ผู้ประกันตนเตรียมยื่นถอดร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับสนช.พิจารณา

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เครือข่ายแรงงานหวั่นหลังสนช.เสนอร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับใหม่ แบบขาดหลักการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน เตรียมยื่นถอดร่างสนช. พร้อมนำ 4 หลักการสำคัญของกฎหมายประกันสังคมเพื่อคนทำงานเสนอต่อรัฐบาล

วันที่ 17 กันยายน 2557 ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “หลักการสำคัญของกฎหมายประกันสังคมเพื่อคนทำงาน” โดย คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการ คณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย(คปก.)ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) อาคารซอฟต์แวร์ ปาร์ค แจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด นนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ เพื่อสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนและนำไปสู่ความร่วมมือในการขับเคลื่อนการปรับปรุงกฎหมายประกันสังคม กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วม 40 คน

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ด้วยกฎหมายประกันสังคมฉบับปัจจุบันยังไม่มีความครอบคลุมแรงงานอีกหลายกลุ่ม หรือมีเงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน ซึ่งคณะกรรมการฯได้ร่วมกับส่วนของแรงงานทุกกลุ่ม นักวิชาการ และผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นแนวทางหลักการร่างกฎหมายประกันสังคมเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2557 และพิจารณาเนื้อหา สาระสำคัญร่างกฎหมายประกันสังคมเพื่อคนงาน พร้อมรับข้อเสนอข้อเสนอแนะไปจัดทำร่างฯในวันที่ 12 กันยายน 2557 ซึ่งในวันนี้เป็นการพิจารณา เรื่อง “หลักการสำคัญของกฎหมายประกันสังคมเพื่อคนทำงาน” โดย มีหลีกการสาระสำคัญของกฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่ 4 หลัก ประกอบด้วย

1. ความครอบคลุม ซึ่งพิจารณาได้ 3 มิติ

1. กลุ่มเป้าหมายใหญ่ 2 กลุ่มคือ

1.1 ภาครัฐ ประกอบด้วยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรอิสระของรัฐหรือนิติบุคคลที่มิใช่ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ

1.2 ภาคประชาชน ประกอบด้วย แรงงานในระบบ ผู้รับงานไปทำที่บ้าน และแรงงานนอกระบบ

2. พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่ในประเทศ และต่างประเทศ เช่นแรงงานที่มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทยและถูกส่งไปทำงานต่างประเทศ

OLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERA

3. ประโยชน์ทดแทนมี 2 มิติ คือ

3.1 ประเภทสิทธิประโยชน์ 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย หรือประสบอันตราย, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร ,เสียชีวิต ,สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ, ว่างงาน

3.2 อัตรา/วิธีการจ่ายเงินสมทบมี 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) จ่ายเป็นสัดส่วนของค่าจ้าง เช่นเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีเจ็บป่วย และทุพพลภาพเพราะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กรณีการว่างงาน (2) เหมาจ่ายเช่น ค่าคลอดบุตร ค่าทำศพ เงินสงเคราะห์บุตร (3) ค่ารักษาพยาบาล แบ่งเป็น (3.1) กองทุนเงินทดแทนจ่ายแบบเพดาน (3.2) กองทุนประกันสังคม จ่ายแบบเหมาจ่าย

2. หลักความเป็นอิสระ และบูรณาการของระบบบริหาร

1. หลักความเป็นอิสระ เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐและการเมืองเข้ามาแทรกแซง เป็นหน่วยงานนิติบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของรัฐซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ มีการออกแบบโครงการสร้าง องค์ปรกอบที่มาของคณะกรรมการ โดยพิจารณาถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน เป็นต้น

2. บริหารแบบกระจายอำนาจและยึดหลักธรรมาภิบาล 6 หลัก คือ นิติธรรม คุณธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วม รับผิดชอบ และคุ้มค่า

3. หลักบูรณาการ เชื่อมโยงประสานสิทธิประโยชน์ร่วมกับสวัสดิการอื่นๆ เช่น 1) ระบบสุขภาพ คือ ระบบหลักประกันสุขภาพ กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ มาตรฐานสิทธิประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ 2) หลักประกันชราภาพ คือ ระบบบำเหน็จ บำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

–  เชื่อมโยงระบบการบริหารจัดการ เช่นระบบการชำระเงิน ระบบฐานสมาชิก ระบบมาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ การเข้าถึงการบริการ เช่นหนึ่งบัตรรักษาได้ทุกโรงพยาบาล

–  การบูรณาการต้องไม่กระทบต่อสิทธิประโยชน์เดิม หรือที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมาย

–  ในกรณีสวัสดิการประเภทหรือลักษณะเดียวกันที่รัฐจ่ายหรืออุดหนุนอยู่ ให้มีการกำหนดเพดานจำนวนเงินสมทบหรืออุดหนุนที่รัฐต้องจ่าย

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

3. หลักการความโปร่งใสและมีส่วนร่วมของผู้ประกันตน ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการกองทุนทุกระดับ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนทุกประเภท เช่นการสมัคร และการเลือกกรรมการ รวมถึงองค์ประกอบของกรรมการ เช่นผู้ประกันตนทุกประเภทมีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนกรรมการประกันสังคมด้วย 2) การตรวจสอบ เพื่อความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุน เช่นนายจ้าง ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลการขึ้นทะเบียนประกันสังคมภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้ผู้ประกันตนตรวจสอบได้ 3) ให้มีรายงานการดำเนินงานต่อสาธารณะ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

4. หลักยืดหยุ่นเป็นธรรมสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 1) การจ่ายเงินสมทบที่สัมพันธ์กับรายได้ 2) การปรับปรุงเกณฑ์เงื่อนไขอัตราเงินสมทบและการบริการที่เอื้อต่อการเข้าถึงประโยชน์ทดแทน 3) ระยะเวลาการได้รับสิทธิประโยชน์เร็วขึ้น 4) ความเป็นสมาชิกประกันโดยสมัครใจสามารถปรับเปลี่ยนได้ในระหว่างมาตรา 39 และ 40 โดยมีเงือนไขประกันตนมาไม่น้อยกว่า 1 ปี 5) ประโยชน์ทดแทนสามารถปรับเปลี่ยนได้ เพิ่มเติมได้ มีทางเลือกหลากหลาย ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด โดยคำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจความมั่นคง และเติบโตของกองทุนประกันสังคม

ที่ประชุมได้มีการเสนอตั้งคณะกรรมการร่วมกันพิจารณาวงเล็กหลังจากมีการแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงรายละเอียดเชิงหลักการ เพื่อให้เกิดความคมชัดมากขึ้น พร้อมเสนอให้มีการขับเคลื่อนผลักดันให้สภานิติบัญญัติ (สนช.)ที่มีการนำร่างพระราชาบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. ….นำมาพิจารณานั้นให้ถอนออกมาก่อนเพื่อสร้างขบวนการมีส่วนร่วมจากผู้ประกันตน และให้ขบวนการแรงงานองค์กรต่างๆนำ หลักการสำคัญทั้ง 4 หลักการดังกล่าวเสนอต่อรัฐบาลโดยผ่านทุกช่องทางที่มี และกำหนดคณะทำงานวงเล็กที่กำลังมีการร่างพระราชาบัญญัติประกันสังคมฉบับเพื่อคนทำงานให้ครอบคลุมคนทำงานทุกกลุ่มอย่างแท้จริง

OLYMPUS DIGITAL CAMERAOLYMPUS DIGITAL CAMERA

ทั้งนี้สาระสำคัญ ของร่างพระราชาบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ที่สนช.เสนอเข้าวาระพิจารณา ประกอบด้วย

1. ขยายความคุ้มครองถึงลูกจ้างทำงานบ้านอันมิได้ประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย และลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ

2.“ว่างงาน” หมายถึง เฉพาะกรณีถูกเลิกจ้างเท่านั้น และรวมถึงกรณีผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ

3. กำหนดนำยาม “ภัยพิบัติ” หมายถึงภัยที่เกิดจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น ที่ก่ออันตรายแก่ชีวิต หรือร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ

4. คณะกรรมการประกันสังคมเพิ่มเป็นฝ่ายละ 6 คน โดยผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประกันตนมาจากการเลือกตั้งตามระเบียบที่รัฐมนตรีประกาศประกาศกำหนด และคณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 7 คนเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการโดยมาจากการสรรหา

5. กรรมการหรือที่ปรึกษามีคุณสมบัติคือ 1. สัญชาติไทย 2. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน 3. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ 4. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย 5. ไม่เคยรับโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุด 6. ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือทรัพย์สินเพิ่มผิดปกติ 7. ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือเลิกจ้าง เพราะทุจริตต่อหน้าที่ 8. ไม่เป็นคู่สัญญา หรือมีประโยชน์ได้เสียในกิจการที่เป็นคู่สัญญา หรือมีธุรกิจเกี่ยวกับสำนักงานไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

6. กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งต้องแสดงบัญชีรายการทรัพย์สิน และหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)

7. สำนักงานต้องจัดทำรายงานการประเมินสถานะของกองทุน รายรับ-รายจ่าย และความสามารถในการดำเนินการในอนาคตเสนอต่อคณะกรรมการเป็นประจำทุกปีแล้วเปิดเผยต่อสาธารณชน

8. รัฐบาลจ่ายเงินสมทบ ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตนตามม. 40

9. ประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

10. ผู้ประกันตนที่ไม่มีสัญชาติไทย เมื่อความเป็นผู้ประกันตนส้นสุดลง ไม่ว่าจะส่งเงินสมทบครบ 180 วันหรือไม่ก็ตาม และประสงค์ที่จะไม่พำนักในประเทศไทยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกระทรวง

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน