บริบทการเมืองแคนาดา ลัทธิเสรีนิยมใหม่ ผลกระทบแรงงาน

20130803_162010

การเมืองของประเทศแคนาดา และผลกระทบต่อกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ยุทธศาสตร์ของสหภาพแรงงานต่อลัทธิเสรีนิยมใหม่ และโลกาภิวัตน์ แนวนโยบายแบบการจ้างงานแบบยึด ฝ่ายนายทุน ค่าจ้างคนงานถูกกดให้ต่ำ สวัสดิการถูกลดลง อ้างว่าให้มีการต่อรอง หากมีปัญหาการเจรจาไม่ลงตัว ไม่ยอมขู่ย้ายสถานประกอบกิจการไปจีน เวียดนาม รัฐบาลมีนโยบายมุงทำลายสหภาพแรงงาน มีการแทรกแซงโดยกฎหมาย เสนอขบวนการแรงงาน คิดเปลี่ยนแปลงยกระดับเป็นประเด็นสังคมให้ทุกส่วนมีส่วนร่วม ทั้งผู้หญิง เด็ก ผู้สูงอายุ และกลุ่มหลากหลายทางเพศ ใช้การสื่อสารทุกระดับ พร้อมเสนอสหภาพต้องทำงานประเด็น-รวมตัวข้ามชาติ แบบทุนโลกาภิวัตน์

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีนักวิชาการแรงงานจากสหภาพแรงงานแห่งชาติ แคนาดา  Jan Frans Ricard ภาควิชาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยมอนทรีออล ผู้ศึกษาวิพากษ์ ระบบเสรีนิยมใหม่ ประสบการณ์ร่วมเคลื่อนไหวคัดค้าน ความเลวร้ายของเสรีนิยมใหม่ มาบรรยาย และเสวนากับผู้นำแรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นักศึกษา ที่ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

20130803_16192320130803_133050

Jan Frans Ricard กล่าวถึงเรื่อง “การเมืองของประเทศแคนาดา และผลกระทบต่อกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ยุทธศาสตร์ของสหภาพแรงงานต่อลัทธิเสรีนิยมใหม่ และโลกาภิวัตน์” ว่า  ประเทศแคนาดามีประชากรราว 33 ล้านคน ใช้ภาษาราชการ 2 ภาษาคือ ภาษาฝรั่งเศส และอังกฤษ มีระบอบการปกครอง ในเครือจักรภพของอังกฤษ ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีกษัตริย์เป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ระบบรัฐสภา ประกอบด้วยรับบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น แบ่งความรับผิดชอบ และหน้าที่ร่วมกัน มี 10 ภูมิภาค และ 2 อาณาเขต เป็นระบบกระจายอำนาจ ด้านการจัดการศึกษา  การจัดสวัสดิการ โรงพยาบาล จัดการเองโดยรัฐท้องถิ่น มี กฎหมายคุ้มครองแรงงานของแคนาดาเอง ด้านรัฐบาลกลางจะดูแล เรื่องการคมนาคมระหว่างท้องถิ่น ท่าเรือ ไปรษณีย์ งานภาครัฐ กองทุน สวนสาธารณะ และประกันสังคมสำหรับผู้ว่างงาน

ประเทศแคนาดา เป็นประเทศที่รักสงบ มีประชาธิปไตย ใจกว้าง มีคุณภาพชีวิตที่ดีติดอันดับหนึ่งในสี่ของโลก (UNPD) ระบบประกันสังคม และสวัสดิการ เช่นการจัดการศึกษาของรัฐ สาธารณะสุข ประกันว่างงาน สวัสดิการสังคมกิจกรรมครอบครัว เนื่องจากมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันของผู้อพยพเข้าเมือง แต่ไม่มีความก้าวร้าว รุนแรง หากเปรียบเทียบกับประเทศพันธมิตรทางธุรกิจ เช่นสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดามีความรุนแรงน้อยมาก มีกฎหมายเข้มงวดเกี่ยวกับการมีอาวุธปืนในครอบครอง ประวัติทาส การแบ่งแยกสีผิว สลัมฯลฯ และการแข่งขันทางธุรกิจ บริษัทต่างๆก็ไม่ค่อยดุเดือด

แต่สิ่งเหล่านี้กำลังถูกทำให้เปลี่ยนไป ในแคนาดาเดิมการรวมตัวก็ไม่ได้รับการยอมรับ แม้สหภาพแรงงานอย่างถูกกฎหมายตั้งแต่ปีค.ศ. 1872 และสหภาพแรงงานภาครัฐกลางปี ค.ศ. 1960 ปี ค.ศ. 1944 กำหมายรับรองให้สหภาพแรงงานเป็นองค์กร และมีอยู่ถูกต้องตามกฎหมาย

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพแรงงานเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมสัมพันธ์ มีการยอมรับบทบาทสหภาพแรงงานกลาง การรวมตัวของลูกจ้างภาครัฐทำให้เกิดความเข้มแข็งในการยอมรับจากรัฐมากขึ้น

20130803_16145620130803_133331

ปีค.ศ.1946 ศาลได้มีการตัดสินให้คนงานทุกคนที่มีสัญญาจ้างเดียวกันต้องจ่ายค่าบำรุง หรือค่าธรรมเนียมสมาชิกสหภาพแรงงาน หลักการอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO.) ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว เจรจาต่อรองถูกนำมาใช้อย่างเข้มข้นในแคนาดา การปรากฏตามกฎหมายแรงงานของแต่ละรัฐ เป็นหลักการประชาธิปไตยไม่ใช่ให้นายจ้างเข้มแข็งฝ่ายเดียวลูกจ้างต้องเข้มแข็งด้วย เพื่อการถ่วงดุล การนัดหยุดงานทั่วไป เป็นการรณรงค์ทางการเมืองเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย  แต่สามารถหยุดงานเรียกร้องสิทธิด้านแรงงานได้ คือหยุดงานได้แต่ต้องไม่หยุดการให้บริการ ข้อตกลงร่วม สหภาพแรงงานเป็นหน่วยงานหลักที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าของประกันสังคม และสภาพแวดล้อมของการทำงาน

สถานประกอบการที่มีหลากหลายเดิมมีข้อตกลงร่วมกันด้วยรัฐ แต่ปัจจุบันถูกแยกไปทำการเจรจาตกลงสภาพการจ้างของแต่ละสถานประกอบกิจการเอง เป็นการเจรจาตกลงแบบกระจายอำนาจต่อรองของคนงานทำให้สหภาพแรงงานอ่อนแอลง และสหภาพแรงงานถูกจำกัดให้สู้เรื่องสิทธิอย่างเดียว แต่จริงแล้วสหภาพแรงงานต้องต่อสู้ทางการเมืองด้วย สหภาพแรงงานแคนาดา ได้พยายามที่จะต่อสู้ให้หลุดจากการที่จะถูกให้สู้ภายในเรื่องแรงงาน ที่เรียกว่าสู้รายสถานประกอบการ และต่อสู้เรื่องสิทธิ เป็นการต่อสู้ทางการเมือง

คนมักบอกว่าสหภาพแรงงานเข้มแข็งจะเกิดความขัดแย้งแต่จริงแล้วการมีสหภาพแรงงานเข้มแข็งจะทำให้การเจรจายุติบนโต๊ะได้โดยไม่ต้องมีข้อขัดแย้งกับทางนายจ้าง

สัดส่วนสหภาพแรงงานแคนาดา ขบวนการแรงงาน มีสมาชิกเพศชาย 30% ผู้หญิง 33% ภาครัฐ 70% ภาคเอกชน 25% องค์กรสหภาพแรงงานหลัก คือ Canadian Labour Congress (CLC) มีสมาชิก 3 ล้านคน มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแคนาดา และอเมริกาเหนือ มีการรณรงค์ระดับท้องถิ่นในการต่อต้านมาตรการแบบเสรีนิยมใหม่ สหภาพแรงงานรัฐกับพันธมิตรสังคม ในระดับประเทศ เนื่องจากแคนาดาเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ การสื่อสารระหว่างสหภาพและความปรองดองจึงไม่กระชับเท่าที่ควร รัฐบาลแคนนาดาก็มีการต่อต้านเรื่องกฎหมาย และคำตัดสินของศาลกรณีที่ให้ทุกคนที่ทำงานต้องเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานโดยอ้างประเทศอเมริกา แต่ทางสหภาพแรงงานก็อ้างประเทศในแถบสแกนดิเนเวียที่มีสมาชิกสหภาพที่แนวทางนี้ และคุณภาพชีวิตของคนงานดี

โลกาภิวัตน์ หรือเสรีนิยมใหม่ ที่ประธานาธิบดีโรนัลด์เรแกนกับมาร์กาเร็ต แธตเชอร์เข้ามามีอำนาจทำให้ใช้แนวนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่ มาบริหาร ใช้การจ้างงานแบบยึดทุนเป็นหลัก การบริหารของภาครัฐ แม้ว่า ยังไม่มีการแปรรูปก็จะเอาแนวคิดทุนบริหารจัดการ หลังจากประเทศโซเวียตล้มสลายลง โลกทุนนิยมเข้ามาโดยไม่เกรงใจ ปี ค.ศ. 1980 ฝ่ายนายทุนก็ผยองกลมกลืน เสรีนิยมใหม่ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรงค่าจ้างคนงานถูกกดให้ต่ำ สวัสดิการถูกลดลงทุกอย่าง อ้างว่าให้มีการต่อรอง หากมีปัญหาการเจรจาไม่ลงตัว ไม่ยอมก็จะย้ายสถานประกอบกิจการไปประเทศจีน เวียดนามเป็นต้น

20130803_16212820130803_133127

แม้ว่าแคนาดาจะมีการจัดขบวนที่เข้มแข็ง มีการกำหนดสิทธิก็ยังมีการลดต้นทุนต่างๆมีการตัดงบประมาณ เข้มงวดกับการเงิน และการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย ความนิยมประชาธิปไตยน้อยลง การถอนตัวจากพิธีสารเกียวโต มีการแทรกแซงทางอำนาจการบริหารของท้องถิ่น ตัดงบประมาณ ด้านศิลปะ งานประเพณี วิทยาศาสตร์ เข้ามาครอบครองสื่อโทรทัศน์  นายทุนมีการจ้างงานระบบเหมาช่วงเหมาค่าแรง ลดอำนาจการต่อรองของสหภาพแรงงาน มีการจ้างลูกจ้างชั่วคราวเพื่อสร้างผลกำไร เปรียบเทียบกับการจ้างคนงานประจำ สร้างผลกระทบ 2 ทาง คือ เอกชนลดต้นทุน ภาครัฐตัดสวัสดิการ

รัฐบาลมีนโยบายมุงทำลายสหภาพแรงงาน มากขึ้น ทำให้สหภาพแรงงานอ่อนแอลง ใช้มาตรการทางกฎหมาย เข้ามากำกับบทบาทโดยพรรคการเมือง มีการแทรกแซงค้อนข้างเป็นแนวเผด็จการ

กองทุนชราภาพของคนงานเอง เป็นข้อตกลง จ่ายเป็นค่าบำรุงเข้า สามารถมาลดภาษีแต่ก็ไม่ได้ สหภาพแรงงานนำเงินกองทุนเข้าช่วยบริษัท หรือสถานประกอบการที่กำลังจะล้มละลาย เพื่อให้ดำเนินกิจการต่อไปได้

รัฐบาลมีอำนาจจำกัด เพราะมีการบริหารโดยรัฐบาลท้องถิ่น ที่รัฐบาลกลางไม่สามารถที่จะแทรกแซงได้ สหภาพแรงงานสมานฉันท์สากลที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ก็ถูกรัฐตัดงบประมาณสนับสนุน แต่ยังสามารถอยู่ได้ ขณะนี้ที่ต้องสู้มีเรื่องประกันการว่างงาน เพราะระดับชาติยังมีปัญหาอยู่ มีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมการว่างงาน ถูกบังคับให้ทำงาน

รายละเอียดรับควิเบค มีประชากร 8 ล้านคน ใช้ภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศส 80% อังกฤษ 20 % มีความเจริญ และมีความรักสงบ คติพจน์คือ สังคมประชาธิปไตย เป็นรัฐสวัสดิการ เศรษฐกิจแบบผสมผสาน การคุ้มครองทางสังคมสูง มีความเท่าเทียม และค่าครองชีพต่ำ ไม่บ้าทำงานอย่างเดียว สนใจด้านสังคม  มีศิลปะ ธรรมเนียมนิยม ชาตินิยม และความอิสระ เป็นขบวนการแบ่งแยกที่ม่นคงในการเป็นรัฐอิสระ

ข้อมูลสมาชิกสหภาพแรงงานมีสมาชิกสัดส่วนมากกว่าระดับชาติ มีพรรคเสรีนิยมควิเบค กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบของรัฐ มีการออกกฎหมายพิเศษ ออกระเบียบทำให้เกิดผลกระทบกับตัวแรงงานในระบบเอื้อต่อการให้มีการจ้างแรงงานเหมาค่าแรง ส่งผลให้สมาชิกลดน้อยลง เกิดข้อขัดแย้งมากขึ้นระหว่างสหภาพแรงงาน พนักงาน กลุ่มสังคม การจำกัดสิทธิในการชุมนุมประท้วง บังคับให้เห็นร่วม ตัดงบประมาณด้านการศึกษา การเติบโตของรัฐบาลสายอนุรักษ์นิยม ค่านิยมทางสาธารณรัฐ นั้นมีแนวต่อต้านสหภาพแรงงาน ต่อต้านสิทธิสตรี และขบวนการทางสังคม มีการสนับสนุนตลาดเสรี เสนอการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ตัดงบประกันสังคม สนับสนุนความคิดแบบการอยู่รอดของ Fittest สิ่งที่เผชิญอยู่คือโลกาภิวัตน์มีการแข่งขันกับแนวคิดการต่อสู้แบบปัจเจกนิยม การโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้เกิดความเห็นแก่ตัวมากกว่าส่วนรวม คนที่ไม่อยู่ในสหภาพมากขึ้น การแข่งขันระดับโลก การจ้างงานที่ไม่มั่นคง เป็นต้น

20130803_16233620130803_162405

ขบวนการแรงงาน คิดกิจกรรมทางการเปลี่ยนแปลงปัญหาแรงงานให้เป็นระดับสังคม เป็นประเด็นทางการเมืองให้ภาคสังคมอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วม ต้องทำให้เป็นประเด็นทางสังคม เป็นการต่อสู้ทางสากล เพราะนายทุนนั้นจะรวมกันระดับโลก เป็นทุนโลกาภิวัตน์ เป็นทุนข้ามชาติ ทางเดียวที่จะทำให้เกิดความเข้มแข็งได้คือต้องทำให้ขบวนการแรงงานเป็นขบวนการทางสังคม จัดตั้งเอาคนที่อยู่นอกระบบแรงงาน เข้ามา ต้องวางแผนการทำงาน หากขบวนการแรงงานไม่มีการทำงานจัดตั้งคนเข้าสู่ขบวนจะสู้อย่างไร ต้องมีการสร้างความเข้มแข็งด้วยการเชื่อมร้อยผู้คน แรงงานทุกกลุ่มที่กระจัดกระจายเข้ามาร่วมกับสหภาพแรงงาน ต้องมีการมองเรื่องใหม่ๆ เรื่องสิ่งแวดล้อม ผู้หญิง กลุ่มอัตลักษณ์ต่างๆ กลุ่มหลากหลายทางเพศดึงเข้ามาร่วม พี่น้องแรงงานข้ามชาติ ต้องได้รับการดูแลนำเข้ามาอยู่ในขบวนด้วย ต้องมีการให้พื้นที่ และบทบาทกับผู้หญิงให้มีส่วนร่วมเพราะผู้หญิงมักเห็นปัญหาหา และมีประเด็นใหม่มาผลักดัน ขับเคลื่อน และสร้างแนวร่วมกับสังคม เศรษฐกิจนอกระบบส่วนใหญ่ก็เป็นผู้หญิงทำงาน หากสหภาพแรงงานไม่มีผู้หญิงร่วมก็ไม่มีอนาคต ขบวนการเปลี่ยนแปลงจะไม่คงอยู่หากไม่มีผู้หญิง เพราะผู้หญิงเกินครึ่งหนึ่งเป็นแรงงาน ต้องมีนโยบายความเท่าเทียมทางเพศ การพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย และต้องมีสัดส่วนของคนอายุน้อย ผู้สูงอายุ การสร้างพันธมิตร การทำงานสื่อสาร ต้องมีการประยุกต์เรื่องการสื่อสารที่ใช้ภาษาง่ายๆ การใช้สังคมออนไลน์ เพื่อหาข้อมูล และการเปลี่ยนแปลง การทำงานร่วมกับศิลปิน และผู้มีความรู้

ยุทธศาสตร์ขบวนการแรงงานต้องมี 3 ขา ทรัพยากรของสหภาพแรงงานที่ต้องมีในที่ทำงานคือ 1. กำลังการผลิตเชิงกลยุทธ์ คือระเบียบวาระการประชุม ค่านิยม ทัศนคติเชิงรุก ทักษะการสื่อสาร การพูด 2. ความสามัคคีภายใน ซึ่งต้องมีกลไกความเป็นประชาธิปไตยภายใน ความเป็นผู้นำ การสื่อสารภายใน การมีส่วนร่วมของสมาชิก และ 3. ความสามัคคีภายนอน ประกอบด้วยการมีพันธมิตรระหว่างสหภาพแรงงาน กลุ่มประชาสังคมอื่นๆ พันธมิตร การสื่อสารการรณรงค์ และบทบาทเวทีระหว่างประเทศ

จุดเดือด การประท้วงของนักเรียนในปี 2012 ที่ผ่านมา เรียกว่า เมเปิ้ลสปริง นักเรียนลุกขึ้นมาประท้วงเรื่องต่อต้านการขึ้นค่าเล่าเรียนเป็นร้อยละ 75 รัฐบาลอ้างไม่มีเงินดูแลเรื่องการศึกษา แต่รัฐกลับเอาเงินไปใช้อย่างอื่น เช่นใช้สนับสนุนการทหาร ซึ่งการประท้วงเกิดขึ้นทุกวัน และประท้วงใหญ่ทุกวันที่ 22 ของทุกเดือน โดยมีผู้เข้าร่วมประท้วง 250,000 คน เป็นการต่อต้านวาระการประชุมแบบเสรีนิยมใหม่ การเข้าถึงการศึกษา มหาวิทยาลัยทางด้านธุรกิจ สินค้าสาธารณะ การคอรัปชั่น การจ่ายภาษีที่ไม่เท่าเทียมกัน  ซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนี้มีประชาชน ครูรวมตัวกับนักเรียนเดินขบวนประท้วง มีการให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ สหภาพแรงงานเข้าร่วมและสนับสนุนเด็กนักเรียนผ่านมทางสื่อ เข้าสนับสนุนข้อมูลการประท้วง พร้อมจัดหาทนายความไว้เนื่องจากมีข้อกฎหมายที่ห้ามชุมนุมประท้วง เป็นกฎหมายพิเศษฉบับที่ 78 กำหนดสิทธิการประท้วง ห้ามชุมนุมเกิน 50 คน ห้ามสวมหน้ากาก ครูตั้งแต่ 09.00-17.00น.ห้ามชุมนุม ซึ่งมีนักเรียนถูกปรับ และจำคุก ครู และสหภาพแรงงานเผชิญกับความโหดร้ายของตำรวจ ประชาชนเข้าร่วมประท้วงเพื่อต่อต้านการตัดสินของรัฐ การประท้วงเกิดขึ้นทุกวันเพื่อต่อต้านกฎหมายพิเศษ ส่งผลให้รัฐบาลพ่ายแพ้หลังการเลือกตั้งเดือนกันยายน 2012  การชุมนุมที่ทำให้คนเข้าร่วมจำนวนมาก คือเนื่องจากเป็นเรื่องของสังคมประชาชนได้รับผลกระทบ และการใช้สื่อทุกประเภทในการสื่อสาร ทั้งสื่อโซเซียลมีเดีย สื่อมวลชนซึ่งเป็นส่วนงานของสหภาพแรงงานเพื่อสื่อสาร

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน