นักข่าวพลเมือง ตอน แรงงานเพื่อนบ้านกับสวัสดิการที่(ยัง)ไม่เท่าเทียม


snapshot10 snapshot14

เครือข่ายผู้หญิง และเครือข่ายแรงงานข้ามชาติภาคเหนือกว่า 200 คน ได้เดินรณรงค์จากอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ไปยังสวนบวกหาด จ.เขียงใหม่ ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในวันสตรีที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมด้านสวัสดิการและค่าจ้างที่มั่นคง

นางสาวรุจิสา แสนหวี แรงงานข้ามชาติ   “ ในฐานะผู้หญิงข้ามชาติที่ออกมาเคลื่อนในวันสตรีสากล ก็ต้องการสิทธิเท่าเทียมที่หมายถึงสิทธิการเข้าถึงสิทธิสุขภาพสิทธิประกันสังคมยังมีแรงงานหญิงบางคนบางพวก แม้นโยบายบอกว่าทุกคนเข้าได้แต่ในทางปฏิบัติยังละเมิดอยู่ยังไม่สามารถเข้าได้ เช่น การลาคลอดเป็นเรื่องใกล้ชิดผู้หญิง ที่ผู้หญิงจำเป็นต้องมีครอบครัว ต้องลาคลอดได้แต่เมื่อตั้งท้องก็ถูกเลิกจ้างแล้ว นี้เป็นความต้องการของผู้หญิงให้ได้รับการคุ้มด้านสิทธิมนุษยชนแรงงานข้ามชาติด้วย”

ปัจจุบันการทำงานของผู้หญิงแรงงานข้ามชาติยังได้รับการปฏิบัติที่แจกจ่างและไม่เท่าเทียมกับแรงงานชายอยู่แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดไว้แล้วก็ตามการทำงานของผู้หญิงแรงงานข้ามชาติยังได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างและไม่เท่าเทียมกับแรงงานชายอยู่แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดไว้แล้วก็ตาม ในการทำงานภาคบริการแม้ว่าเป็นแม่ หารายได้เลี้ยงดูครอบครัวก็ยังถูกตีตราไม่มองว่านี้คืออาชีพ

snapshot18 snapshot11

นางสาวรุจิสา แสนหวี แรงงานข้ามชาติ  “ค่าจ้างที่เป็นธรรมที่ผู้หญิงควรได้รับเท่าเทียมกับผู้ชาย เนื่องจากการทำงานในประเภทเดียวกันหน้าที่เหมือนกันแต่เมื่อได้ค่าจ้างไม่เท่าเทียมกัน เช่นผู้ชายได้ 300 ผู้หญิงไม่ได้ 300 ได้แค่ 200-250 บาทเป็นต้น ไม่มีใครได้ถึง 300สิ่งเหล่านี้แรงงานหญิงก็ต้องการได้รับเท่าเทียมกัน”

นางสาวมาลี แลเซอ มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์  “ ในฐานะพนักงานบริการ ไม่อยากให้อาชีพของเรา ไม่อยากให้ตีตราอยากให้สังคมมองเราว่าเป็นผู้หญิงคนหนึ่งเราก้ทำงานอาชีพหนึ่ง อาชีพนี้ก็เลี้ยงชีวิตได้”

ในวันสตรีสากลของทุกปี จะยังคงมีเสียงเรียกร้องของกลุ่มผู้หญิงแรงงานหลายเชื้อชาติ หลายชนเผ่า ที่ส่งเสียงบอกต่อสังคม ครอบครัว ถึงความไม่เท่าเทียมทางรายได้ สวัสดิการและการจ้างงานรวมถึงความไม่ยอมรับถึงความมีตัวตนที่มีคุณค่าของผู้หญิง พวกเธอได้ใช้การรณรงค์เพื่อแสดงถึงความต้องการ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม

นักข่าวพลเมือง เครือข่ายนักสื่อสารแรงงาน รายงาน