ทำอย่างไรกับบริษัทแม่แต่ไม่ใช่นายจ้าง

 
ทำอย่างไรกับบริษัทแม่แต่ไม่ใช่นายจ้าง
 
โดย วิเชียร ตนุมาตร
เลขาธิการสหภาพแรงงานธุรกิจโรงแรมลากูน่า บีช รีสอร์ท ภูเก็ต
Tanumart.esarn@gmail.com
 
   หลายคนคงทำงานเป็นลูกจ้างกับบริษัทใหญ่ๆและมีกิจการหลายกิจการหรือเปิดหลายสาขามีการจัดการระบบจัดการที่บริษัทใหญ่ไม่ว่าจะรับสมัครพนักงานแล้วส่งลงสาขาหรือกำหนดค่าจ้างหรือสวัสดิการต่างๆก็เป็นนโยบายจากบริษัทใหญ่หรือที่ทั่วไปเรียกว่า”บริษัทแม่” นั้นเอง การดำเนินกิจการของนายจ้างเป็นอย่างนี้คงจะไม่เกิดการเขียนบอกเล่าให้พี่น้องได้รับทราบหรอกเพราะหลายท่านรู้ดีอยู่แล้วเกี่ยวกับระบบต่างๆของการดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ว่าจะเป็นการยื่นข้อเรียกร้อง การเจรจาต่อรอง การขอพูดคุยขอเปลี่ยนแปลงสวัสดิการหรือเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยตรงกับบริษัทได้เลยใช่ไหมครับ  
 
   แต่มันมีอีกแบบหนึ่งที่มีการลงทุนโดยเฉพาะทุนข้ามชาติคือคนต่างชาติขนเงินมาลงทุนเปิดกิจการในประเทศเราหลายๆแห่งทั่วประเทศโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมและบริการพอสร้างเสร็จก็ว่าจ้างให้บริษัทอื่นเข้ามาบริหารจัดการหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Chains เข้ามาบริหารจัดการแต่ยังคงมีส่วนร่วมโดยตั้งบริษัทขึ้นมาควบคุมดูแลกิจการทั้งหมดอีกชั้นหนึ่ง แล้วมีการออกระเบียบข้อกำหนดการจัดการกลางครอบอีกรอบหรือที่เรียกว่า”บริษัทแม่ “นั้นเอง
 
   ซึ่งเรื่องหลักที่ดูแลไว้คือ ค่าจ้างและสวัสดิการทั้งหมดแล้วเรียกบริษัท Chains ที่ว่าจ้างเข้ามาบริหารว่า”บริษัทในเครือ” ทั้งๆที่กิจการที่จ้าง Chain เข้ามาบริหารเขาก็มีระเบียบ ข้อบังคับในการทำงานอยู่แล้ว แต่จะไม่สามารถกำหนดค่าจ้างและสวัสดิการเองได้เลยมีอย่างหนึ่งที่ตัดสินใจเองได้ก็คือสัญญาการจ้างงานและการเลิกจ้างเท่านั้นหรือเป็น”นายจ้าง”นั้นเอง  โดยที่”บริษัทแม่”ไม่ใช้นายจ้างแต่จะมีบทบาทมากเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่างๆ
 
    ปัญหาอาจไม่เกิดกับกับกิจการที่ลูกจ้างไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการหรือ สภาพการจ้าง นายจ้างให้เท่าไรก็เอาเท่านั้น  ทำงานไปวันๆไม่รู้สิทธิพึงมีพึงได้ของตัวเองเลย  การเขียนเรื่องนี้ไม่ได้ไปว่าลูกจ้างของกิจการใดๆทั้งสิ้นผู้เขียนต้องขออภัยเป็นอย่างสูงถ้าการเขียนบทความนี้ไปกระทบกับบางกิจการ ลูกจ้างบางท่านหรือบางกลุ่ม แต่ผู้เขียนจะสะท้อนให้เห็นว่าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เขียนควรจะจัดการอย่างไร
 
    ขอเริ่มเรื่องเลยครับมีบริษัททุนข้ามชาติจากประเทศสิงคโปร์แห่งหนึ่งได้เข้ามาลงทุนสร้างธุรกิจโรงแรมและบริการในจังหวัดภูเก็ตและสร้างโรงแรมจำนวน 5แห่งอยู่บริเวณเดียวกันในจังหวัดและได้จ้างบริษัท Chains เข้าบริหารแห่งละบริษัท และสร้างบริษัทสนับสนุนอีก 3 แห่ง คือ
  1. บริษัทดูแลในเรื่องการบริการขนส่งภายในทั้งรถ, เรือและดูแลเรื่องทัศนียภาพรอบๆโครงการ
  2. บริษัทดูแลเรื่องการชักรีด
  3. บริษัทดูแลเรื่องสนามกอล์ฟ
    ทั้งหมดรวมแล้ว 8 บริษัท เมื่อ พ.ศ. 2543 ลูกจ้างของบริษัทที่ผู้เขียนทำงานอยู่ได้รวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นและองค์กรผู้เขียนเองเป็นแห่งแรกในกลุ่มบริษัทในเครือและต่อมาก็มีการตั้งสหภาพมาเรื่อยๆจนครบทั้งหมด 8บริษัท ตอนนั้นการบริหารจัดการเป็นของแต่บริษัทบริหารจัดการเองยังไม่มีการตั้ง "บริษัทแม่" มาดูแลเราจึงมีการดำเนินกิจกรรมสหภาพแรงงานกับนายจ้างตัวจริง มาชักระยะหนึ่ง จนเมื่อ 4ปีที่ผ่านมาก็ได้มีการตั้งบริษัทขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งมีหน้าที่บริหารจัดการดูแลบริษัท ทั้ง 8 แห่งโดยเรียกตัวเองว่า”บริษัทแม่”แต่ไม่ใช้นายจ้างของลูกจ้างในแต่ละบริษัท และเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดสวัสดิการ สภาพการจ้างพนักงานทั้งหมดและเรียกบริษัททั้งหมดว่าบริษัทในเครือ
 
    ดังนั้นในระยะหลังนี้การดำเนินกิจกรรมของสหภาพฯของแต่ละแห่งจึงเป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะนายจ้างตัวจริงก็ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเพราะนายจ้างตัวจริงก็กลายเป็นลูกจ้างเขาอีกทีหนึ่งด้วยเหตุผลที่ว่าผู้บริหารไม่ได้มาจากบริษัท Chains ของแต่ละแห่งส่งเข้ามาบริหาร แต่เป็นบริษัทแม่เป็นผู้คัดเลือกให้เข้ามาบริหารจัดการภายไต้อำนาจของบริษัทแม่เท่านั้น ฉะนั้นการทำงานสหภาพจึงเป็นการทำงานกับลูกจ้างด้วยกันเองแต่คนละหน้าที่  สหภาพฯมีการตัดสินใจได้แต่นายจ้างตัวจริงกลับไม่มีอำนาจในการตัดสินใจได้เลยจึงเป็นเหตุให้เกิดเรื่องและคดีความกันเกิดขึ้นเพราะสหภาพฯนำข้อเสนอไปคุยกับ”บริษัทแม่” ที่ไม่ใช่นายจ้าง ในเรื่องการปรับโบนัส และปรับขึ้งเงินเดือน ในปี2551 แต่บริษัทแม่ไม่ยอมที่จะปรับให้แต่อย่างใดจะจ่ายตามที่ให้แล้วเท่านั้น (ให้น้อยกว่าทุกปีที่เคยจ่ายและไม่ปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี) จึงสร้างความไม่พอใจให้กับพนักงานจึงมีเหตุการณ์เกิดขึ้นโดยที่พนักงานทั้ง 8แห่งไปรวมตัวประท้วง”บริษัทแม่” แต่หลังจากจบ
 
    เหตุการณ์บริษัทแม่ให้บริษัทในเครือ(นายจ้างตัวจริง)ฟ้องร้องต่อศาลขอเลิกจ้าง ,คดีอาญา และเรียกค่าเสียหายหลายสิบล้านกับกรรมการลูกจ้างว่าละเมิด พรบ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และเลิกจ้างพนักงานที่คิดว่าเป็นแกนนำทันที 8 คน  นี้เป็นประเด็นแรกหรือประเด็นให้คิดหรือแสดงความคิดเห็นหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อตามตามเมลล์ข้างบนได้ครับหรือรอพบกันฉบับต่อไป