจ้างต้องมีการหาหนทางในการลดต้นทุนเช่นกัน ซึ่งคงกระทบต่อแรงงานอยู่บ้างเช่นการลงทุนกับเทคโนโลยีเป็นต้น ถามว่า เงินประกันสังคมที่นายจ้างมีการจ่ายเงินสมทบ และลูกจ้างก็จ่ายเงินกองทุนนี้ ถือว่าเป็นกองทุนใหญ่อยู่ในประเทศแต่ทำไมกองทุนจึงไม่มั่นคง เงินถูกนำไปลงทุนที่ไหนกำไรที่ได้อยู่ตรงไหน มีการนำไปลงทุนกับชาวนาหรือไม่ในการรับจำนำข้าว วันนี้บอกว่า กองทุนไม่มั่นคงคืออะไร แล้วมีการนำมาให้นายจ้างกู้เพื่อลงทุนได้หรือไม่ และการขยายออกไปของกองทุนทำให้เกิดความมีเสถียรภาพกองทุนจริงหรือไม่ หรือว่า แค่ถ่วงเวลาไปก่อน หากนำเงินมีการซื้อประกันชีวิต ลงทุนให้กับผู้ประกันตนให้เห็นประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นได้ไหม ซึ่งตนก็ไปดูว่าสถานประกอบการที่เป็นสมาชิกของตนที่กำหนดการเกษียณอายุ อยู่ที่ 55 ปี ร้อยละ 72 อายุ 60 ปี ร้อยละ 23 และส่วนที่เหลือก็มีไร่เรี่ยกันไป และในส่วนของอุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวนมากที่ไม่มีการกำหนดเรื่องการเกษียณอายุจำนวนมากทีเดียว และเรื่องการดูแลสุขภาพหลังเกษียณอายุของแรงงานผู้ประกันตน การมีโรงพยาบาลประกันสังคม เพื่อการดูแลผู้ประกันตนได้หรือไม่ ช่วงที่มีการทำงานอยู่มีการจ่ายเงินสมทบและมีการบริหารจัดการที่ดีก็จะทำให้กองทุนมั่นคงได้

นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง รองประธานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ตัวแทนแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า ผู้ประกันตนมาตรา 40 เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจรวมทั้งมาตรา 39 ด้วย และตนเองเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ในฐานะลูกจ้างมูลนิธิ และเป็นตัวแทนผู้ใช้บัตรทอง ซึ่งจริงแล้วผู้ประกันตนก็ใช้บัตรทองได้ตามระบบในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ เมื่อได้รับฟังเรื่องนี้ในการขยายสิทธิการรับบำนาญชราภาพนั้น ซึ่งส่วนของแรงงานนอกระบบมาตรา 40 ไม่กระทบ แต่ผู้ประกันตนมาตรา 40 มีผลกระทบบ้าง แต่ว่าทำไมเรื่องการเกษียณอายุมารวมกับเรื่องการรับสิทธิบำนาญ หากวันหนึ่งมาบอกว่าข้าราชการเกษียณอายุ 60ปี ไปรับบำนาญที่อายุ 65 บ้างจะเป็นอย่างไร จะรู้สึกอย่างไร รัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐอยู่ในความคิดคุณพ่อ คุณแม่รู้ดีตลอดมาออกแบบให้ตลอดว่าจะอย่างไร อยากให้หยุดคิดแทน บำนาญที่มีการกำหนดมานี้รัฐก็คิดมาเช่นกัน แต่การรับบำนาญตอนนี้มองว่าควรมีแนวคิดการขยายเพดานการจ่ายเงินสมทบหรือไม่เพื่อให้กองทุนประกันสังคมอยู่ได้หากระบบนี้เป็นระบบเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ซึ่งมีคนที่เงินเดือนสูงกว่า15,000 