บ้านฉันวันนี้ ตอน พิพิธภัณฑ์แรงงานจีน

ที่นี่คือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะและวัฒนธรรมคนงานอพยพ ตั้งอยู่มุมหนึ่งของกรุงปักกิ่ง ที่ซึ่งพวกเราแรงงานจากไทย ได้เรียนรู้ว่าจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1 พัน 4 ร้อยล้านคน 26 เชื้อชาติ โดยเมื่อจีนเปิดประเทศรับระบบทุนนิยมเข้ามาและเกิดระบบอุตสาหกรรม มีคนงานอพยพเข้าไปทำงานในเมืองใหญ่ถึงกว่า 263 ล้านคนเลยทีเดียว

พิพิธภัณฑ์แรงงานอพยพจีน (10) พิพิธภัณฑ์แรงงานอพยพจีน (9)

พิพิธภัณฑ์ศิลปะและวัฒนธรรมคนงานอพยพ แห่งนี้ เกิดขึ้นในชุมชนที่มีคนงานอพยพมาจากมุมต่างๆ ของประเทศจีน

คนงานอพยพจำนวนมากถูกเอารัดเอาเปรียบด้านค่าจ้าง สวัสดิการ ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ได้บันทึกเรื่องราวไว้เพื่อบอกเล่าความทุกข์ยากให้คนรุ่นหลัง ได้รับรู้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังบันทึกไว้ด้วยว่า คนงานอพยพกลายเป็นพลเมืองชั้นสองของประเทศ ต้องมีการขึ้นทะเบียน ความเป็นเพศ สถานะครอบครัว  คนงานบางคนที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย นอกจากจะไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ยังต้องต้องถูกคุมขังในค่ายกักกันคนงาน ซึ่งกลายเป็นจุดสำคัญที่ทำให้คนงานลุกขึ้นมาต่อต้าน เรียกร้องสิทธิความเป็นพลเมือง จนทุกวันนี้คนงานอพยพไม่ต้องขึ้นทะเบียนแล้ว        ความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ถูกบันทึกไว้ เช่นเหตุการณ์ไฟไหมโรงงานตุ๊กตาที่เสิ่นเจิ้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2536 มีคนงานเสียชีวิต 86 คน ซึ่งเป็นปีเดียวกับเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ในประเทศไทย         ห้องพักคนงานขนาดเล็กนี้ บอกเล่าเรื่องราวของคนงานไกลบ้านที่ต้องพาครอบครัวมาอยู่ด้วย โดยที่ลูกๆ ของพวกเขาไม่ได้เรียนหนังสือเพราะระบบการศึกษาของจีนระบุให้เด็กๆ ต้องเรียนที่บ้านเกิด อย่างไรก็ดี  บ้านคนงานย้ายถิ่นปักกิ่งได้สร้างโรงเรียนให้กับลูกหลานคนงาน มีอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัย  ใช้วัฒนธรรมในการจัดตั้งคนหนุ่มสาว มาดูแล

พิพิธภัณฑ์แรงงานอพยพจีน (3)  พิพิธภัณฑ์แรงงานอพยพจีน (12)

เรื่องราวของคนงานอพยพจีน ที่ถูกจารึกไว้ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะและวัฒนธรรมคนงานอพยพ ทำให้เราเห็นความยากลำบากของคนงานผู้สร้างความเติบโตให้กับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างจีน

มันคือกระบอกเสียงของแรงงาน ที่ส่งต่อไปยังสังคมและคนรุ่นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

นักข่าวพลเมือง นักสื่อสารแรงงาน รายงานจากประเทศจีน