บ้านฉันวันนี้ ตอน วัฒนธรรมแรงงาน แรงใจในการชุมนุม

 

เสียงดนตรีที่เราได้ยินนี้ ไม่ได้ถูกบรรเลงในงานบันเทิงที่ไหน หากแต่เป็นที่ที่ผู้ใช้แรงงานชุมนุมกัน บนความอ่อนล้าและเคร่งเครียดจากการชุมนุมของผู้ใช้แรงงานแต่ละครั้ง ยังมีกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ผ่อนคลายด้วยวัฒนธรรมเสียงดนตรี และลำตัดแรงงาน ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศให้คึกครื้นสนุกสนาน

snapshot22 snapshot25

วิชัย นราไพบูลย์  ผู้ก่อตั้งวงดนตรีคนงาน และวงภราดร  “สำหรับคนงานแล้วการรวมตัวก็เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ในการต่อสู้เพื่อสิทธิ เพื่อความเป็นธรรมในชีวิตในการทำงาน แน่นอนว่าในกิจกรรมต่างๆของแรงงานงานวัฒนธรรมการแสดงดนตรีก็เป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้ของคนงาน ซึ่งในบทเพลงบางบทเพลงก็สะท้อนที่การรวมตัวของคนงานจึงจะมีพลังมีอำนาจการต่อรองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิและความเป็นธรรม ชีวิตของคนงาน”

การร้องรำทำเพลงไม่ได้เป็นเพียงความสนุกสนาน หรือการบรรเทาทุกข์ร้อนให้ผ่อนคลายเท่านั้นแต่ยังบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาต้องเผชิญอีกด้วย

snapshot36 snapshot38

สราวุธ คำแท่น มือเบสวงดนตรีเฟรนชิบ คนงานไทยเรยอน “ตอนนี้บริษัทไทยเรยอนก็มี ปัญหาการยื่นข้อเรียกร้อง เพื่อผลประโยชน์ของทางสมาชิกสหภาพ ได้รู้ข่าวว่าอาพีซีก็มีการเรียกร้องและนัดหยุดงานเหมือนกัน ก็เลยพาชาวคณะเฟรนชิบวงดนตรีมาเป็นกำลังใจให้กับชาวอาพีซีด้วย เพื่อให้มีกำลังใจมากขึ้น ให้เดินหน้าต่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้”

  snapshot23 snapshot40

สมหมาย เนียมงาม คนงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ “คณะลำตัดอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ได้มาร่วมลำตัดเรื่อง ไอแอลโอ 87 และ98 ก็รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วม ในการขับเคลื่อนไอแอลโอในครั้งนี้ เราต้องการให้รัฐบาลเร่งให้ความสำคัญของคนงานอยากให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาไอแอลโอฉบับที่ 87 และ 98 โดยด่วนนะคะ เพราะว่าในอาเซียนของเราเขาก็รับรองไปหลายประเทศแล้วมี 4 ประเทศซึ่งมีประเทศไทยด้วยที่ยังไม่รับรอง ฝากรับบาลด้วยนะคะขอบคุณค่ะ”

เรื่องราวที่ถูกเล่าผ่านเสียงเหล่านี้ จึงไม่ใช่เพียงส่วนประกอบของการชุมนุมรวมตัวกัน แต่ยังส่งข้อความบางประการไปถึงสังคมโดยรวมอีกด้วย

นักข่าวพลเมือง เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน รายงาน