“ที่ดินที่ใดเป็นของรัฐที่ดินนั้นเป็นของเรา”

20130623_161214

คำว่าจัณฑาลทำให้ความเป็นคนหายไปถูกกระทำเหมือนไม่ใช่คน เป็นที่ต้องห้ามเหมือนไม่ใช่มนุษย์ เช่น ห้ามถูกเนื้อต้องตัว ห้ามพูด หรือคุย แม้กระทั้งการเดินยังไม่สามารถให้คนเดินทับรอยเท้า หรือเงาทับคนชนชั้นอื่นๆได้ แต่คนกลุ่มนี้ชุมชนดาลิด ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงทางชนชั้นเพื่อให้มีศักดิ์ศรีความเป็นคนด้วยการเปลี่ยนศาสนา เพื่อที่จะได้หลุดพันจากการเป็นชนชั้นจัณฑาล และยังมีคำขวัญเพื่อการมีที่อยู่อาศัยว่า “ที่ดินที่ใดเป็นของรัฐที่ดินนั้นเป็นของเรา”

P6230181

ที่ชุมชนดาลิด(จัณฑาล) วันที่ 23 มิถุนายน 2556 นายมาเกต ดาฮิวอร์  กล่าวว่าประเทศอินเดียนั้นมีความหลากหลายของประชากร เช่นมีความหลากหลายทางชาติพันธ์ มีภาษาที่ใช้ทางราชการมากกว่า 20 ภาษา มีความหลากหลายทางอัตตลักษณ์ อาหารก็มีความแตกต่างกัน ศาสนา ด้วยประชากรที่มีมากมายของคนอินเดีย มีชาวดาลิดถึง 250 ล้านคน ที่ไม่มีความเป็นหนึ่งเดียว

20130623_16195920130623_162247

ชาวดาลิดจะถูกกดขี่มานานด้วยถือว่า เป็นวรรณะจัณฑาล ดาลิดเป็นมนุษย์เช่นกลุ่มคนอื่นๆ แต่คำว่าจัณฑาลทำให้เป็นคนที่ต้องห้ามเหมือนไม่ใช่มนุษย์ เช่น ห้ามถูกเนื้อต้องตัว ห้ามพูด หรือคุย แม้กระทั้งการเดินยังไม่สามารถให้คนเดินทับรอยเท้าได้คือต้องเดินไปลบรอยเท้าตัวเองไป และห้ามเงาไปทับคนจันทานอื่นๆ สรุปว่าถูกมองว่าไม่ใช่คน รังเกลียด หากพูดคุยด้วยหรือจะไม่ดีเป็นเสนียด ทำอะไรก็ผิด ด้วยคนอินเดียจะมีการนับถือเรื่องชนชั้นวรรณะ ชนชั้นสูงเช่น พราหมณ์ กษัตร แพทย์ ศูทร เป็นต้น ชนชั้นล่างคือชาวดาลิดหรือชนชั้นจัณฑาล

20130623_16013920130623_160225

ตามความหมายทางศาสนา ฮินดูสอนว่า พระเจ้าได้ให้เราเกิดมาแตกต่างกันพระเจ้าคือ ผู้สร้างโลก จึงต้องมีความต่างทางชนชั้นวรรณะมีคนรวย มีคนจน มีการแบ่งแยกกดขี่ทางสีผิว เพศ และวรรณะ ซึ่งจะกดขี่กันมากกว่า 20 ชั้น แม้แต่ชนชั้นจัณฑาลเองก็มีการกดขี่ และเหยียดกันเองอีกเป็นชั้นๆ คือการกระทำต่อเด็ก ผู้หญิง ทำให้ไม่สามารถรวมตัวกันได้ ทุก18 วินาทีจะมีผู้หญิงที่เป็นชาวดาลิด และทุกๆ3นาทีจะมีคนดาลิดถูกทำร้าย ซึ่งคนดาลิดถือว่าดร.เอมเบกก้าเป็น ผู้มาปลดปล่อยคนจากความเป็นจัณฑาล และถูกกดขี่ ด้วยพาคนราว5แสนคน ที่เป็นชาวดาลิดเปลี่ยนศาสนาจากฮินดู มา เป็น ศาสนาพุทธก็เพื่อการหลุดพ้นจากระบบวรรณะ ดรเอมเบกก้าซึ่งมาจากชนชั้นจัณฑาลไม่มีสิทธิในการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งไม่ได้เรียนในห้องเรียนเหมือนคนอื่นๆ  จึงใช้วิธีแอบเรียนนอกห้อง หลังห้อง แต่ด้วยเป็นคนเรียนเก่งอาจารย์ที่สอนจึงได้เปลี่ยนวรรณะให้ด้วยการรับเป็นลูกบุญธรรม และส่งไปเรียนต่อในต่างประเทศจนกลับมา

P6230200

การต่อสู้ของดร.เอมเบกก้า เป็นการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยให้มนุษย์เป็นอิสระ จากการกดขี่ ด้วยระบบทางชนชั้น นำคนอินเดียในกลุ่มดาลิดต่อสู้เพื่อให้เกิดเสรีภาพทางสังคม เนื่องจากความหลากหลายของคนอินเดีย การที่คนฮินดูมีการเปลี่ยนศาสนา เพราะต้องการหลุดพ้นจากระบบวรรณะ ดร.เอมเบกก้า จากการที่เป็นคนที่เรียนเก่ง ครูซึ่งเห็นความสามารถจึงได้รับเป็นบุตรบุญธรรม และเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนวรรณะให้สูงขึ้นพร้อมทั้งส่งไปเรียนต่างประเทศจนจบทางด้านกฎหมาย และกลับมาช่วยท่านเนรู ในการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในการให้สิทธิความเท่าเทียมของผู้หญิงไว้แม้ไม่ผ่านมีการบังคับใช้ แต่ท่านก็ยังมีการวางรากฐานด้านการจัดสรรโควตาการเรียน การเมือง และข้าราชการ ซึ่งทำให้คนดาลิด หรือจัณฑาลได้สิทธิในการศึกษาจนได้เป็นแพทย์ นักธุรกิจ ข้าราชการ นักการเมือง และ ปัจจุบันคนดาลิดได้กลับมาช่วยกันทำงาน ด้านการพัฒนา การต่อสู้เพื่อสิทธิ เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของดร.เอมเบกก้าให้กับ ชาวดาลิด เพื่อช่วยกันเสริมพลัง และ ทำให้คนดาลิดได้เข้าถึงสวัสดิการทางสังคม ตามทีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

P6230228P6230249

แต่อย่างไรก็ตามยังมีคนอีกราวร้อยละ25 ที่ยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการพื้นฐาน และร้อยละ 36ที่ยังมีอาหารกินไม่เพียงพอ กลไกสำคัญขอ’การต่อสู้ของกลุ่มคนดาลิดคือการ ฐานเสียงทางการเมืองที่ทำให้นักการเมืองต้องให้ความสำคัญ เพราะคนดาลิดมีถึง 250 ล้านคน และคนดาลิดก็มีพรรคการเมือง และส่งตัวแทนลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นผู้หญิง และได้รับเลือกตั้งเข้าไปในสภาฯ ชื่อว่ามายา ด้วยนโยบายให้มีการยกเลิกระบบวรรณะในประเทศอินเดีย ซึ่งจากนโยบายดังกล่าวเป็นการรวมกลุ่มทุกกลุ่มที่เห็นด้วยมาร่วมสนับสนุน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะชาวดาลิด เท่านั้น การได้รับเลือกตั้งของของผู้หญิงที่ชื่อมายา เป็นการเปลี่ยนสถานภาพการเมืองของประเทศ เพราะว่า มายาเป็นชาวดาลิดและเป็นผู้หญิง  เนื่องจากผู้หญิงที่เป็นชาวดาลิดจะถูกกดขี่ เหยียดหยามดูถูกทั้งทางวรรณะ และความเป็นเพศ การที่ผู้หญิงได้รับเลือกตั้งหมายความว่าสังคมชาวอินเดียเริ่มที่จะยอมรับ เรื่องสิทธิ และความเท่าเทียมกันในวรรณะ และเพศมากขึ้น

20130623_16143220130623_105343

การที่ชาวดาลิดเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธมากขึ้น ซึ่งวัดได้จากที่ขณะนี้มีวัดพุทธในมุมไบ ราว200แห่ง ซึ่งได้มีการสร้างสัญลักษณ์ในการทักทายกันด้วยการยกมือไหว้ และกล่าวคำว่า “ใจบีม”

ในการรวมกลุ่มกันของชาวดาลิดที่เปลี่ยนศาสนานั้นได้มีการร่วมกันจัดสวัสดิการกันเองบ้างบางส่วน ด้วยการรวมกลุ่มกันออมทรัพย์ มีการจัดการอมรมให้ความรู้ การ จัดการศึกษา เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมาเป็นผู้นำกลุ่ม โดยหลักสูตรการอบด้านการพัฒนาจิตสำนึก คือ ศิล เป็นการฝึกตนให้เป็นคนดี  ภาวนา เป็นการทำให้ไม่ลุ่มหลงไปกับสิ่งมัวเมาภายนอก สร้างปัญหา เมื่อเกิดปัญหาทำให้สามารถแก้ไขปัญหา ทั้งหลักสูตรจะให้เยาวชน รู้จักการถือ ศิล ภาวนา ให้มีสมาธิ มีสติ และปัญญา เพื่อไม่ให้หลงใหลไปกับระบบทุนนิยมที่เข้ามาหลอกล่อให้เกิดกิเลส จะได้ไม่โกงกินบ้านเมือง เป็นต้น  ซึ่งมีเยาวชนผ่านหลักสูตรแล้วประมาณ 800 คน เมื่อผ่านแล้วต้องกลับไปทำงานกับชุมชน ซึ่งร้อยละ70 เป็นแรงงานภาคเกษตรที่ไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆจากรัฐ

 20130623_161329

ส่วนเรื่องเพศวิถีนั้น คนอินเดียไม่ค่อยมีการพูดถึงทำเหมือนไม่มีปัญหา หรือไม่ใช่ปัญหาใหญ่ มีการพูดถึงเพียง 2 เพศเท่านั้น คือเพศหญิง และเพศชาย แต่ต่อจากนี้คงมีการพูดถึงเรื่องของเพศที่สามมากขึ้นเพราะในการเคลื่อนไหวแต่ละครั้งนั้นกล่าวได้ว่า ผู้หญิงมีส่วนร่วมเป็นกำลังหลักในการเคลื่อนไหว ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องที่ดิน เราใช้การปฏิวัติเงียบด้วยการใช้คะแนนเสียงเลือกตั้ง และชูคำขวัญที่ว่า “ที่ดินที่ใดเป็นของรัฐที่ดินนั้นเป็นของเรา”

ต่อมาได้ลงพื้นที่ชุมชนชาวดาลิด 2 แห่งเพื่อดูความเป็นอยู่ ซึ่งได้มีการยึดที่ดินของรัฐมาปลูกที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นแนวคิดในการต่อสู้เรื่องที่ดินและที่อยู่อาศัย ผลคือบางส่วนรัฐบาลได้เข้ามาจัดสรรและปลูกอาคารเพื่อเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่  เนื่องจากการที่เป็นชุมชนใกล้กับที่คนรวย ดารา อาศัยอยู่ และเพื่อการจัดระบบมีการขึ้นทะเบียนเข้าอยู่อาศัย จัดเก็บภาษี การจัด และเก็บค่าสาธารณูประโภคพื้นฐาน น้ำ ไฟฟ้า  โดยห้ามให้มีการซื้อขายสิทธิที่อยู่อาศัย

วาสนา ลำดี นักสื่อสารแรงงาน รายงาน