ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อแรงงานในประเทศไทย

การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม : การศึกษาเบื้องต้นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแรงงานในประเทศไทย

สรุปการนำเสนอรายงานการศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม : การศึกษาเบื้องต้นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแรงงานในประเทศไทย วันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 จัดโดยศุนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)ณโรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ

คุณสตีเน่อ  คลัพเพอร์ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท กล่าวว่า แน่นอนเราเริ่มรู้สึกว่าสภาพอากาศมีความเปลี่ยนแปลงไปแล้ว และมนุษย์ก็มีการปรับตัวบ้างแล้ว และแรงงานเองก็ต้องมีการปรับตัว ซึ่งต้องมีการปรับตัวกับการทำงานงานที่สกปรกที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งแรงงานเหล่านี้เป็นแรงงานที่ไม่มีฝีมือ และการเปลี่ยนผ่านต้องได้รับการปรับเรื่องพัฒนาฝีมือแรงงาน และต้องมีการรวมตัวกัน เพื่อพูดถึงการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม Justtrasition ที่หมายถึงเศรษฐกิจ และการจ้างงาน โดยโลกเราต้องไม่ใช้สิ่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการปรับตัวของบริษัทในการลดภาวะโลกร้อน และมีแรงงานมากมายที่ต้องการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือการปรับตัว ในการเปลี่ยนผ่าน

ประเทศไทยเป็นเกษตรกรรมก็จะเห็นชัดเมื่อสภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเห็นได้ชัดเจนในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรมที่ไม่สามารถทำการผลิตได้

จากนั้นได้มีการรายงานผลการศึกษาเรื่อง การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม : การศึกษาเบื้องต้นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแรงงานในประเทศไทย

รศ.ดร.นิรมล สุธรรมกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของหลายประเทศ ผ่านหลายรูปแบบ เช่นการเกิดภัยพิบัติอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เช่นฝนตกน้ำท่วมหนัก หรือภาวะน้ำแล้ว ไม่สามารถทำการเกษตรกรรมได้

เรื่องปัญหาที่สังคมเห็นกันอยู่ในส่วนของหมอกควันในทุกปีที่เกิดขึ้นจากการเผาพื้นที่การเกษตรกรรมของเกษตรกร เพื่อที่จะเตรียมพื้นที่ทำการเกษตรกรรมครั้งต่อไป ซึ่งเขามองว่า หากไม่เผาเขาควรจะทำอย่างไร ซึ่งต้องฟังภาคเกษตรว่า แก้ไขกันอย่างไร เช่นตอนนี้มีการทำเวรในการเผาหญ้า เป็นการทยอยเผา ซึ่งช่วงที่มีการเผาพื้นที่เกษตร นักท่องเที่ยวก็ไม่เข้าไปท่องเที่ยว มีผลกระทบกับภาคธุรกิจบริการ การโรงแรม แรงงานในภาคบริการ และช่วงที่เผาโรงพยาบาลก็ทำงานหนักมากขึ้น จากปัญหาสุขภาพที่เป็นผลกระทบจากหมอกควัน  ประกันสังคมจะเป็นอย่างไร เมื่อแรงงานนอกระบบ เป็นบางพื้นที่เท่านั้นในส่วนของผลกระทบหมอกควันในภาคเหนือที่เกิดในประเทศไทย แต่ภาคใต้ก็เป็นในส่วนของประเทศอินโดนีเชีย ภาคเกษตรที่เกิดขึ้นในภาคเหนือที่ภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันร้อนมากขึ้น อันนี้ก็ส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่นิยมความเย็น และปรับเปลี่ยนไปท่องเที่ยวที่อื่น เช่นทะเลเป็นต้น ส่วนสถานประกอบการที่ต้องปรับอุหภูมิให้เหมาะสมในการทำงาน เป็นประเด็นที่ผู้ประกอบการที่ต้องทำให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน

เรื่องแรงงานนอกระบบเป็นความน่าห่วงใย การที่จะให้รัฐบาลมาดูแลแรงงานเหล่านี้ การที่จะทำให้รัฐบาลเห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการปรับตัว

รศ.ดร. กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีความเป็นธรรมอย่างไร เมื่อโลกร้อนแล้วส่งผลกระทบอย่างไรกับแรงงานบ้าง และนโยบายด้านแรงงานมีอะไรบ้าง

แรงงานกระทบกับด้านใดบ้าง สิ่งที่ค้นพบ ด้านเศรษฐกิจ คือผลกระทบกับรายได้ที่ลดลงในส่วนของแรงงานภาคเกษตร ซึ่งก็มีข้าวโพด อ้อย ข้าว เมื่อเกิดภัยแล้ง และข้าวที่ลดลงเมื่อเกิดน้ำท่วม ซึ่งเมื่อปี 2554 ที่เห็นการน้ำท่วมแรงงานต้องตกงานกันจากเหตุการณ์ดังกล่าว และเมื่ออากาศร้อนแรงงานก็เกิดปัญหา ด้วยเชื้อโรคต่างๆเติบโต เกิดอาการป่วยทำงานไม่ได้ก็ขาดรายได้ และแรงงานเองเมื่ออากาศร้อนทำงานได้น้อยลง  ซึ่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจได้มีการศึกษาด้วยเมื่อเกิดภาวะโลกร้อนแรงงานป่วย ท้องเสีย ประเทศไทยสูญเสียผลิตภาพเมื่ออากาศร้อนขึ้น มีการขาดงาน วิงเวียน และระดับความร้อนที่สูงขึ้นทำให้ทำงานลำบาก และเรือประมงก็มีความเสียงจากงานเมื่อมีสภาพอากาศแปรปรวน และมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน เมื่อพื้นที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำขึ้นน้ำลง และระดับน้ำที่สูงขึ้นมีการกัดเซาะชายฝังทำให้อาชีพ และพื้นที่ทำกินต้องเสียไป อย่างที่สมุทรปราการ และการปลูกพืชก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปเพราะอากาศเปลี่ยนการท่องเที่ยวก็เช่นกัน ที่มีความเปลี่ยนแปลง ทำให้นักท่องเที่ยวไม่เดินทางไปเที่ยว

แต่ก็ต้องมองเรื่องที่จะเกิดขึ้นมาทดแทน เช่นแรงงานรุ่นใหม่ที่มีโอกาสในการที่จะเข้าไปทำงานใหม่ เช่นเกษตรอินทรีย์ มีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น มีการเปลี่ยนรูปสร้างงานใหม่เกิดขึ้น งานที่ถูกแทนที่อย่างรถบรรทุก รถยนต์สันดาปภายในก็เป็นรถไฟฟ้าแทน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปภายใน 30-40 ปี งานก็จะเปลี่ยนไป และบางอาชีพจะหมดไป แต่งานส่วนใหญ่จะยังอยู่แต่จะรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อย่างงานก่อสร้างก็จะใช้อุปกรณ์การก่อสร้างที่ปรับเปลี่ยนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และแรงงานต้องปรับตัวทักษะในการที่จะอยู่กับงานที่รักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ต้องมองโลกบวกคือน่าจะส่งผลดี และหากมองลบคือว่า อาจมีแรงงานบ้างส่วนที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะได้รับรายได้น้อย สูญเสียงาน หากคุณภาพก็จะดีขึ้นคือไม่ต้องทำงานในพื้นที่ร้อน แต่ว่าจะได้งานที่มีคุณภาพมากขึ้น และดูแลสิ่งแวดล้อมดีต่อสุขภาพ

นโยบายและวิธีปฏิบัติ นโยบายมีเชิงรับ คือปล่อยให้ตกงาน รับสิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน เชิงรุกก็มีการฝึกอาชีพ มีภาครัฐที่อุดหนุนด้วยการจ้างงาน มีการทำโปรเจ็กต่างๆเพื่อให้เกิดผู้ประกอบการ ให้สินเชื่อควบคู่กันไป หรือช่วยเหลือด้านการหางานให้ทำ ซึ่งกระทรวงแรงงานมีการทำอยู่แล้ว รวมถึงการคุ้มครอง ทางสังคม แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีระบบในการคุ้มครองได้ อาจทำให้ขาดความมั่นคง อันนี้ต้องมีการดูแลเมื่อเขาต้องได้รับผลกระทบ ซึ่งเขาจะได้รับจากยนโยบายการใช้เศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งการปรับเปลี่ยนไปเลือกทางเลือกที่ได้ประโยชน์ทุกฝ่ายได้หรือไม่เพราะว่า การเปลี่ยนไปใช้อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แรงงานก็ต้องได้รับประโยชน์ด้วย

เท่าที่ทบทวนนโยบายจากภาครัฐยังไม่มีแผนงานหรือนโยบายด้านแรงงานต่อการปรับเข้าสู่เศรษฐกิจสีเขียวเลย ซึ่งยังไม่เห็น หน่วยงานที่ปรับทักษะนั้น เอกชนเขามีการพัฒนาทักษะเอง ซึ่งก็มีการปรับตัวกันเองในเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มยานยนต์ กระทรวงแรงงานก็มีถอยแถลงออกมาในระดับนโยบายบ้าง และมีกรมสวัสดิการที่ดูแลเรื่องมาตรการในการดูแลคุ้มครอง กระทรวงแรงงานไม่ได้ทำเรื่องโลกร้อนเป็นการเฉพาะ หากดูกระทรวงอื่นๆเช่น กระทรวงพลังงาน ก็มีพันธกิจในการอบรม และมีหลักสูตรในการพัฒนาบุคคลากร กระทรวงท่องเที่ยวก็มีเรื่องการท่องเที่ยว โรงแรม และมีแผน ในส่วนของกระทรวงเกษตรก็มีการทำงานด้านลดภาวะโลกร้อน

จากการที่เราทำงานก็เพื่อความเป็นธรรม ซึ่งแรงงานเองก็มีการมองเรื่องผลกระทบเรื่องผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ถือว่าไม่เป็นธรรมกับแรงงาน การชุดเชยคิดว่าควรต้องเป็นธรรมไม่ใช่แบบระบบปกติ และการที่อากาศร้อนไม่หนาวการท่องเที่ยวมีการปรับเปลี่ยนไปเที่ยวภาคใต้มากขึ้น การเปลียนอาชีพก็เป็นความท้าทาย แรงงานต้องดูก่อนว่า เพื่อนบ้านทำแล้วดีหรือไม่ ในส่วนของยานยนต์ก็มีการเปิดโครงการจำใจจากซึ่งมีการเปิดแล้ว หากแรงงานเปลี่ยนไม่ได้จริงๆก็ต้องค่อยเป็นค่อยไปเพราะว่า ยังใช้เวลาอีกนาน

ข้อคิดเห็น เสนอแนะต่องานศึกษาวิจัยมีดังนี้

ดร.ประกาย กิจธิคุณ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ยังมีการถกเถียงกันอยู่ถึงสภาพแวดล้อมผลกระทบกับแรงงาน ซึ่งตนจะมีการพูดถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานของเกษตรกร เนื่องจากภัยแล้ง แรงงานภาคเกษตรที่มีการปรับตัวอยู่ได้อย่างไร มีการปรับตัวที่เคลื่อนย้ายออกจากภาคเกษตรเพราะว่ามีรายได้น้อย การเคลื่อนเพื่อหารายได้เพิ่มขึ้น แต่ว่าค่าใช้จ่ายก็เพิ่มมากขึ้นด้วย เกิดภาวะหนี้สิน การปรับตัวโดยภาพรวมของแรงงานที่อยู่ในภาคเกษตร คือระดับการศึกษาน้อย และรายได้ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นรายได้นอกภาคเกษตร รายได้ที่ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลักคือ ส่วนใหญ่ยังยากจน และกลุ่มในภาคเกาตรยังเป็นเกษครพันธสัญญาที่อยู่ได้ การรวมกลุ่มเกาตรนั้นไม่มี ด้านการศึกษาก็เพื่อต้องการประกอบอาชีพ แรงงานรับจ้างที่มีคือปัญหาหนี้สิน ข้อเสนอคือให้มีการจัดการด้านน้ำ และแรงงานรับจ้างต้องการสวัสดิการด้านสังคม และต้องการที่จะมีการแก้ไขปัญหาทางนโยบาย งานภาคเกษตรไม่ถือว่าเป็นงาน ทำให้รายได้ไม่มีการคุ้มครอง ไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐ ซึ่งงานที่ปลอดภัยในภาคเกษตร

การจ้างงานในภาคเกษตรเข้าทำงานเพื่อให้รายได้เท่ากับแรงงานในระบบ เพื่อไม่เกิดการเอาเปรียบมีรายได้ และการคุ้มครอง ให้เกิดการจ้างงานมีรายได้ ลดภาวะหนี้ และตลาดแรงงานมากขึ้น ส่วนในการสร้างอาชีพในการรวมกลุ่มกันส่งเสริมด้านการตลาด ฝีมือแรงงานให้เกิดงาน เกิดรายได้ การรวมกลุ่มเพื่อการแปรรูปแบบครบวงจร พร้อมกับการเพิ่มทางตลาด การประกันสังคม การประกันชีวิตเพื่อให้เข้าถึงกันได้ทั้งเงินทุน และตลาด

ไม่ว่า ภาคเกษตรจะเป็นอย่างไร ภาคเกษตรก็ยังคงรอรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเมื่อเกิดวิกฤติจากแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ และวิกฤตน้ำท้วม เป็นเพราะภาครัฐเองก็ไม่มีการเข้ามาดูแล และส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจเน้นเพียงแรงงานในระบบเท่านั้น แต่ว่า ตอนนี้ก็มีการรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนมากขึ้น การทำงานของภาครัฐยังมีการขาดการบูรณาการทุกองค์กรในเรื่องนโยบาย เป็นการส่งเสริมเพียงอุตสาหกรรมในการนำเครื่องจักรเข้ามามีการลดภาษีให้กับการลงทุน ซึ่งไม่ได้มีการพัฒนาคนเพื่อการรองรับอุตสาหกรรมใหม่ และระบบจะเป็นอย่างไร

ระบบเกษตรพันธสัญญาที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นกระชังเลี้ยงปลา ที่มีผลกระทบน้ำเสียเมื่อภัยแล้ง ปลาตายครอบครัวต้องแยกกันไปทำมาหากิน ไม่เจอกัน ซึ่งตอนนี้สำรวจพบเพียงผู้หญิงอยู่บ้านผู้ชายต้องออกไปหางานทำต่างประเทศ หรือต่างถิ่นในเมืองหมด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีจากภาคเกษตร เกษตรอินทรีย์ต้นทุนสูงมากทีเดียว มูลสัตว์ก็ไม่เพียงพอ และเกษตรกรยังเป็นรายย่อยส่วนใหญ่

คุณอรุณี ศรีโต ตัวแทนแรงงานนอกระบบกล่าวว่า ตั้งแต่ทำงานมา เพิ่งจะได้รับฟังเรื่องภาวะโลกร้อน เดินทำงานในโรงงานพักหอพักนอนไม่มีพัดลมก็นอนได้ แต่ตอนนี้ค่าแรงก็ต่ำนอนไม่ได้แม่มีพัดลมต้องติดแอร์ ด้วยเนื่องจากอากาศร้อนมาก หากกล่าวถึงแรงงานส่วนใหญ่มาจากภาคเกษตรกรรม หากอดีตการทำมาหากินง่ายมาก หาปู หาปลา ข้าวปลาอาหารหาได้ไม่อยาก มีกินมีอยู่แต่ตอนนี้ไม่มีแล้วการที่แรงงานภาคเกษตรต้องอพยพมาทำงานในเมือง การมาทำงานในโรงงาน ภาวะความร้อนในโรงงาน ซึ่งตนทำงานในโรงงานทอผ้าทั้งร้อน ทั้งฝุ่นเป็นภูมิแพ้กัน ตอนนี้แรงงานในระบบก็ออกมาอยู่แรงงานนอกระบบกันแล้ว และไม่มีสวัสดิการ ไม่มีการคุ้มครองเรื่องค่าจ้าง กฎหมายไม่คุ้มครอง ตกลงกันเอาเองเมื่อมีคนเอางานมาให้ทำ และไม่มีอำนาจในการต่อรองกันคนจ้างงาน เมื่อช่วงน้ำท่วมปี 2554 แรงงานนอกระบบก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือ และภาวะแรงงานนอกระบบคือทำงานหนักมาก ซึ่งภาวะโลกร้อนต้องมีการพัมนาแกนนำให้รับรู้เรื่องภาวะโลกร้อนว่ากระทบอย่างไรกับแรงงานบ้าง และแรงงานในระบบต้องมีการเสนอกับนายกรัฐมนตรีให้มีการจัดทำเรื่องโลกร้อนให้เป็นวาระแห่งชาติซึ่งคงต้องรณรงค์ให้แรงงานได้รับรู้ ซึ่งตอนนี้ที่บ้านก็มีนโยบายที่จะไปทำโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชุมชนชาวบ้านก็มีการต่อต้านไว้อยู่เพราะกล้ว แต่ยังไม่เข้าใจเรื่องภาวะโลกร้อน หากทราบก็จะได้ร่วมกันรณรงค์

นายธนกิจ สาโสภา ประธานสมาพันธ์แรงงานฮอนด้าประเทศไทยตัวแทนแรงงานในระบบ กล่าวว่า ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ งานแต่ละแบร์นมีการผลิตทั้งในโรงงาน และข้างนอก ซึ่งข้างนอกนั้นก็จะเป็นการใช้แรงงานนอกระบบ เพื่อส่งเข้าสู่ระบบ ซึ่งตรงนี้ไม่ทราบว่ามีระบบการดูแลอย่างไร มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร การผลิตรถยนต์ที่ส่งออกส่วนใหญ่ หากตลาดต้องการรถไฟฟ้า ไม่เอารถที่ใช้ฟอสซิส แรงงานจะเป็นอย่างไร เพราะแน่นอนการผลิตต้องมีการเปลี่ยน เพื่อใช้พลังงานสะอาดองค์ประกอบต่างๆในการผลิตชิ้นส่วนหลายบริษัทจะหายไปซึ่งบริษัทผลิตชิ้นส่วนกว่า 200 บริษัท แรงงานจะกระทบจะเป็นอย่างไรในอนาคต ขณะนี้การปรับตัวเป็นไฮบริด หากมาปรับเป็นระบบไฟฟ้าเลยคิดว่าการลทุนในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบแน่นอน แค่มีการปรับมาใช้ระบบแก้ส LGV ก็มีผลกระทบกับแรงงานบ้างแล้ว เพราะตอนนี้เองมีการปรับตัวในการใช้ระบบหุ่นยนต์แล้ว และคุ้มในการลงทุน ซึ่งแรงงานที่อยู่ตรงนี้จะเป็นอย่างไร คนจะเป็นอย่างไรกับระบบการจ้างงาน ซึ่งต้องการที่จะได้รับรู้ว่าการปรับจะไปทิศทางไหน แรงงานควรปรับตัวอย่างไร

คุณอัจฉรา แก้วกำชัยเจริญ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า ในฐานะกระทรวงงานต้องมีการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานเป็นน่าที่ ซึ่งการดูแลภาคเกษตรก็มีการพัฒนาให้มีงานนอกภาคเกษตร ซึ่งหากดูเรื่องภาวะโลกร้อนก็ต้องมีการจับมือกับภาคเอกชนในการที่จะมีการพัฒนา และมีการนำเด็ก นักศึกษาเข้าไปพัฒนาทักษะ และมีการงบประมาณในการที่จะให้บริษัทจัดการปรับทักษะ และส่งเสริมให้เขาได้สามารถหาอาชีพใหม่ให้ได้ เช่นกรณีแรงงานนอกระบบ ที่ตอนนี้มีผลกระทบจากโรงงานสิ่งทอ ก็ให้มีการส่งเสริมในการรวมกลุ่มกันเพราะว่าแรงงานมีความเชี่ยวชาญกันคนละแบบ บางคนเย็บแขน เย็บขา ก็ต้องรวมกลุ่มกัน

ตอนนี้การทำงานของแรงงานมีความต้องการทำงานอิสระ ที่เรียกว่า ฟรีแลนด์ ก็มีการนำนายจ้างมาเจอกันกับคนที่ต้องการงาน เป็นต้น และยังมีหน่วยงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเป็นสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน และเป็นโครงการที่ให้เกิดความตระหนักในเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสร้างความตระหนักด้านการทำงานที่ปลอดภัย ต่อสิ่แวดล้อม

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยกล่าวว่า ได้มีการตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยในการทำงาน และจะกำหนดทุกมิติที่จะให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดภัยสูง ซึ่งจะเป็นกลไกในการทำงานร่วมกัน และมีการทำMOU มีการจัดทำนโยบาย วางแผนการทำงานร่วมกัน การเปลี่ยนผ่านก็ต้องมีการปรับตัวในการทำงานต้องมี ลักษณะงานต้องมีการปรับ ซึ่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีการเขียนกำหนดไว้ และความเปลี่ยนผ่านมีผลกระทบกับหลายกระทรวง ซึ่งหากมองประเด็นแรงงานจะทำให้เกิดการพัฒนาด้านแรงงาน พัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วย ซึ่งในส่วนของสถาบันก็มีการมองเรื่องR&D เพื่อที่จะปรับการทำงานเสมอ ซึ่งกระทรวงแรงงานก็มีการมองเรื่องแรงงานสีเขียวอยู่แล้ว

รายงานการศึกษายังขาดแนวนโยบายกระทรวงสาธารณสุขว่าแผนการดูแลเรื่องสุขภาพนั้นแก้อย่างไร

คุณกตัญชลี ธรรมกุล ผู้อำนวยการกลุ่มงานนโยบายและยุทธศาสตร์กล่าวว่า ช่วงงนี้มีการประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอยู่ ซึ่งได้อ่านผลการศึกษามา ก็ยังไม่เห็นข้อเสนอเรื่องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมกับแรงงานเป็นอย่างไร และแรงงานที่มีความเสียต่อผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ และปรับตัวอยู่ในระดับไหน ทิศทางการพัฒนาแรงงานไทยนั้นเป็นอย่างไร มีทิศทางอย่างไรเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม  และข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นอยากให้ทำให้เห็นถือความก้าวหน้า และบัญชีก๊าซเรือนกระจก และคาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปถึงปี 2573 หากจะศึกษาผลกระทการเปลี่ยนแปลงถึงแรงงาน มีเรื่องอุณหภูมิที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้นเห็นปัญหาแค่ภาคเกษตร แต่ยังไม่เห็นแรงงานส่วนอื่น ในโลกนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือตัด หรือว่าจะปรับตัวเพื่อให้อยู่ได้ ซึ่งก็มีเรื่องการปรับตัวเมือเกิดอุทกภัย ความร้อน ภาคเกษตรมีบ้างที่กำหนดไว้ในการปรับตัว ภาคการท่องเที่ยว มีผลกระทบแน่นอนทรัพยากร การตั้งถิ่นฐานแน่นอนมีผลกระทบ การผลิตไฟฟ้า การคมนาคม และอีกหลายส่วนที่คิดว่า ต้องศึกษาเพิ่ม แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติมีการทำแผนที่ 12 และมีการจัดทำแผนที่นำทาง มีแผนแม่บทมีการจัดทำร่างแผนงานในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีการกำหนดเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศที่ ร้อยละ 7 ซึ่งตอนนี้บรรลุเป้าหมายแล้ว

ประเด็นการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมเป็นเรื่องที่ท้าทายมาและต้องเร่งในการที่จะทำการรณรงค์สร้างความเข้าใจกับสังคม