บาท ที่ยินยอมจ่ายสมทบเพิ่มเพื่อความเสถียรภาพกองทุน และเงินที่จ่ายบำนาญนั้นน้อยมาก แล้วเงินกองทุนประกันสังคมเป็นเงินของผู้ประกันตนแต่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ แต่เป็นกระทรวงแรงงาน เลขา คณะกรรมการบริหารประกันสังคม และอำนาจผู้ประกันตน สิทธิของบัตรทองทำไมผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบการรักษาพยาบาล แล้วทำไมออกไปแล้วยังใช้สิทธิรักษาพยาบาลไม่ได้ อยากให้มองไกลไปกว่าการรับบำนาญอายุเท่าไร แต่อาจต้องทวงอำนาจการบริหารจัดการมาเป็นผู้ประกันตนตัดสินใจ สำหรับผู้ประกันตนต้องเอาจริงเอาจังกับอำนาจการตัดสินใจบริหารกองทุน ในฐานะผู้ประกันตน และตัวแทนผู้ประกันตนชั้น 3 อย่างมาตรา 40 เมื่อก่อนชวนเข้าระบบบำนาญอยู่ตรงนี้ แต่ตอนนี้ไปอยู่ที่กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)แล้ว หากเป็นผู้รับบำนาญในกอช.คือได้รับบำนาญที่ 600 บาทต่อเดือนเท่านั้น การอยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 40 สิทธิประโยชน์ก็ต่าง เช่นว่างงานไม่มี ทั้งที่มีการว่างงานสูงมากความเสี่ยงมีมากที่สุด แทนที่จะคุ้มครองสิ่งที่เสี่ยงที่สุดของแรงงาน กองทุนกับปฏิเสธที่จะดูแล อันนี้แนวคิดรัฐไม่คุ้มครองดีกว่า และเรื่องรักษาพยาบาลอยู่กับระบบบัตรทอง ตอนนั้นก็น้อยใจบ้าง แต่ตอนนี้ก็เข้าไปพัฒนาสิทธิบัตรทองได้ ตอนนี้ก็ทำให้มีการเข้าถึงสิทธิที่ดีกว่า การประชาพิจารณ์ ก็คิดว่าไม่มีผลกระทบกับแนวคิดการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนใจเรื่องนี้แน่นอน ซึ่งคุณภาพชีวิตในยามรับบำนาญเดือนละ 3,000 บาทเพียงพอหรือไม่ อำนาจรัฐคิดแทนหมดไม่ว่าจะประชาพิจารณ์หรือไม่ คิดว่าไม่สามารถเปลี่ยนใจรัฐบาลได้ และผู้ประกันตนต้องมองกว้างออกไป คือต้องเข้าไปบริหารกองทุนเอง ไม่ใช่ให้รัฐมาจัดการในฐานะเจ้าของกองทุน การประชาพิจารณ์เป็นเพียงพิธีกรรมว่าผู้ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วมแต่จริงแล้วรัฐคิดไว้แล้ว

นายเสถียร ทันพรม ผู้จัดการโครงการ ILO ภายใต้สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ตัวแทนแรงงานข้ามชาติ กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติในระบบประกันสังคมเป็นผู้เฉลี่ยทุกข์แต่ผู้ประกันตนคนไทยเป็นผู้เฉลี่ยสุข มิติแรงงานข้ามชาติเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 และตอนนี้ก็มีการผ่อนผันให้ขึ้นทะเบียนอีกครั้งแต่ว่า แรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ได้มีการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมไปแล้ว และตอนนี้ให้แรงงานข้ามชาติบัตรสีชมพูเข้าสู่ระบบประกันสังคมอีกครั้ง คือเดียวก็ได้ไม่ได้ โดยไม่มีการอธิบายเหตุผล การจ่ายเงินสมทบประกันสังคม กรณีชราภาพนั้นเป็นลูกจ้างกับนายจ้างจ่ายสมทบ แต่รัฐบาลกับมาออกกฎระเบียบ

