บทเรียนเตือนใจแรงงานจากอุบัติเหตุในการทำงาน

เมื่อวันที่ 16 มี.ค.54 เวลา 07.30 น.  ได้เกิดอุบัติเหตุกับ นายสาคร เส็งมา  พนักงาน แผนกตรวจสอบ ( FPP)  บริษัท แห่งหนึ่งในเขตพื้นที่สระบุรี สุขภัณฑ์ทับนิ้วมือ ได้รับบาดเจ็บเย็บ 6  เข็ม 

นายสาคร  เส็งมา  พนักงาน ที่ได้รับอุบัติเหตุ  กล่าวว่า  ขณะนั้นตนเองได้เข้ากะดึก เวลา 24.00 – 08.00 น. ได้เกิดอุบัติเหตุเวลา 07.30 น. ขณะปฏิบัติงาน ได้เคลื่อนย้ายสุขภัณฑ์ประเภทอ่างที่วางบนแผ่นไม้รองสุขภัณฑ์ ให้เคลื่อนบนสายพานลำเลียงไปใกล้รถเล็ด ขณะเคลื่อนผ่านจุดที่สามสามารถ ปิด-เปิดได้  ขณะนั้นไม้รองได้ตกร่องและเข้าไปอยู่ใต้ลูกกลิ้งของสายพานลำเลียง  ทำให้สุขภัณฑ์บนแผ่นไม้ล้ม  เอามือไปรองรับไว้ ทำให้สุขภัณฑ์ทับที่นิ้วมือซ้ายได้รับบาดเจ็บ ไปตรวจรักษาที่ รพ. เกษมราษฎร์  จังหวัดสระบุรี แพทย์ตรวจเอ๊กซเรย์  กระดูกไม่แตก เป็นแผลฉีก แพทย์ทำการเย็บทั้งหมด 6 เข็ม   
 
ทางด้านคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวะอนามัย( คปอ.) ร่วมกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ( จป.) ประจำบริษัท ได้วิเคราะห์หาสาเหตุในการเกิด และแนวทางแก้ไขร่วมกัน  พบว่า สาเหตุการเกิด จุดปิด-เปิดของสายพานลำเลียงมีระดับสูงกว่าสายพานลำเลียงปกติ  และมีลูกกลิ้งระยะห่างกว่าปกติ  ในส่วนการดำเนินการแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำ ปรับระดับจุดปิด-เปิดของสายพานให้มีขนาดเท่ากับสายพานลำเลียง  ปรับระยะห่างของลูกกลิ้งจุดปิด-เปิดให้เท่ากับลูกกลิ้งสายพานลำเลียง
 
ด้านการป้องกันการเกิด (ผู้บริหาร) สื่อสารและอบรมการเกิดอุบัติเหตุ และแนวทางป้องกันรวมถึงการปฏิบัติตนด้วยพฤติกรรมที่ปลอดภัยให้เพื่อนในแผนกได้รับฟังและปฏิบัติ พร้อมทั้ง ติดเอกสารบทเรียนเตือนใจจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ของแผนก  เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและช่วยย้ำเตือนให้นึกถึงอันตรายที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยง เพื่อให้ทราบว่ามีระดับความเสี่ยงในการทำงานมากน้อยเพียงใด และสิ่งที่จะแก้ไขช่วยลดอันตรายได้มากน้อยเพียงใด
 
ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุที่เกิด  ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขป้องกันการเกิด  ทั้งหลายทั้งปวง  ผู้บริหาร (หัวหน้างาน)ต้องเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ การเกิดอุบัติเหตุกับพนักงานแต่ละครั้ง ต้องมีการดูแล ปรับเปลี่ยนตำแหน่งงานเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของพนักงาน หลังจากนั้นต้องมีการประเมินก่อนกลับไปปฏิบัติงานเดิมด้วย 
 
สวรรยา  ผดาวัลย์  นักสื่อสารแรงงานศูนย์ข่าวพื้นที่สระบุรี รายงาน