นายจ้างพบเทคนิคลดต้นทุนใหม่ ไฉไลกว่าจ้างเหมาค่าแรง

ผู้นำแรงงานพบนายจ้างใช้เทคนิคใหม่ลดต้นทุนการจ้างงาน จับมือสถานศึกษารับฝึกงานงานจำนวนมาก ทำงานไลน์การผลิต หลีกสวัสดิการ 

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 57 ที่ผ่านมา สหพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิค แห่งประเทศไทยได้มีการจัดประชุมประจำเดือน วาระที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้คือ การรายงานสถานการณ์ ในแต่ละองค์กรสมาชิกโดยมีประเด็นที่การรับนักศึกษาฝึกงาน เข้ามาทำงานเหมือนพนักงานทั่วไป ตามไลน์การผลิต แต่ละบริษัท

นาย แสนนุคม ยคลา ประธานสหพันธ์แรงงานฯกล่าวว่า ผลจากนโยบายโรงเรียนในโรงงาน ที่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร เป็นพรรครัฐบาล ได้มีนโยบายให้นักศึกษา แต่ละสถาบัน ต้องมีการเข้ามาฝึกงานในสถานประกอบการต่างๆ เพื่อเป็นการฝึกอาชีพและเรียนรู้งานจริงๆ ก่อนที่จะจบกาศึกษาในแต่ละดับชั้น โดยเฉพาะกลุ่มสายอาชีพ คือ ปวช. และ ปวส. ดังนั้นจึงเป็นช่องทางให้กับกลุ่มนายทุน ต่างๆ ที่ขาดแคลนแรงงานในขณะนั้นได้มีการนำนักศึกษามาทดแทน พนักงาน ที่ขาดแคลนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งประกอบกับ เมื่อปี พ.ศ. 2554 ได้มีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ในเขตนิคมต่างๆ ได้มีการโยกย้ายบริษัทเพื่อหนี น้ำท่วมในครั้งนั้น ได้มีการจ้างพนักงานที่มีอายุงานมากๆ ออก เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งในปีต่อมารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร ได้มีการประกาศ ปรับค่าแรง 300 บาท ทั่วประเทศ ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ นำนักศึกษาฝึกงานเข้ามาทำงาน แทน เป็นจำนวนมาก โดยใช้ค่าแรง ที่ต่ำกว่ารัฐบาลกำหนด บ้างเป็นบางส่วน และ หลีกเลี่ยงการจ่ายประกันสังคม หลีกเลี่ยงการจ่ายกองทุนเลี้ยงชีพ หลีกเลี่ยงการสวัสดิการ ที่พนักงานทั่วไปควรได้ อาทิเช่น ค่าเช่าห้อง ค่ารถ เบี้ยขยัน เงินขึ้น โบนัส เป็นต้นฯ

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และ อิเลคทรอนิคส์ เป็นอุตสาหกรรมที่ มีแรงงานนักศึกษา มากที่สุด เพราะเป็นอุตสาหกรรม ที่ไม่ค่อยหนักสักเท่าไหร่ แต่จำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก

โดยมีการกำหนดระยะ เวลาที่ ฝึกงาน มีดังนี้

1. 6 เดือน

2. 1 ปี

3. 2 ปี

อายุเฉลี่ยของนักศึกษา เริ่มตั้งแต่ 16 – 20 ปี
ตัวอย่างหลักเกณฑ์ค่าจ้าง และสวัสดิการ ที่นักศึกษา และสถาบัน ที่จะได้รับ บางส่วน

ลำดับที่

เบี้ยเลี้ยง – สวัสดิการ

หมายเหตุ

 

1 เบี้ยเลี้ยงในการทำงาน

  • ผลัดเช้า เวลา 07.50 -17.20 น. ได้รับ 283.75 บาท
  • ผลัดกลางคืน เวลา 19.50-05.20 ได้รับ 283.75

-OT วันละ 2.5 ชม.

-รอบการคิดเบี้ยเลี้ยง คือวันที่ 16 ถึง 15 ของเดือนถัดไป

– การจ่ายเบี้ยเลี้ยง จะจ่ายในวันที่ 28 ของทุกเดือน หากตรงกับวันหยุด จะเลื่อนขึ้น

 

  • กรณีทำงานในวันหยุดได้รับเบี้ยเลี้ยง 2 เท่า
  • กรณีทำงานล่วงเวลำด้รับเบี้ยเลี้ยง ดังนี้

ก) กรณีทำงานล่วงเวลา วันทำงานปกติ

ได้รับ 1.5 เท่า ของชม.การทำงาน คิดเป็น ชม. ละ 51.56 บาท

ข) กรณีทำงานล่วงเวลาในวันหยุด

ได้รับ 3 เท่า ของ ชม. ทำงาน คิดเป็น ชม.

ละ 103.12 บาท

2 สวัสดิการ2.1 จัดหาที่พักให้กับนักศึกษา ( ไม่รวมค่าน้ำ และค่าไฟ)2.2 จัดหาอุปกรณ์และเครื่องนอนให้ เช่น หมอน ที่นอนผ้าห่ม2.3 จัดหารถรับส่ง ( รถกระบะ มีที่นั่ง และหลังคา หรือรถบัศ)2.4 จ่ายคูปองอาหาร กลางวัน และจ่ายค่าอาหารในช่วงทำงานล่วงเวลา (OT) 20 บาท / คน

กรณีที่มาทำฝึกงานในวันหยุด จะได้รับค่าอาหาร 20 บาท / คน

  • จัดห้องพัก 3-4 คน / ห้อง ( หรือตามความเหมาะสม )
  • เป็นอุปกรณ์ที่ให้ในคราวแรกเท่านั้น
  • รับส่งระหว่างหอพัก กับ บริษัท ฯ
  • สำหรับข้าวสวยจัดบริการให้ฟรีทุกมื้อ
3 เงินสนับสนุนสถานการศึกษา 3,000 บาท ต่อนักศึกษา 1 คน โดยมีระยะเวลาฝึกงานจนครบ ระยะเวลา ฝึกงานการฝึกงาน 6 เดือน 

 

 

 

 

 

  • ในกรณีที่วิทยาลัยส่งนักศึกษามาฝึกงานกับบริษัทตามกำหนดระยะเวลา ไต่ไม่ครบหกเดือนจะพิจรณาเงินสนับสนุนให้ตามอัตราสัวนดังนี้

1-3 เดือน จะไม่มีเงินสนับสนุนให้กับสถานศึกษา

4-5 เดือน เงินสนับสนุนวิทยาลัย 2.000 บาท

6 เดือน ขึ้นไป เงินสนับสนุนวิทยาลัย 3,000 บาท / คน

โดยบริษัทฯ จะมอบเงินสนับสนุนให้กับสถานศึกษาเมื่อนักศึกษาฝึกงานครบตามกำหนดระยะเวลาการฝึกงานดังกล่าว

 

4 อาจารย์ประจำสถานศึกษากรณีสถานศึกษาส่งนักศึกษามาฝึกงานจำนวนมาก ( ประมาณ 100 คน ) สถานศึกษาจะส่งอาจารย์มาควบคุมดูแล และมาประสามงานร่วมกันระหว่างบริษัทฯ กับสถานศึกษา จำนวน 1 ท่าน โดยบริษัทจะจัดสวัสดิการต่างๆ ให้กับอาจาย์ดังนี้4.1 ค่าเบี้ยเลี้ยง4.2 จัดห้องพักอาศัย ห้องละ 1 คน (รวมค่าน้ำและค่าไฟ)  

 

 

  • 20,000 บาท / เดือน
  • จัดให้อาจารย์พักอาศัยที่เดียวกับนักศึกษา

**ที่มาของข้อมูล** ไม่ขอเปิดเผย เพื่อเป็นการปกป้องแหล่งข่าว

นี้คือสวัสดิการบางส่วนที่นายทุนได้ให้กับนักศึกษา อาจารย์ และสถานศึกษา ต่างๆ ที่เข้าร่วมทำ MOU เกี่ยวกับเรื่องนี้ และส่วนใหญ่ สถานศึกษาที่ร่วมมือกับบริษัทนั้น ส่วนมากจะอยู่ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่นใหญ่ เพราะเนื่องด้วยสภาพความจน หรือ ปัจจัย ในพื้นที่เหล่านั้นเอื้ออำนวยก่อการแสวงหา เงินเพื่อเป็นทุนในการเล่าเรียนของนักศึกษาเอง และ พ่อแม่ผู้ปกครองเองก็ตาม นั้นเป็นสาเหตุหลักๆ ของช่องว่างปัญหานี้

ทางสหพันธ์แรงงานฯ ได้มีการำหนดนโยบายเกี่ยวกับนักศึกษาฝึกงาน นี้ จะต้อทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอต่อ องค์กรแม่ คือ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เพื่อผลักให้ทางรัฐบาล มารับผิดชอบ หรือหามาตรการณ์ แนวทางการแก้ไขในเรื่องนี้โดยด่วน เพราะเยาวชนเหล่านี้ ถือว่าเป็นกำลังหลักของอนาคตแรงงานรของชาติ หากมีการสูญเสีย อวัยะในการทำงาน ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้

ส่วนสถานศึกษาที่ร่วมทำ MOU ในเรื่องนี้ ตอนนี้ ทางคณะกรรมการกำลังรวบรวมข้อมูลอยุ่ จึงไม่สามารถเปิดเผยเป็นลายลักษณ์ อักษร จึงอยากให้ทางแรงงานแต่ละภาคส่วนเร่งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ร่วมกันเพื่อ เป็นประโยชน์ให้กับ อนาคตของชาติ ในโอกาสหน้า

นักสื่อสารแรงงาน รายงานฯ