แรกเข้ามาของแรงงานข้ามชาติ 3 เดือนแรกในการส่งประกันตน จะใช้หลักประกันสุขภาพที่มีการซื้อก่อนจึงจะมีมีสิทธิ คลอดบุตร แรงงานข้ามชาติยังมีปัญหาเมื่อเข้าสู่ระบบในการรับสิทธิ สงเคราะห์บุตรแรงงานข้ามชาติจะรับสิทธิอย่างไร การทุพพลภาพการรับสิทธิตลอดชีวิต ก็ไม่ได้รับเพราะต้องกลับ ตามก็มีข้อจำกัดว่างงานก็ติดกรอบการต้องหานายจ้างใหม่ใน 15 วัน ซึ่งก็ไม่ว่างงาน กรณีบำนาญชราภาพแรงงานข้ามชาติไม่ได้เพราะส่งเงินไม่ถึง 180 เดือน และอายุ 55 ปีถึงมารับสิทธิบำนาญ ซึ่งตอนนี้ที่รับได้คือบำเหน็จเมื่อสิ้นสุดในความเป็นผู้ประกันตน มาตรา 77 ทวิเท่านั้นที่แรงงานข้ามชาติได้รับประโยชน์ ซึ่งการแก้ไขกฎระเบียนของแรงงานข้ามชาติ ในการที่กำหนดให้แรงงานข้ามชาติบัตรสีชมพูกลับเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้อีกครั้ง ซึ่งมีการออกกฎกระทรวง 77 ทวิรับบำเหน็จได้ หากประกันตนที่มีสัญชาติของประเทศที่มีการตกลงการรับสิทธิบำนาญชราภาพกับประเทศไทยถึงจะได้รับสิทธิกรณีชราภาพ ประเทศไทยทำความตกลงกับประเทศไทยบ้าง รัฐบาลไทยกับรัฐบาลเมียนมาร์ มีการทำหรือไม่ ลาวมีไหม กัมพูชา ไม่มีประเทศไหนที่มีข้อตกลงนี้ในการรับบำนาญ การที่ออกกฎแบบนี้ ทราบอยู่ว่าไม่มีใครเข้าถึงสิทธิ นโยบายแบบนี้ไม่มีใครเข้าถึง และยังตัดรอนสิทธิของผู้ประกันตน แทนที่นโยบายรัฐจะทำให้คนเข้าถึงสิทธิ ทำไมรัฐบาลไทยถึงกล้าเขียนกฎระเบียบแบบนี้ โดยที่ไม่ทราบว่าจะมีข้อตกลงเมื่อไร และยังมีแรงงานที่ไม่มีสัญชาติมาทำงานในประเทศไทยจำนวนมากแล้วใครจะทำให้เขาได้รับสิทธิ รายละเอียดเรื่องสิทธิไม่จำเป็นเพราะแค่ระเบียบก็ปิดประตูตาย และไม่อาจรับรู้ได้ว่าจะได้รับสิทธิจากประเทศไทย รูปแบบการส่งเงินให้เขาในประเทศต้นทางจะมีรูปแบบไหน

สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนนั้นควรเป็นอย่างไร และมีการการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขอย่างไร หากบอกว่าเขาจะไม่มีสิทธินั้น การมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนไม่ใช่แค่บอร์ดประกันสังคม การบริหารองค์กร การปฏิรูป การบริหารองค์กร เจ้าหน้าที่เป็นผู้ถูกว่าจ้างมาบริหารไม่ใช่เจ้าของกองทุนประกันสังคม ต้องเข้าใจว่าเงินนั้นมาจากไหน และบริหารอย่างไรให้เงินนั้นเกิดประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงบทบาทตัวเองที่ต้องรับผิดชอบการเข้าถึงสิทธิ การเขียนแล้วผู้ประกันตนเข้าถึงสิทธิ และต้องหารือกันว่าทำอย่างไรในการมีมาตรการให้ผู้ประกันตนเข้าถึงสิทธิ และการมีส่วนร่วมต้องเปิดพื้นที่รับฟังมากๆและนำไปพัฒนาสิทธิ ต้องมีการทำงานเชิงรุกส่งเสริมให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์การประชาสัมพันธ์ต้องให้ทุกคนเข้าใจโดยไมใต้องแปลแม้แต่ภาษาไทยยังอ่านแล้วไม่เข้าใจ

นายมนัส โกศล ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน(คปค.) กล่าวว่า การประกันสังคมนั้นมีการเรียกร้องยาวนานมากของผู้ใช้แรงงาน และมาสำเร็จในปี 2533 ที่มีการบังคับใช้กรณี 55 ปีเป็นการกำหนดว่าผู้ส่งเงินครบ 180 เดือน แล้วรับสิทธิได้ ไม่เกี่ยวกับการเกษียณอายุการทำงานหรือไม่ กรณีแรงงานต่างด้าวที่รับเงินบำเหน็จได้เลยภายใน 7 วัน แต่ว่ามาออกกฎระเบียบแบบนี้ทำให้แรงงานข้ามชาติไม่ได้สิทธิ ในการกำหนดในกฎหมายประกันสังคมมาตรา 77 ทวิ และการส่งกฎระเบียบข้อบังคับในการจดเทียนลงทุน และไม่ต้องส่งรายงานการเงิน มีการเพิ่มอำนาจให้กับกรรมการค่าจ้าง มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำให้กับนักศึกษา และแรงงานสูงอายุ มีหลายโรงงานไม่มีการเกษียณอายุ ได้มีการกำหนดไว้แล้วว่า อายุ 60 ปีให้มีการเกษียณอายุและกฎหมายผ่านแล้วแต่รอการประกาศใช้เท่านั้น ตัวเลข 9 หมื่นกว่าโรงงาน 2 ล้านกว่าคนที่ไม่มีการกำหนดการเกษียณอายุ การประกาศของคณะกรรมการแพทย์ในการตรวจสุขภาพ ที่มีตกไปเรื่องช่องปาก การตรวจครรภ์ ฝากครรภ์ฟรี เรื่องตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก และปากมดลูก

การขยายการรับสิทธิบำนาญชราภาพใครได้ใครเสีย ชราภาพหากส่งเงิน180 เดือน หากออกงานก่อนก็ไปเข้ามาตรา 39 ส่งต่อไปถึงอายุ 60 ปีก็จะได้ฐานค่าจ้าง สิ่งที่คปค.คุยเรื่องขยายอายุการรับบำนาญที่ขยาย ซึ่งตนเห็นด้วยกับการขยาย เงินประกันสังคมมีการกำหนดชัดเจนว่ารับสิทธิได้ที่อายุ 55 ปีเมื่อส่งสมทบครบ การรับบำนาญไปใช้บัตรทอง ทั้งที่เป็นเงินที่จ่ายสมทบอยู่แล้ว ทำไมรับไม่ได้ ประกันสังคมควรเปิดให้ผู้รับบำนาญชราภาพสามารถเข้าระบบประกันตนมาตรา 39 ได้ โดยมีการหักจากเงินสิทธิบำนาญ ปัญหาเรื่องการลงทุนอยู่ในกรอบเดิม ตราบได้ยังไม่มีการลงทุนกินดอกเบี้ยอย่างเดียว โดยไม่คำนวณสูตรการลงทุน อำนาจการบริหารลงทุนหุ้นตรงไหนเพื่อให้เกิดดอกผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งอย่างไรก็ต้องมีการขยับอายุการรับบำนาญออกไปเป็นเงินก้อนเป็นระบบเปอร์เซ็นต์ หากไม่มีการปรับสูตรการคำนวณการจัดเก็บเงินสมทบอย่างไรก็ไม่พอจ่าย อีก 30 ปีกองทุนหมดเช่นเดิม และมีการกำหนดไปเลยว่า จ่ายบำนาญร้อยละ 20 และมีการคิดที่ 15,000 บาท ต้องมีการจ่ายแบบนี้ การคิดต่อยอดว่าต้องเพิ่มสมทบ และมีการนำเงินกันมาเป็นกองทุนประกันความเสี่ยงการเลิกจ้างด้วย โรงงานปิดไม่จ่ายเงินชดเชย และยังมีเรื่องที่ต้องคิดข้ามช๊อตออกไป หากประชาพิจารณ์ตอบผู้ประกันตนไม่ดีผู้ประกันตนไม่ยอมแน่ ต้องมีการคำนวณให้ดี ผู้ประกันตนต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการต้องมีการส่งตัวแทนเข้าไปคุยเพื่อชี้แจงปัญหาของผู้ประกันตน ปลัดกระทรวงแรงงานเองก็มองเรื่องการมีส่วนร่วม ซึ่งวันที่ 25 ก.ค.นี้บอร์ดประกันสังคมจะมีการประชุม และส่วนของรัฐบาลติดเงินผู้ประกันตน 8 หมื่นกว่าล้านบาท หากนำมาลงทุนก็ออกดอก ออกผลมากทีเดียวต้องมีการติดตาม ความเป็นตัวแทนต้องรับฟังผู้ประกันตนทุกส่วน เพราะเราคือพี่น้องกัน ต้องมองว่าตัวแทนฝ่ายลูกจ้างคือพี่น้องกัน และรับฟังความคิดเห็นร่วมกันทุกส่วน คปค. กับคสรท.ต้องมีการพูดคุย และทำงานร่วมกันมากขึ้น

นายสมพร ขวัญเนตร รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ปัญหาประกันสังคม โครงสร้างการบริหารยังไม่มีความเป็นอิสระที่มาของบอร์ดฯที่ผ่านมาถูกอำนาจที่แท้จริงอยู่ที่ประธานกับเลขาธิการประกันสังคม ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนอย่างแท้จริง การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างแท้จริง ปี 2533 ประกันสังคมบังคับใช้ มีการเก็บเงินสมทบ 3 ฝ่าย ร้อยละ 5 เท่ากัน และปี 2543 เงินสมทบหายไปเมื่อมีการสมทบจากรัฐลดลง ยังมาค้างจ่ายเงินสมทบอีก การนำเงินประกันสังคมไปใช้จ่ายและไม่เกิดประโยชน์ มีการนำไปจ่ายเรื่องการบริการ เพื่อให้ผู้ประกันตนได้ประโยชน์  ด้านการดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนก็ยังมีปัญหาที่ไม่ครอบคลุมคนงานทั้งหมด รวมถึงลูกจ้างของรัฐ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ สิ่งที่รัฐจ่ายบำนาญในกอช.ให้กับแรงงานนอกระบบเพียง 600 บาท หรือขนาดแรงงานในระบบเพียง 3,000 บาท เงินนี้พอใช้จ่ายให้คุณภาพชีวิตดีหรือไม่รัฐควรจะดูแลประชาชนกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ การจ่ายเงินรายหัวต่อปี ในการรักษาพยาบาล ข้าราชการหัวละหมื่นกว่าบาท ประกันสังคม กับสป.สช. รายหัวพอกันราว 3,000 บาทต่อหัว จะไม่เหลื่อมล้ำอย่างไรในการดูแลเรื่องสุขภาพ กรณีรับบำนาญชราภาพ การขยายสิทธิการรับบำนาญชราภาพ จากอายุ 55 ปีเป็น 60 ปี คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งจะให้ทำงานยาวถึง 60 ปี จะทำงานไหวกันหรือไม่ และจะบังคับให้เกษียณอายุ 60 ปี รับสิทธิอย่างไร นายจ้างจะจ้างงานต่อหรือไม่ หรือว่าส่วนของลูกจ้างจะทำงานไหวหรือไม่ หากตัดสินใจวันนี้ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีที่จะประชาพิจารณ์บ้างนั้นคงไม่ใช่คำตอบทั้งหมด เพราะคิดว่าอย่างไรก็ต้องมาคุยกันกับผู้ประกันตนแบบมีส่วนร่วมจริงๆ ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน