คสรท.แถลงวิพากษ์มาตรการรัฐบาล พร้อมเสนอข้อเสนอแรงงาน

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แถลงข่าวข้อเสนอ มาตรการความช่วยเหลือแรงงานต้องเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ อย่าช่วยเหลือแต่ผู้ประกอบการโรงงาน ปล่อยลูกจ้างลอยแพ ในวันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2554

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 20 จังหวัด ทำให้ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบ 752,439 คน สถานประกอบการโรงงานได้รับความเสียหาย 19,251 แห่ง นิคมอุตสาหกรรมน้ำท่วม 7 แห่ง ได้แก่ นิคมอุคสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้ระดมการรับบริจาคทั่วประเทศ และได้จัดตั้งศูนย์แรงงานช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม จัดส่งถุงยังชีพเครื่องอุปโภคบริโภค และรับเรื่องร้องเรียนผลกระทบจาก ผู้ใช้แรงงานในนิคมอุตสาหกรรม แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ เกษตรกรพันธสัญญา

คสรท. มีความเห็นว่าวิกฤติการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย การวางมาตรการในการแก้ไขปัญหาผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม แรงงานนอกระบบ เกษตรกร คนจนเมือง จะต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ผู้ใช้แรงงาน และองค์กรแรงงานควรมีส่วนร่วมในทุกระดับ ครอบคลุมแรงงานในทุกภาคส่วน มีผลบังคับใช้ต่อนายจ้างที่เป็นผู้ประกอบการโดยตรง และนายจ้างรับเหมาค่าแรง

คสรท. มีข้อเสนอต่อการกำหนดนโยบายและมาตรการผลกระทบจากน้ำท่วม ดังต่อไปนี้

1. ข้อเสนอต่อมาตรการของกระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม และสภาอุตสาหกรรม

มาตรการ

สภาพปัญหา

ข้อเสนอ

1.1 การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เดือนละ 3,000 บาท (กระทรวงแรงงาน)

 

1. ผู้ใช้แรงงานขาดหลักประกันการว่างงาน

2. ผู้ใช้แรงงานขาดหลักประกันในอัตราค่าจ้าง

 

1. ผู้ใช้แรงงานต้องได้รับค่าจ้างเต็ม

2. นายจ้างจะต้องไม่เลิกจ้างในช่วงประสบภัย

1.2 โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน (กระทรวงแรงงาน)

1. สถานประกอบการแห่งใหม่มีสิทธิประโยชน์และสภาพการจ้างไม่ช้ดเจน

2. สถานประกอบการแห่งใหม่บางแห่งมีเงื่อนไขบังคับให้ลาออกจากที่เดิม

3. สถานประกอบการแห่งใหม่ไม่มีที่พัก เดินทางไกล ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

 

1. ผู้ใช้แรงงานที่เข้าร่วมโครงการต้องได้รับค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เท่าเดิม

1.3 เงินกู้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตนที่ถูกน้ำท่วม 50,000 บาท (สำนักงานประกันสังคม)

1. หลักเกณฑ์เงินกู้จำกัดเฉพาะเรื่องการซ่อมแซมอยู่อาศัย

1. ควรขยายหลักเกณฑ์การกู้ยืม สำหรับค่ายานพาหนะ ทรัพย์สินอื่นๆ ไม่จำกัดเฉพาะที่อยู่อาศัย

1.4 มาตรการการประกันว่างงาน (สำนักงานประกันสังคม)

1. ผู้ใช้แรงงานเกิดความสับสน อาจทำให้เสียสิทธิประโยชน์ในการประกันการว่างงาน และอาจทำให้คนงานตกงาน

 

1. สปส. และหน่วยราชการกระทรวงแรงงาน ต้องชี้แจงและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนให้ชัดเจน

 

1.5 นโยบายงดส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 1 ปี (ข้อเสนอสภาอุตสาหกรรม)

1. ระยะเวลายาวนานเกินไป

2. หลักเกณฑ์การบังคับใช้ครอบคลุมสถานประกอบการที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหรือไม่

1. หลักเกณฑ์การบังคับใช้ครอบคลุมโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและโรงงานที่เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวเนี่อง

2. ตั้งคณะกรรมการไตรภาคีระดับชาติกรณีภัยพิบัติน้ำท่วม โดยมีตัวแทนแรงงานที่ได้รับผลกระทบเป็นกรรมการ

3. งดส่งเงินสมทบ 3 เดือน

 

1.6 นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เลื่อนไปปี 2556

(ข้อเสนอจากฝ่ายนายจ้าง)

1. ผู้ใช้แรงงานมีรายได้น้อย

1. รัฐบาลต้องทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ คือ ค่าแรง 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ

 

 

2. ข้อเสนอแรงงานในระบบ

มาตรการ

สภาพปัญหา

ข้อเสนอ

2.1 สภาพการจ้าง และความมั่นคงในการทำงาน

ลูกจ้างขาดความมั่นคงในการทำงาน

 

1. สถานประกอบการที่ขอรับมาตรการสนับสนุนของรัฐบาล อาทิ การงดส่งเงินสมทบการประกันสังคม ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ ต้องทำสัญญากับภาครัฐในการไม่เลิกจ้างผู้ใช้แรงงาน

 

2.2 การควบคุมราคาสินค้า

 

ค่าครองชีพสูง ราคาสินค้า

1. มาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างจริงจัง

2. มีมาตรการพิเศษสำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท อาทิ การมีคูปองส่วนลดสินค้า

 

2.3 หนี้สินคนงานที่ได้รับผลกระทบ

คนงานมีหนี้สินมาก

1. ให้รัฐกำหนดนโยบายและมาตรการพักชำระหนี้สำหรับคนงานที่ได้รับผลกระทบ 6 เดือน ครอบคลุมธนาคารของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่น(บัตรเครดิต) รวมทั้งหนี้นอกระบบ

 

2.4 เงินกู้ยืมแก่ผู้ใช้แรงงาน 50,000 บาท

1. ผู้ใช้แรงงานได้รับความเสียหายทางทรัพย์สิน และการสูญเสียรายได้ ที่เกิดขึ้นจากอุทกภัย

 

1. รัฐต้องหาแหล่งเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยแก่ผู้ใช้แรงงาน

2. ไม่ควรมีผู้ค้ำประกัน

3. หลักเกณฑ์การกู้เงินสำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายทางทรัพย์สิน และสูญเสียรายได้

 

2.5 การงดจ่ายเงินสมทบประกันสังคม 3 เดือน

 

งดจ่ายเงินสมทบประกันสังคม 3 เดือน ในพื้นที่น้ำท่วม เมื่อจ่ายเงินแล้วให้คงสิทธิประโยชน์เดิม

 

2.6 การรักษาพยาบาลของผู้ประกันตน

การเดินทางกลับต่างจังหวัด เป็นจำนวนมาก

 

1. ผู้ประกันตนเข้ารักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล

2.7 กองทุนประกันความเสี่ยง

การเลิกจ้างแล้วไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย

1. กองทุนประกันความเสี่ยง โดยหักจากนายจ้างและรัฐร่วมสมทบ

 

2.8 การทำงานในสถานประกอบการ

ผู้ใช้แรงงานไม่สามารถทำงานในสถานประกอบการเพราะน้ำท่วม จึงไปทำงานในสถานประกอบการอื่นชั้วคราว

1. ให้รัฐผ่อนผันการทำงานในสถานประกอบการอื่น และยังคงสภาพการจ้างงานเดิม

 

2.9 การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการวางมาตรการช่วยเหลือ

องค์กรด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานไม่มีกระบวนการรับฟังความเห็นจากแรงงาน

1.นโยบายภาครัฐในการแก้ไขปัญหาจะต้องมีผู้ใช้แรงงานและองค์กรแรงงานมีส่วนร่วม

 

 

3. ข้อเสนอแรงงานนอกระบบ

มาตรการ

สภาพปัญหา

ข้อเสนอ

3.1. หนี้สินในระบบ

แรงงานนอกระบบไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติ เช่น เย็บผ้า ซาเล้ง แท็กซี่

 

1. พักชำระหนี้สินในระบบ 3 ปี

2. ให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงแหล่งทุนตามนโยบายของรัฐ และการส่งเสริมการประกอบอาชีพ

 

3.2. เงินทุนฟื้นฟูอาชีพปลอดดอกเบี้ย

ไม่มีรายได้ดูแลครอบครัว กู้ยืมหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบมา ประกอบอาชีพและดำรงชีพได้

1. เงินทุนฟื้นฟูอาชีพปลอดดอกเบี้ย เพื่อใช้ชำระหนี้สินนอกระบบและเป็นเงินหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ

3.3. กองทุนจัดการความเสี่ยง สำหรับแรงงานนอกระบบ

 

1. จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือในการจัดการความเสี่ยง สำหรับแรงงานนอกระบบที่ประสบภัย

 

4. ข้อเสนอแรงงานข้ามชาติ

มาตรการ

สภาพปัญหา

ข้อเสนอ

4.1 สิทธิแรงงานข้ามชาติ

ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกส่งกลับ

การเข้าถึงสิทธิแรงงาน การให้ความช่วยเหลือ ถุงยังชีพ

การเข้าถึงข้อมูลมีข้อจำกัด

รัฐควรให้ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง

การเดินทางออกนอกพื้นที่ถูกจับกุม และถูกเจ้าหน้าที่รีดไถ

 

รัฐต้องออกประกาศรับรองการเดินทางออกนอกพื้นที่อย่างปลอดภัย ไม่เรียกเก็บเงิน

ความชัดเจนในการเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิง

1. รัฐต้องให้ข้อมูลและเคารพในการอยู่ที่พักพิง

2. รัฐต้องออกประกาศให้ชัดเจนในกรณีการนำแรงงานไปทำงานต่างจังหวัด ต้องได้รับสิทธิแรงงานทางกฎหมาย

4.2 เอกสารสำคัญ และค่าจ้างค้างจ่าย

นายจ้างยึดบัตรเอกสารสำคัญ และไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย

1. รัฐควรมีมาตรการให้นายจ้างคืนบัตร เอกสารสำคัญให้คนงาน เพื่อเข้าถึงการช่วยเหลือ และหางาน

2. รัฐควรมีมาตรการให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายให้แรงงานข้ามชาติ

4.3 การเดินทางกลับภูมิลำเนา

แรงงานข้ามชาติเดินทางกลับจำนวนมาก

รัฐต้องเปิดลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่กลับบ้าน เมื่อน้ำลดสามารถกลับมาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยขอย้ำว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรวางมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติช่วยเหลือเพียงผู้ประกอบการโรงงาน แต่ปล่อยให้ลูกจ้างถูกลอยแพจากการเลิกจ้าง และขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแสดงบทบาทในการช่วยเหลือเยียวยาแรงงานเฉพาะหน้า และการวางมาตรการเชิงนโยบายในระยะยาวดังที่พรรคเพื่อไทยได้เคยหาเสียงไว้กับประชาชน

