คึกคัก แรงงานร่วมงานสืบสานประวัติศาสตร์ จรรโลงพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

เสวนาหัวข้อ “บทบาทขบวนการแรงงานในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535” ย้ำต้องกลับมาทำให้ขบวนการแรงงาน และภาคประชาสังคมในการที่จะสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองเพื่อให้เกิดระบบประชาธิปไตย หลังผ่านช่วงเวลารัฐประหาร

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2561 ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ได้จัดงาน “สืบสานประวัติศาสตร์ จรรโลงพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย โดยเชิญชวนผู้ใช้แรงงาน และแนวร่วมพันธ์มิตรกลุ่มต่างๆ เป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าหารายได้บำรุงพิพิธภัณฑ์ฯ โดยมีการจัดพิธีกรรมทำบุญเลี้ยงพระ รวมถึงร่วมกล่าวรำลึกถึงอดีตผู้นำแรงงาน และปูชนียบุคคลด้านแรงงานผู้วายชน ด้วย

นายทวีป กาญจนวงศ์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์ฯ กล่าวว่า เป็นการจัดงานเพื่อระดมทุนหารายได้ และทำบุญรำลึกถึงผู้นำแรงงาน และผู้มีคุณูปการที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งได้ต่อสู้เพื่อผู้ใช้แรงงาน และสังคมจนเป็นรากฐานด้านสวัสดิการ กฎหมายต่างๆไว้มากมาย ซึ่งวันนี้ก็มีญาติมิตร สหายของท่านทั้งหลายมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นบุตร ธิดา พี่น้อง ภรรยา เช่น บุตรสาวของคุณศุภชัย ศรีสติ บุตร ธิดา คุณทนงโพธิอ่าน คุณปิยะเชษฐ์ แคล้วคลาด คุณจรัญ กล่อมขุนทด และน้องสาว คุณวนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ เป็นต้น ยังมีผู้นำแรงงาน นักวิชาการอีกหลายท่านที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

นางสติเน่อ คลัพเพอร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท กล่าวว่า ทางมูลนิธิฯมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานร่วมกันมานาน และเห็นความเติบโตของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทยมาจนถึง 25 ปี ดีใจที่ผู้ใช้แรงงานทุกท่านช่วยกันรักษาสร้างให้องค์กรแห่งนี้มีความเข้มแข็ง

ด้วยประวัติศาสตร์แรงงานไทยไม่ได้มีในหนังสือเรียนถูกจัดให้ในการศึกษา การมีพิพิธภัณฑ์แรงงานเกิดขึ้นเพื่อให้ความรู้ต่อคุณค่าของผู้ใช้แรงงานต่อสังคม และผู้ใช้แรงงาน หรือขบวนการแรงงานได้เรียนรู้รากเหง้าความเป็นมาทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงาน จากรุ่นสู่รุ่น

จากนั้นครอบครัว และญาติของผู้นำแรงงาน และปูชนียบุคคลด้านแรงงานผู้วายชนได้ขึ้นกล่าวขอบคุณถึงการจัดงานที่ยังคงให้ความรำลักถึงและมีการทำบุญทุกปี และขอบคุณองค์กรแรงงานที่ร่วมกันสืบสานเจตนารมณ์ของผู้วายชน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำแรงงาน นักวิชาการ นักจัดตั้ง ทนายความ ฯลฯ ที่เสียชีวิตไปแล้วและยังคงต้องการที่จะเห็นสิทธิ เสรีภาพ สวัสดิการ การกินดีอยู่ดีของผู้คนชนชั้นผู้ใช้แรงงานในสังคม

จากนั้นทางผู้จัดได้เชิญ นางสุนี ไชยรส ผู้อำนวยการ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต, นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการ และนักประวัติศาสตร์แรงงาน ,นายปรุง ดีสี ที่ปรึกษาสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย,นายไพบูลย์ แก้วเพทาย อดีตผู้นำแรงงาน, นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)และเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.), นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานสภายานยนต์แห่งประเทศไทย,นายลาเร่ อยู่เป็นสุข สหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย (tam), นายภูภาร สมาทา ประธานสหพันธ์แรงงานโตโยต้า , นายสุรัตน์ จันทร์วันเพ็ญ สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย, นายองอาจ เชนช่วยญาติ เครือข่ายสหภาพแรงงานธนาคารและสถาบันการเงิน, นายเอกพร รักความสุข ที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย, และผู้นำแรงงานอีกหลายท่าน

จากนั้นได้มีการจัดเสวนาหัวข้อ บทบาทขบวนการแรงงานในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 โดย รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย วิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอว่า เหตุการณ์ปัจจุบันกับอดีตเดือนพฤษภา 2535 นั้นไม่ได้ต่างกัน เมื่อเกิดจากการรัฐประหารเกิดขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ก่อนพฤษภาทมิฬ 2535 และมีแนวโน้มในการที่จะสืบทอดอำนาจเผด็จการ

การเคลื่อนไหวมวลชนขนาดใหญ่แกนนำตอนนั้น หลังเหตุการณ์เราเรียกว่า ม็อบเป็นการชุมนุมของชนชั้นกลางที่มีทั้งนักการเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน แรงงานก็มี หลังผ่านเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยทำให้ได้รับชัยชนะมาระดับหนึ่งที่ทำให้เผด็จการ 2534หมดอำนาจไปจนมาถึง รัฐประหาร 2549 อีกครั้ง การปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอยู่มาได้ 14 ปี

ช่วงการรัฐประหารยุคเป็นช่วงรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 23ก.พ.34 ซึ่งเป็นรัฐบาลพลเรือนโดยข้ออ้างถึง หนึ่งรัฐบาลมีการคอรัปชั่นมาก ซึ่งก็คล้ายกับข้ออ้างปี 2549 และปี2557 นอกจากนี้ยังมีเรื่องข้อกล่าวหาอีกหลายข้อกล่าวหา คณะรัฐประหาร เรียกว่าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ซึ่งได้แต่งตั้งให้นายอนันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี นายทหารที่ยึดอำนาจครั้งนั้นก็เป็นผู้บังคับบัญชาทหาร โยมีพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ส่วนพลอากาศเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการกองทัพบก และพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ และมีผู้บัญชาการทหารเรือด้วย ซึ่งในยุคนั้นช่วงแรกสังคมไทยก็มีความชื่นชมด้วยรัฐบาลชาติชายมีการคอรัปชั่นมาก แต่ก็หมดไปอย่างรวดเร็ว จุดเปลี่ยนของแรงงานคือการยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และมีเรื่องการสืบทอดอำนาจของรสช.ที่เกิดขึ้น หลังจากที่มีการเลือกตั้ง ปี2535แล้วพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งเสนอให้พลอากาศเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ชื่นชมก็เป็นการต่อต้าน

ซึ่งการต่อต้านของขบวนการแรงงาน ตอนนั้นมีบทบาทอย่างไร หลังจากที่มีการยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ให้จัดตั้งเป็นสมาคมรัฐวิสาหกิจแทน ซึ่งความหมายของสหภาพแรงงาน กับสมาคมมีความแตกต่างกัน ภาคเอกขน ไม่ได้ถูกยุบเลิกสหภาพแรงงาน แต่ถูกจำกัดสิทธิ รสช.ออกประกาศฉบับที่ 54 ว่า เรื่องจำกัดสิทธิการนัดหยุดงานของภาคเอกชน หากโรงงานไหนต้องการนัดหยุดงานต้องให้สมาชิกมีการลงคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง และที่ปรึกษาสหภาพแรงงานต้องมีการจดทะเบียน ด้วยที่ปรึกษามีบทบาทในการให้คำที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ซึ่งถือเป็นการกีดกันนักวิชาการ นักกฎหมายที่จะเข้าไปเป็นที่ปรึกษา ผลจากการคัดค้านเคลื่อนไหวทำให้นายทนงโพธิอ่านหายตัวไปวันที่ 19 มิถุนายน 2534 หลังการยึดอำนาจไม่นานด้วยคุณทนงแสดงตัวชัดเจนในการคัดค้านการรัฐประหารและการยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ

เหตุการณที่น่าสนใจคือในขบวนการแรงงานเกิดเป็น 2 ขั้วขึ้นมาในการเคลื่อนไหว คือมีฝ่ายประชาธิปไตย และฝ่ายอนุรักษ์นิยม ตอนนั้นสภาองค์การลูกจ้างมี 6 แห่ง ประกอบด้วยสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างแรงงานเสรีแห่งชาติ สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างสภาลูกจ้างแห่งชาติ ส่วนองค์กรแรงงานอื่น มีกลุ่มแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ณ ขณะนั้นมี 25 สหภาพแรงงาน ซึ่งตอนนี้เป็นสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ส่วนกลุ่มสหภาพแรงงานตอนนั้นมี 3 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กลุ่มสหภาพแรงงานย่านพระประแดงและสุขสวัสดิ์ ในช่วงนั้นรัฐบาลเองก็พยายามดึงผู้นำแรงงานเข้าไปเป็นพวก ในยุคนั้นกลไกที่ใช้คือการแต่งตั้งให้มีตำแหน่งถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก 18 มีนาตั้งให้เป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีผู้นำแรงงาน 4 คนที่ได้รับการแต่งตั้ง ประกอบด้วย นายพานิชย์ เจริญเผ่า นายวิชัย โถสุวรรณจินดา นายเอกชัย เอกหาญกมล นายอรรถ ศรีอารย์ ช่วงที่สองก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มีการเลือกตั้งก็มีการแต่งตั้งผู้นำแรงงานเป็นสมาชิกวุฒสภา ก็มีนายพานิชย์ เจริญเผ่านายวิชัย โถสุวรรณจินดานายเอกชัย เอกหาญกมล นายอนุศักดิ์ บุญยะประนัย นายมนัส นิยมทรัพย์มณี ที่มาจากการแต่งตั้ง ในปัจจุบันอาจดูเหมือนไม่มี ซึ่งอาจเป็นเพราะรัฐบาลชุดนี้ไม่ค่อยเห็นบทบาท

ตอนนั้นฝ่ายประชาธิปไตยหลังรัฐประหาร ตอนนี้มีการตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.)ขึ้นมาทางขบวนการแรงงานได้ส่งนายบุญเทียน ค้ำชู เข้าไปเป็นกรรมการในครป. เพื่อเคลื่อนไหวเรื่องรัฐธรรมนูญโดยมีการเดินสายทั่วประเทศ ในส่วนของรัฐวิสาหกิจยังมีการก่อตั้งสมาพันธ์แรงงานเพื่อประชาธิปไตยขึ้นมาขับเคลื่อนกับแรงงานในยุคนั้นหลังรัฐประหาร 2534 สิ่งที่ทำตอนนั้น คือ มีการต่อต้านการสืบทอดอำนาจรสช. นำโดยนายนิคม เต็งใหญ่ มีการออกแถลงการณ์คัดค้านการนำคนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรี ในตอนนั้น ครป. และกลุ่มของแรงงานได้มีการชุมนุมประท้วงที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และพลตรีจำลอง ศรีเมือง อดข้าวประท้วง มีนายสุชิน เพ็ชรรอด ผู้นำแรงงานร่วมอดข้าวด้วย และมีการจัดตั้งสมาพันธ์ประชาธิปไตย มีนายสมศักดิ์ โกสัยสุข และนายพงษ์ศักด์ เปล่งแสง มีการประกาศนัดชุมนุมใหญ่ และมีสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย และสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย เข้ามาร่วมเคลื่อนไหวโดยมีนายประเทือง แสงสังข์ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นชินโชติ แสงสังข์ เป็นแกนนำ

ฝ่ายอนุรักษ์นิยม กลุ่มนี้ ตอนที่มีพรรคการเมือง 5 พรรคสนับสนุนให้พลเอกสุจินดา คราประยูรเป็นนายกมีผู้นำแรงงานจากสภาองค์การลูกจ้าง 3 แห่ง นำดอกไม้ไปแสดงความยินดีกับพลเอกสุจินดาที่บ้าน ผู้นำ 4 คนที่ไปยื่น คนแรก นายอนุศักดิ์ บุญยะประนัย นายพนัส ไทยล้วน นายชิน ทับพลี และสุดท้ายนายอัมพร บรรดาศักดิ์
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬเริ่มตั้งแต่วันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 แต่มีการเคลื่อนไหวและถูกปราบปรามกันอย่างหนักเป็นเวลา 3 วัน ขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยมีการเคลื่อนไหว ทางคุณชิน ทับพลีได้มีการจัดคอนเสิร์ต ที่สนามกีฬากองทัพบก วันที่ 17 พฤษภา เพื่อดึงมวลชน ไม่ให้เข้าร่วมชุมนุมใหญ่ที่สนามหลวง ซึ่งในวันดังกล่าวมีการที่รัฐบาลสั่งยิงประชาชนที่ชุมนุมอยู่ หลังจากนั้นทางสุจินดายอมลาออกแต่ทางฝ่ายอนุรักษ์ไม่ยอมหยุด ทางชิน ทับพลี ได้แถลงข่าวเพื่อให้พรรคการเมือง 5 พรรคจัดตั้งรัฐบาลใหม่อีกครั้ง และวันที่ 2 มิถุนายน 2535 ทางฝ่ายอนุรักษ์ยังนำคนขับมอเตอร์ไซค์กว่า 200 คันมาชุมนุม ซึ่งในส่วนของนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ขณะนั้นเป็นประธานรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร โดยมีการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีมา แต่ว่านายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ไม่ได้เสนอตามนั้นแต่ได้เสนอให้นายอนันต์ ปันยารชุณ มาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งกลับมาทำหน้าที่ในการยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตอนนั้นคนที่กำลังเคลื่อนไหวก็ไปชุมนุมรอฟังกันอยู่ แต่เมื่อมีการอ่านชื่อว่าให้นายอนันต์ ไม่ใช่พลเอกสมบุญ ระหงส์ ที่มีการเตรียมการอยู่ไม่ได้เป็นไปตามที่มีข่าวกัน

โดยรวมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจนคนบาดเจ็บล้มตายไปจำนวนมาก ผลที่ได้กลับมาคือ มีการเลือกตั้งใหม่ ขับไล่เผด็จการ มีการเรียกพรรคที่สนับสนุนพลเอกสุจินดาทั้ง 5 พรรคเป็นพรรคมาร พรรคฝ่ายค้านที่ไม่ได้ให้การสนับสนุนเป็นพรรคเทพ ซึ่งก็ถูกนำมาใช้ในการรณรงค์หาเสียง ส่วนประชาชน และขบวนการแรงงานได้ คือ เหตุการณ์นั้นทำให้เข้าใจระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น เพราะว่า มีการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ตอนนั้นสถานบันทหารมีบทบาทน้อยลงมาก ตกต่ำ สถาบันทหารถอยหลังลงจนปี 2549 กลับมาอีก และหลังพฤษภา35 ก็มีการร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่มีการกล่าวถึงว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิ เสรีภาพ และความเป็นประชาธิปไตยอย่างมากกับประชาชนฉบับหนึ่ง

นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการแรงงาน และนักประวัติศาสตร์แรงงาน กล่าวว่า หลังการรัฐประหารพฤษภา 35 นั้นจากประเด็นการแปรรูป และยุบวิสาหกิจทำให้เกิดการลุกฮือขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิการรวมตัวของกลุ่มแรงงานที่มีการยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และการลุกขึ้นมาขับเคลื่อนของนายทนง โพธิอ่าน ผู้นำแรงงานที่ออกมาต้านเด็จการที่มีบทบาทที่ชัดเจนมาก

เหตุการณ์พฤษภา ตอนนี้นอกจากทำงานในองค์กรมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ยังทำรายการทีวีพฤหัสสัญจรด้วยการต่อสู้นั้นจึงถูกบันทึกไว้ และยังมีการสร้างอนุสาวรีย์ที่หน้าพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่เป็นการผลักวงล้อประวัติศาสตร์ทับรถถังทหารเพื่อให้เห็นถึงบทบาทขบวนการแรงงานต่อระบอบประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการทหาร และยังมีหนังสือที่เขียนเรื่องพฤษภา35 ส่วนของห้องที่ 2ในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ที่มีร่องรอยขวานจามประตูเพื่อเข้าไปหาเอกสารสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟเพื่อที่จะจับกุมผู้นำแรงงาน การที่ทหารที่ทำรัฐประหารและอยู่ได้ถึง 4 ปีนี้ ความจริงไม่มีประเทศใดรับได้ แต่ว่าวันนี้รัฐบาลรัฐประหารยังอยู่ได้อาจเป็นเพราะขบวนการแรงงานยังไม่เข้มแข็งพอในการที่จะลุกขึ้นสู้

คิดว่า“เป็นเวทีที่ได้พูดคุยกัน ครั้งซับซ้อนมากในความคิดที่หลากหลาย จะบังคับให้คิดเหมือนกันคงไม่ได้ แต่วันนี้ต้องกลับมาคุยกัน การที่จะมาคยกับเพื่อให้ออกจากกระบวนการครอบงำคงไม่ง่ายแต่ก็ต้องทำ การที่ต้องกลับมาทำให้ขบวนการแรงงาน และภาคประชาสังคมในการที่จะสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองเพื่อให้เกิดระบบประชาธิปไตย ซึ่งการเมืองกับแรงงานก็มีความสำคัญ ความสำเร็จของพรรคการเมืองของแรงงานต้องมีการสร้างความเข้มแข็ง การเรียงร้อยแรงงานให้เป็นเอกภาพ พรรคแรงงานต้องใช้สมาชิกเป็นฐาน ต่างกับพรรคทุนที่ใช้เงินในการสร้างพรรคการเมือง วันนี้อาจรีเซ็ทไม่ได้อย่างมือถือ แต่เราจะกลับมาคุยกันแบบพี่น้องหลังจากที่ถอยห่างออกไปเพื่อร่วมกันขบคิดอีกพอสมควร หัวใจยังอยู่ที่การจัดตั้งแรงงานให้เขามีจิตสำนึกแบบแรงงาน อย่างฝรั่งเศสเขามีพรรคแรงงานของตัวเอง และแรงงานเป็นสมาชิกพรรคในการขับเคลื่อน”

จะไปต่ออย่างไร เมื่อช่วงพฤษภา35 มาขบวนการแรงงานมีความอ่อนแอลง ซึ่งหากมีพรรคการเมืองที่ประกาศตัวเป็นพรรคแรงงาน ก็ต้องเลือกพรรคนั้น หรือว่าพรรคการเมืองที่นำนโยบายของแรงงานไปทำก็ดีอยู่ แต่ว่า แรงงานต้องเลือกพรรคแรงงานด้วยกัน

ด้านนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกล่าวว่า การเมืองไทยยังอยู่ในการที่รัฐทหารที่คุกคามครอบครองตลอด ในช่วงพฤาภาทมิฬที่เกิดขึ้นนั้นทหารเองก็จับจ้องในการที่จะรัฐประหารตลอด และช่วงปี 2534 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจถูกยุบไป และมีการถกเถียงกันเรื่องตั้งสมาคมแรงงานหรือไม่ตั้ง ตามกฎหมายรสช. และมีการสรุปว่าให้มีกรตั้งขึ้นแม้ว่าจะมีอุกกลุ่มบอกว่าไม่ควรตั้งเพราะเป็นพรบ.ทหาร เป็นต้น

การชุมนุมของภาคประชาชนมีการโกนหัวประท้วงกันที่หน้ารัฐสภา และก็เคลื่อนไปท้องสนามหลวงด้วยคนมาชุมนุมมากขึ้น และพลตรีจำลองประกาศอดอาหาร แรงงานก็มีการออกไป ประชาสัมพันธ์กัน ซึ่งมีการแบ่งกันขับเคลื่อนซึ่งความรุนแรงเกิดขึ้นตอนเย็น ด้วยความมืดมีการยิงกันเกิดการบาดเจ็บล้มตายของประชาชน ซึ่งในความจริงตอนนี้คือคนที่ออกมาเคลื่อนไหวจำนวนมากเป็นคนที่รักประชาธิปไตย มาแบบต่างคนต่างมา ขบวนการแรงงานมีการจัดตั้งบ้าง มาช่วงเย็นกลับเช้า มีการกลับไปทำงานเข้ากะกันบ้าง ซึ่งการขับเคลื่อนของขบวนการทางการเมืองทุกครั้งไม่ว่าจะอยู่กลุ่มไหนก็เคยขับเคลื่อนอยู่ในขบวนเดียวกันมาก่อนทั้งนั้น

“ต้องรู้ว่า ใครมีอำนาจ ผู้ใช้แรงงานก็ไม่มีพลังอำนาจเพียงพอในการที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง หากเข้มแข็ง แรงงานอาจเป็นเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ ตนไม่ได้คิดว่า ประชาธิปไตยต้องเลือกตั้งอย่างเดียว หากแรงงานปฏิวัติ ซึ่งผู้นำแรงงานก็อยู่ในเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งพฤษภา 35 และพฤษภา 57 ในการต่อสู้ตลอด และการขับเคลื่อนการต่อสู้ก็มีการผลักดัน หรือดึงคนทุกกลุ่มเข้าร่วม ซึ่งการเคลื่อนไหวทำตลอด ทั้งล่าสุดก็เคลื่อนเรื่องการจ้างงานไม่เป็นธรรมของลูกจ้างภาครัฐ ตัวแทนแรงงานที่ลงสมัครเลือกตั้งไม่ได้รับเลือกตั้งเพราะเราไม่สามารถอธิบายให้คนจำนวนมากที่เป็นแรงงานให้เข้าใจได้ การเคลื่อนไหวหัวไปหางไม่ส่าย ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องช่วยกันทำความเข้าใจในความเป็นจริง

ในวันนี้ ใครคือสัตรูของชนชั้นแรงงาน หลักรองเป็นอย่างไร จะจัดการตัวเองอย่างไร แม้ว่า จะมีพรรคการเมืองก็ต้องทำงานร่วมกับขบวน เพื่อการตรวจสอบพรรค กลุ่มทุนที่ออกกฎหมายมาควบคุมแรงงาน หากขบวนไม่เข้มแข็งเราก็ไม่สามารถที่จะสร้างการเมืองของแรงงานได้”

นายประสิทธิ์ ค่ายกนกวงศ์ อดีตผู้นำแรงงานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าฝ่ายผลิต กล่าวว่า หลังจากที่มีการครอบงำกันมานาน และเข้าสู่ยุคของชาติชาย ชุนหะวัณ ก็ทำให้แรงงานได้ต่อสู้เรื่องประกันสังคมได้สำเร็จในการได้มีสวัสดิการดูแลแรงงาน และนโยบายแบบบุฟเฟ่คาบิเนทและการเปลี่ยนสนามรบเป็นตลาดการค้าขาย ก็ทำให้เกิดปัญหาผลกระทบกับอำนาจเก่าจึงมีการรัฐประหาร พลเอกสุจินดา ก็เสียสัตย์เพื่อชาติ ซึ่งปัจจุบันก็มีการเสียสัตย์เพื่อชาติอยู่มา 4 ปีแล้ว

ต่อมามีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ สมัยของนายกอนันต์ ปันยารชุณ และมีการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ว่าประชาชนเห็นว่ารัฐธรรมนูญใหม่ ไม่สอดคล้องต่อความเป็นประชาธิปไตย สมาพันธ์ประชาธิปไตยซึ่งก็มีสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้มีการเรียกร้องประชาธิปไตย และนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง การชุมนุมก็มีการปราบปรามกันวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 ทำให้เกิดความรุนแรง และวันที่ 21 พฤษภาคม ในหลวงก็ประกาศให้ยุติ ในวันที่ 23 พฤษภาคม ก็จบเหมือนไม่เกิดอะไร ซึ้งวันนี้กระแสของการพูดถึงนายกรัฐมนตรีคนนอก หรือว่าคนในการเลือกตั้งก็มาอีกครั้งในยุคนี้

ในช่วงปี 2535 กระแสพรคการเมืองก็เข้ามามีส่วนด้วย หลังจากที่มีการบอกว่านายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อนเพราะว่า ทั้งพรรคการเมือง และประชาชน แรงงานเห็นว่าต้องมาจากการเลือกตั้ง สิ่งที่ขบวนการแรงงานเรียนรู้คือว่า สิทธิเสรีภาพของแรงงนที่ต่อสู้ภายใต้รัฐบาลเลือกตั้ง จะเคลื่อนไหวได้ดีกว่า จึงคิดว่าตอนนี้ต้องเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด ให้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ทำตามรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งก่อน ขบวนการแรงงานต้องร่วมกันพูดเป็นเสียงเดียวกันก่อน

ประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวให้เกิดประชาธิปไตยขบวนการแรงงานร่วมสู้มาตั้งแต่ 2475 แล้วถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่า เราจะร่วมกับพรรคการเมืองสร้างเขตปลอดทหาร หากมีการรัฐประหารขบวนการแรงงานต้องออกมาขับเคลื่อน ด้วยต้องการที่จะพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในอนาคต

นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ช่วงพฤษภา35 นั้นขบวนการแรงงานทำอะไรอยู่และไปอยู่ร่วมอย่างไรในฐานะแรงงานเอกชน ตอนนั้นอายุ 31 ปี ทำงานในเป็นประธานสหภาพแรงงานเอ็นเอชเค สปริงค์ แห่งประเทศไทย ในตำแหน่งประธานสหภาพแรงงานฯ ได้มีการประสานงานนำคนเข้าร่วมด้วยเนื่องจากทำงานเต็มเวลา และแรงงานที่มีบทบาทคือ รัฐวิสาหกิจ คือคุณสมศักดิ์ โกสัยสุข ยังจำเสียงที่บอกให้ประชาชนมอบลงๆซ้ำๆช่วงที่มีการยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม การเดินทางไปร่วมชุมนุมของแรงงานเอกชนตอนนั้นก็มากันด้วยรถเมลย์ การที่ทำงาน และรับโทรศัพท์ได้ด้วยอยู่ห้องสหภาพแรงงานเอ็นเอชเคสปริงส์ ช่วงนั้นทุกเย็นจะต้องออกไปชุมนุมที่สนามหลวง ซึ่งจะมีการนำคนงานออกมาชุมนุมด้วย ซึ่งมี 2 โรงงานที่นายจ้างให้ออกมาร่วมชุมนุมด้วย

เพลงแอ็ดคาราบาวที่พูดถึงว่า รอบนี้สามช่ารอบหน้าไม่มีแผนดินอยู่ตรงนี้นายทนง โพธิอ่านเป็นคนกล่าว วันนั้น การสืบทอดอำนาจของรสช.และวันนี้ก็เป็นการสืบทอดอำนาจโดยคสช.

วันนี้มองว่า การเมืองเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาแรงงาน และตนก็ต้องการที่จะลงสมัครเป็นนักการเมืองมาตลอด แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ปัญหาที่แรงงานเรียกร้อง ลุงทรง วิจารณะ อดีตผู้นำแรงงานได้มีการลงสมัครเลือกตั้ง ได้ 1,000 คะแนน หลายคนลงสมัครไม่ได้รับเลือกตั้ง มนัส โกศล ได้ไม่ถึง 800 คะแนน ตนชินโชติ แสงสังข์ได้คะแนน 34,600 คะแนน แต่ไม่ใช่แรงงานที่เลือกหากแรงงานเขาเลือกคุณมนัส ต้องได้มากกว่านี้ ยังไงก็จะสมัครสส.อีก และคงต้องทำงานกับชุมชนมากขึ้น การเมืองข้างหน้าแม้ว่า จะไม่ได้อยู่ในพรรคแรงงาน แต่ว่าคิดและยัดมั่นในความเป็นแรงงานดูเรื่องนโยบาย