นักกฎหมายอินเดีย ชี้คนพิการยังเข้าไม่ถึงสิทธิแม้มีกฎหมายรองรับ

20130628_17204520130628_160527

เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน นำเสนอกลุ่มคนพิการอินเดียยังเข้าไม่ถึงสิทธิแม้มีกฎหมายรองรับ และความพิการของเด็กที่เกิดขึ้นจากการดื่มน้ำที่มีสารเคมีน้ำไม่สะอาด แม้ว่าเป็นสวัสดิการพื้นฐาน ตัวเลขคนพิการขณะนี้มีราว 70 ล้านคน แต่มีคนพิการที่เข้าถึงการจ้างงานเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น จากจำนวนคนพิการหูหนวก ร้อยละ 1.5 คนพิการทางกายจะไม่ได้รับการจ้างงาน

วันที่ 28 มิถุนายน 2556 ช่วงบ่ายผู้เข้าอบรมโครงการเสริมสร้างภาวะการนำเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ (นธส.) ได้ฟังเรื่องราวของแนวการทำงานกับคนพิการ นายราจีบ เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า กลุ่มคนพิการในเมืองนิวเดลีนั้นแม้แต่กฎหมายที่กำหนดให้มีการจ้างงานร้อยละ 3 นั้นก็ไม่มีการจ้าง เพราะการตีความด้านกฎหมาย เครือข่ายทำงานกับคนชายขอบ คนพิการ แรงงาน ผู้หญิง สิทธิการเข้าถึงอาหาร มีสำนักงานทำงานประเด็นอัตตลักษณ์ มีการอบรมเรื่องกฎหมายให้กับประชาชน โดยทำงานคู่ขนานกับเวิร์ดแบงก์

หลายคนคงทราบข่าวเรื่องที่ผู้หญิงถูกข่มขื่น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555 ส่งผลให้มีการออกมาชุมนุมประท้วงกันทั่วประเทศ แต่ข้อมูลที่ผู้หญิงพิการที่ถูกข่มขื่นไม่มีใครได้ยิน เขาถูกข่มขื่น ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกทำร้ายร่างกายที่บ้าน ตอนนี้กำลังเสนอให้มีการให้แก้ไขกฎหมายให้สามารถไปสอบสวนผู้หญิงพิการที่บ้านได้ด้วย เพื่อให้เขาสามารถเข้าถึงการคุ้มครองทางกฎหมาย การเกิดคดีความแบบนี้ต้องถือให้ผู้หญิงเป็นสูญกลาง

การกำหนดกฎหมายเรื่องการจ้างงานนั้นมีคนพิการที่เข้าถึงการจ้างงานเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น จากจำนวนคนพิการหูหนวก ร้อยละ 1.5 คนพิการทางกายจะไม่ได้รับการจ้างงาน และในหน่วยงานภาครัฐยังไม่มีการจ้างคนพิการเข้าทำงาน เช่นมหาวิทยาลัยที่มีถึง 82 แห่ง คนพิการขณะนี้มีราว 70 ล้านคน ส่วนเวิร์ดแบงก์สำรวจพบว่ามีคนพิการทั่วประเทศรวม 150 คน หากมีการจ้างงานคนพิการจะทำให้คนพิการอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี สำหรับคนพิการเราจะพบเขาได้ทุกๆสถานีรถไฟ แต่รัฐกับไม่เห็นว่ามีคนพิการความพิการยังเกิดขึ้นจากการที่น้ำดื่มไม่สะอาด มีการเรียกร้องให้มีการสร้างศูนย์เลี้ยงเด็กที่ปลอดยาเสพติด และมีนำที่สะอาด เพราะความพิการของเด็กที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการดื่มน้ำที่มีสารเคมีไม่สะอาด ฉะนั้นรัฐควรมีการจัดน้ำดื่มที่สะอาดให้กับประชาชนฟรี

20130628_16034620130628_160540

อีกกรณีที่ตนได้เข้าไปช่วยฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิคนพิการคือ การทำประกันชีวิตที่คนพิการต้องซื้อประกันชีวิตแพงกว่าคนปกติ สู้จนชนะเป็นบรรทัดฐานเกิดความเท่าเทียมคนปกติ กฎหมายที่คุ้มครอง และให้สิทธิคนพิการยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ การบังคับใช้ การเข้าไม่ถึงสิทธิ และการตีความกฎหมายที่ต่างกัน จึงจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอัยการนอกจากการดำเนินการฟ้องเพื่อให้ได้รับสิทธิ ด้วยการจัดเวทีให้อัยการนำเสนอคดีความที่เกิดขึ้น และการตัดสิน แล้วก็พยายามที่จะให้ความคิดเห็นทำความเข้าใจกับทางอัยการ ผู้พิพากษาศาล เพราะคนเหล่านี้คิดอย่างเดียวว่าเขาเก่งด้านกฎหมายกว่าคนอื่น ฉะนั้นต้องใช้การทำงานร่วมด้วยการเปิดเวทีแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งพยายามนำเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับความพิการ เพื่อให้คนพิการมีสิทธิ มีศักดิศรี เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่างๆที่รัฐต้องจัดให้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการจ่ายเบี้ยยังชีพ แต่ๆละรัฐจ่ายไม่เท่ากัน รัฐจ่ายให้ตามความพิการอยู่ที่เดือนละ 300-1,500 รูปี การทำงานของคนพิการมีการรวมตัวกันเป็นสมาคมคนพิการระดับชาติ สหพันธ์คนพิการซึ่งเคยมีการรวมคนพิการ 10,000 คนมาชุมนุมที่นิวส์เดลีได้ รัฐบาล และสังคมมองเรื่องปากเรื่องท้อง ที่ดินทำกินเป็นสำคัญ ยังไม่ค่อยมีใครสนใจเรื่องความพิการของคน

 

วาสนา ลำดี นักสื่อสารแรงงาน รายงาน