แรงงานอยุธยาช้ำถูกเลิกจ้างหมดตัว หมดอาชีพหลังน้ำท่วม

นายจำลอง ชะบำรุง กล่าวว่า ขณะนี้ มีพนักงานในย่านนิคมอุตสากรรมโรจนะ พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว ถูกนายจ้างในบริษัทที่ทำการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ มาร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือที่ศูนย์แรงงานช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมทเรื่องสิทธิที่คนงานควรจะได้รับ หลังนายจ้างได้ประกาศเลิกจ้างพนักงานจำนวนประมาณ 2,000 คน ซึ่งเดิมหลังที่นายจ้างได้ประกาศปิดโรงงานเพราะถูกน้ำท่วม โดยใช้มาตร 75 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน การเลิกจ้างครั้งนี้ นายจ้างอาจมองว่า การจ่ายค่าจ้างร้อย 75 เป็นภาระ วิธีการเลิกจ้างจะได้จบไม่ต้องดูแลลูกจ้างอีก ซึ่งได้มีคนงานจำนวนมากมาร้องทางศุนย์เพื่อขอความช่วยเหลือ และทำความเข้าใจด้านกฎหมายผลกระทบต่างๆรวมถึงสิทธิแรงงานด้วย

 “นายจ้างอาจมองแรงงานเป็นเครื่องจักรที่ใช้ทำงานได้ทุกเวลา พอมีปัญหาน้ำท่วม เรากลับถูกทอดทิ้ง” นายจำลองกล่าวและว่า ขอให้สถานประกอบการที่มีแนวคิดเช่นนี้คำนึงถึงลูกจ้างด้วย เพราะลูกจ้างที่อยู่ในอยุธยาเป็นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งมีมาก ผลกระทบในการที่จะถูกกลั่นแกล้ง เลิกจ้าง หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ส่วนหญ่จะเกิดกับแรงงานที่ไม่มีองค์กรรองรับ ในบรรยากาศอย่างนี้ อยากให้นายจ้างพูดคุยดูแลลูกจ้างก่อนอย่าเห็นว่าตอนนี้ไม่มีประโยชน์แล้วเลิกจ้าง

นายจำลอง กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีแรงงานเหมาค่าแรง เหมาช่วงที่มาร้องทุกข์ว่า ขาดการติดต่อกับนายจ้าง ทำให้เกิดความกังวล ไม่สบายใจเนื่องจาก ที่ผ่านมา นายจ้างยังไม่มีทีท่าที่จะจ่ายค่าจ้าง หรือติดต่อมา ทำให้ต้องรอไม่กล้าไปไหน และไม่รู้อนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาหรือไม่ เพราะบริษัทรับเหมาค่าแรงจะมีการเหมาจ่ายจากบริษัทแม่เป็นเวลา 3 เดือน จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีปัญหาเรื่องการเงิน หรืออาจฉวยโอกาสในวิกฤติครั้งนี้ในการลอยแพคนงาน เป็นการไม่ประกาศเลิกจ้างแต่ไม่จ่าย ตอนนี้คนงานไม่มีเงินไม่มีรายได้ ไม่มีทะเบียนบ้านขณะที่การช่วยเหลือของภาครัฐจะเน้นช่วยกลุ่มคนที่มีทะเบียนบ้านเท่านั้น ทำให้คนงานเหล่านี้ต้องประสบปัญหาไม่ได้รับการดูแล

ผู้นำแรงงานเสนอใช้ระบบแรงงานสัมพันธ์ นายจ้างอย่างฉวยโอกาส

นายยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย  มองว่า วิกฤติอุทกภัยน้ำท่วมครั้งนี้ นายจ้างบางส่วนมีการฉวยโอกาสในการเลิกจ้าง และใช้มาตรา 75กฎหมายคุ้มครองแรงงาน จ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 จำนวนมากซึ่งเป็นนายจ้างที่อยู่คนละพื้นที่ เช่นชลบุรี ระยอง เป็นต้น  หากบอกว่าวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้นายจ้างมีผลกระทบอย่างหนักเสียหายหลายแสนล้าน แต่ต้องรุ้อีกอย่างว่านายจ้างมีระบบประกันภัย ภายใต้ลูกจ้างไม่มีระบบอะไรมารองรับ ไม่มีระบบประกันอะไร แทมนายจ้างบางคนที่ได้รับผลกระทบยังใช้เล่หลอกให้คนงานไปใช้ระบบประกันสังคม ซึ่งทำให้ลูกจ้างต้องเสียสิทธิ เรื่องของการคุ้มครองแรงงาน เพราะนายจ้างไม่ได้เลิกจ้าง หากเลิกจ้างนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย เป็นต้น ซึ่งถึงแม้ว่าวันนี้น้ำจะท่วมนายจ้าง จากการที่นายจ้างมีระบบประกันตนเห็นว่านายจ้างยังมีกำลังในการที่จะจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างได้ แต่ปัญหาคือไม่จ่าย และยังมีแอบแฝงจากนายจ้างที่ไม่กระทบมาใช้มาตรการปิดงาน จนเกิดผลกระทบกับแรงงานจำนวนมาก

แรงงานย้ำเป็นคนส่วนใหญ่รัฐต้องดูแล

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานแนท์แรงงานไทย กล่าวว่า จากเหตุวิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้ รัฐต้องคำนึงถึงด้วยว่าผู้ใช้แรงงานไม่ได้มีตัวตนเพียงคนเดียว เขายังมีครอบครัวพ่อแม่ลูกเมียที่ต้องดูแล ปัญหาผลกระทบต่อแรงงานหมายถึงผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ ทั้งการศึกษา นมเด็ก หนี้สินและการย่าร้างที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รัฐจะปฏิเสธในการที่จะให้ความช่วยเหลือ หรือสร้างมาตรการในการดูแลแรงงานไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อเศรษฐกิจสังคมได้ในอนาคต หากแรงงานต้องตกงาน หรือถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ ขณะนี้น้ำท่วมโรงงาน มีแต่เสียงพูดถึงความเสียหายของนายจ้าง แต่ไม่มีใครสนใจแรงงานว่าชีวิตจะอยู่อย่างไร ซึ่งขณะนี้ทางขบวนการแรงงานทำได้ในส่วนของเฉพาะหน้าเรื่องการรับบริจาคสิ่งของ นมเด็ก และข้อเสนอมาตรการในหารดูแล หากรัฐบาลเห็นว่าแรงงานมีความสำคัญในการพัฒนาประเทศควรมีมาตรการที่ชัดเจนในการดูแลแรงงานและครอบครัวด้วย

นางสาววิไลวรรณยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้มีโรคที่มาจากน้ำเกิดขึ้นกับกลุ่มของประชาชนแรงงาน และเด็กที่ต้องอยู่ในสภาพน้ำท่วมขัง ที่มีสภาพน้ำที่เน่าเหม็น ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะมีโรคทึ่เกิดขึ้นอะไรบ้าง จะมีสุขภาพที่ไม่ปลอดภัยที่จะเกิดจากน้ำ ที่อยุ่ในนิคมอุตสาหกรรมในอนาคต หรือแม้กระทั้งปัจจุบันยังไม่มีใครยืนยันได้ว่า โรคจากอุตสาหกรรมจะมี และกระจายแค่ไหน ซึ่งรัฐควรต้องมีการให้ความดูแล

แรงงานข้ามไม่ไว้ใจ รัฐให้ข้อมูลไม่ครบอพยพแล้วส่งกลับ

นายบัณฑิต แป้นวิเศษ เครือข่ายปฏิบัตการแรงงานข้ามชาติ กล่าวว่า มีแรงงานข้ามชาติจำนวนเกือบแสนคน ที่ได้รับผลกระทบ มาตรการที่รัฐให้ความดูแลทั้งศุนย์พังพิง การเดินทางเคลื่อนย้าย และอพยพแรงงานนั้น รัฐต้องดูแลให้ข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน เพราะปัญหาแรงงานที่ถูกกนายจ้างยึดพาร์สปอร์ต ใบอนุญาตการทำงาน หรือสูญหาย แม้กระทั้งไม่มี รัฐก็ต้องดูแลให้แรงงานเหล่านี้ได้รับความปลอดภัย ศูนย์พักพิง ที่มีการจัดไว้นั้น เหมือนว่าจะมีข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และไม่ทั่วถึง กลายเป็นการอพยพมาเพื่อส่งกลับ ทำให้แรงงานข้ามชาติบางส่วนไม่ไว้ใจในความปลอดภัย ไม่ยอมอพยพเพราะไม่ต้องการที่จะออกจากประเทศไทย และบางส่วนที่อพยพมาก็หลบหนีซึ่งอาจทำให้ต้องเข้าสู่อ้อมอกของนายหน้า การที่รัฐจะส่งแรงงานกลับต้องให้เขากลับอย่างที่เป็นความต้องการของเขาจริงไม่ใช่บังคับ

 

รัฐต้องดูแลให้ข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน เพราะปัญหาแรงงานที่ถูกกนายจ้างยึดพาร์สปอร์ต ใบอนุญาตการทำงาน หรือสูญหาย แม้กระทั้งไม่มี รัฐก็ต้องดูแลให้แรงงานเหล่านี้ได้รับความปลอดภัย ศูนย์พักพิง ที่มีการจัดไว้นั้น เหมือนว่าจะมีข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และไม่ทั่วถึง กลายเป็นการอพยพมาเพื่อส่งกลับ ทำให้แรงงานข้ามชาติบางส่วนไม่ไว้ใจในความปลอดภัย ไม่ยอมอพยพเพราะไม่ต้องการที่จะออกจากประเทศไทย และบางส่วนที่อพยพมาก็หลบหนีซึ่งอาจทำให้ต้องเข้าสู่อ้อมอกของนายหน้า การที่รัฐจะส่งแรงงานกลับต้องให้เขากลับอย่างที่เป็นความต้องการของเขาจริงไม่ใช่บังคับ

ศูนย์ช่วยเหลือและรับเรื่องร้องเรียนผู้ใช้แรงงานและผู้ประสบภัย

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)

1) ศูนย์ประสานงานเพื่อช่วยเหลือและรับเรื่องร้องเรียนผู้ใช้แรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เลขที่ 503/20 ถนนนิคมรถไฟมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400  โทรศัพท์/โทรสาร 02-251-3170

คุณชาลี  ลอยสูง  08-9030-9178

คุณยงยุทธ  เม่นตะเภา 08-1828-2538

คุณวิไลวรรณ  แซ่เตีย  08-1178-7489

2) ศูนย์บางปะอิน ถนนสายเอเซีย หมายเลข 32 กิโลเมตรที่ 1 แยกบางปะอิน

กระจายสิ่งของช่วยเหลือในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมนวนคร นิคมแฟคตอรี่แลนด์ พื้นที่หนองแค จ.สระบุรี

นายจำลอง ชะบำรุง 08-5995-7195, 08-9920-3967

น.ส. พีระกานต์ มณีศรี 08-4716-9357

นาย อุดม ไกรยราช 08-1929-5205

นายสมเกียรติ ลอยโต 08-1816-6884

3) ศูนย์คลองหลวง เลขที่ 51/13 ซอยคลองหลวง 19 (งามฉวี) ต.คลองหลวง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

กระจายสิ่งของช่วยเหลือในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมย่านนวนคร-รังสิต

นางสาวสุธาสินี  แก้วเหล็กไหล 08-1432-8259

4) ศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ

กระจายสิ่งของช่วยเหลือแรงงานพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย ในพื้นที่วัดป่าฝ้าย วัดไก่เตี้ย โรงงานเอสซีเค อ.เมือง จ.ปทุมธานี พื้นที่โรงงานไม้อัดวนชัย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี  พื้นที่แรงงานข้ามชาติ มัสยิดย่านรังสิต และพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา

นายเมี่ยนเวย์ 08-1432-8259

นายบัณฑิต แป้นวิเศษ 08-1869-5193

ขอเชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคได้ที่

บัญชี มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เลขที่ 101-7-97864-2 ธนาคารกรุงเทพ สะสมทรัพย์ สาขาสำนักงานใหญ่สีลม

นักสื่อสารแรงงาน โครงการการพัฒนาสื่อ รายงาน