คสรท.เน้นสร้างขบวน เสริมแนวคิดควบรวมสหภาพแรงงาน

P9280726

สมานฉันท์แรงงานหวังสร้างความเข้มแข็งให้ขบวน จัดอบรมเสริมความคิดรวมการควบรวมองค์กรเป็นหนึ่งระบบอุตสาหกรรม เน้นสร้งอำนาจต่อรอง ความเป็นเอกภาพ รวมทรัพยากร รวมผู้นำ รวมเงินทุน รวมความคิด เตรียมจัดเพิ่มเรื่องเก็บค่าบำรุงสมาชิกแบบก้าวหน้า หลังทำแล้วเกิดเสถียรภาพด้านการเงินด้านการทำงานของสหภาพ

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2557 ณ ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ยุทธศาสตร์ที่ 4 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้จัดการฝึกอบรมแกนนำแรงงานพื้นที่ต่างๆครั้งที่ 1
เรื่อง “การควบรวมองค์กรเพื่อความเข้มแข็งของสหภาพแรงงาน” ด้วยเห็นว่าเป็น ทางออกหนึ่งขององค์กรแรงงานเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเอกภาพที่เข้มแข็งได้ คือ การควบรวมองค์กรให้เป็น 1 สหภาพ ต่อ 1 อุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้พลังและสามารถเกื้อหนุนกันในการแก้ไขปัญหาต่างๆให้ลุล่วงไปได้ การควบรวมกันจะทำให้มีการนำเอาทรัพยากรต่างๆของทุปแห่งมาบริหารจัดการร่วมกัน ทั้งด้านเงินทุนสมาชิก รวมทั้วผู้ปฏิบัติงานที่มีความสมารถเข้ามาช่วยกันบริหารงานสหภาพแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ที่ 4 ที่ต้องทำให้ขบวนการแรงงานให้เข้มแข็ง แม้ว่าจะมีปัญหาเล็กน้อยในการดำเนินการทางยุทธศาสตร์ ก็มีการรับบริจาค ถอดผ้าป่าสนับสนุนงบมาจัดยุทธศาสตร์ราว 4 แสนบาท ซึ่งได้กำหนดว่าจะได้ 2 ล้านบาท นำมาดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ เพื่อมีการจัดการศึกษา และพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งให้กับขบวนการแรงงาน การควบรวมเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ และยังมีเรื่องของการจัดเก็บค่าบำรุงเป็นระบบเปอร์เซ็นต์ เพื่อให้เกิดกองทุนที่เข้มแข็ง เมื่อมีสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมที่เข้มแข็ง การบริหารจัดการต้องดีมีคุณภาพ สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมที่เคยมีเช่นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเหล็ก และโลหะ ที่ในอดีตเข้มแข็ง แต่หลังๆมีการบริหารจัดการคนทำงานที่น้อยลงทำให้เกิดปัญหา ภาครัฐก็มองเพียงเรื่องของการทำให้สหภาพแรงงานเล็กลงด้วยการจัดระบบไตรภาคีที่มีการนับสิทธิการเลือกตั้ง 1 สหภาพ 1 เสียง มีการจัดตั้งสหภาพที่ซอยย่อยเกิดขึ้นทำให้เกิดความอ่อนแอ แบ่งแยก จึงอยากให้มีการลงมือทำอย่างจริงจังในกลุ่มของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้วยการลงมือควบรวมสหภาพแรงงาน

P9280737P9280713

นายลาเร่ อยู่เป็นสุข ประธานยุทธศาสตร์ที่ 4คสรท.ได้นำเสนอโดยสรุปดังนี้ ปัญหาที่เคยพบกันก็คือการต่อสู้ที่โดดเดี่ยว ไม่มีพลัง แล้วคิดว่าจะทำอย่างไรให้สหภาพแรงงานมีความเข้มแข็งเหมือนกับต่างประเทศที่มีการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีเอกภาพต่อรองด้านสิทธิสวัสดิการกับรัฐได้ด้วยสหภาพ หากแนวคิดการรวมตัวของสหภาพแรงงาน เช่น สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์มีเพียง 1 สหภาพ สหภาพธนาคารมี 1 สหภาพ อะไรจะเกิดขึ้นในประเทศความเป็นเอกภาพในการต่อรองร่วมกัน อำนาจการต่อรองกับรัฐในเรื่องสภาพการจ้างสวัสดิการเป็นอีกก้าวหนึ่งในการรวมกลุ่มแบบอุตสาหกรรม

กรณีสหภาพแรงงานมิชลินฯเห็นถึงความสำคัญในการควบรวมองค์กรทั้ง 3 สหภาพแรงงาน ต้องพูดคุยร่วมกัน ทำความเข้าใจให้เห็นทิศทางเดียวกัน เพราะการต่อสู้ของแรงงานนั้นประสบปัญหามากขึ้นจากที่นายจ้างมีการย้ายงานไปทำในแห่งอื่นๆ แล้วใช้การปิดงานสหภาพแรงงานที่ไม่มีปัญหา เมื่อสินค้าผลิตได้นายจ้างก็ยังดำเนินการทางธุรกิจต่อไปได้ถือเป็นอุปสรรค์ในการต่อสู่ของสหภาพแรงงานเดียว
สภาพแรงงานคืออะไร องค์กรของคนงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครอง แสวงหาผลประโยชน์ และอันชอบธรรมของคนงาน โดยมีผู้แทนที่คนงานคัดเลือกเข้ามาบริหารจัดการกันเอง มีความเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของนายจ้างหรืออำนาจรัฐ

รูปแบบของสหภาพแรงงาน ประกอบด้วย ประเภทของสหภาพแรงงานตามสาขาอาชีพ เช่นช่างมีฝีมือ กิจการอุตสาหกรรม และสหภาพแรงงานแบบนายจ้างคนเดียวกัน คือสหภาพแรงงานประเภททั่วไป ซึ่งประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นสหาภพแรงงานเป็นประเภทกิจการ แบบนายจ้างเดียวกัน ในส่วนของสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยควรเกิดมานาน ในอดีตสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นแล้ว เช่นสหภาพแรงงานเหล็ก และสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ล้ม กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นนั้นดูจากความการเติบโตของเศรษฐกิจ อดีตเป้นกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งปัจจุบันเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการเติบโตในทางเศรษฐกิจ การรวมตัวของสหภาพแรงงานหากอยู่เพียงสหภาพใดสหภาพหนึ่ง สภาพปัญหาของอำนาจการต่อรอง

1. สหภาพแรงงานตามสาขาอาชีพ เป็นรูปแบบการรวมตัวที่ใช้กันมากในโลก สมาชิกประกอบด้วยคนงานที่ทำงานอยุ่ในอาชีพเดียวกัน ไม่คำนึงว่าจะเป็นนายจ้างคนเดียวกันหรือไม่ รวมตัวกันเพื่อกำหนดค่าแรงในอาชีพของกลุ่มตนเอง

2. สหภาพแรงงานแบบมีนายจ้างคนเดียวกัน เป็นการรวมตัวของคนงานที่ทำงานให้นายจ้างคนเดียวกัน ไม่คำนึงว่าจะมีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างไร เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ขยายไปในฟิลลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย

สหภาพแรงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่จดทะเบียนเป็นสหภาพแรงงานประเภทกิจการประเภทเดียวกัน การดำเนินงานกลับมีรูปแบบเป็นสหภาพที่ขึ้นตรงกับนายจ้างของตนเอง ดำเนินงานแบบแบ่งแยกกัน ก่อให้เกิดปัญหาความอ่อนแอในขบวนการแรงงาน เกิดความไม่เป็นเอกภาพ มีความคัดแย้งกันเอง ขาดอำนาจต่อรอง

P9280723

จำนวนสหภาพแรงงานในประเทศไทยเมื่อเทียบกับจำนวนแรงงานตัวเลขเมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 มี จำนวนกำลังแรงงาน 38 ล้านคน ประกอบด้วยแรงงานนอกระบบประมาณ 25 ล้านคน แรงงานในระบบประมาณ 13 ล้านคน มีสมาชิกสหภาพแรงงาน 4 แสนกว่าคน มีสภาองค์การลูกจ้าง 14 แห่ง และสหภาพแรงงาน 1,441 แห่ง

ลักษณะองค์กรสหภาพแรงงานในประเทศไทยมีความกระจัดกระจาย เป็นสหภาพแรงงาน สมาพันธ์แรงงาน สหพันธ์แรงงาน กลุ่มแรงงานต่างๆ ไม่เป็นระบบ รูปแบบสภาองค์การลูกจ้างไม่มีระบบสายงานเหมือนกับต่างประเทศ สหภาพแรงงานไทยมีการเจรจาต่อรองเพียงกับนายจ้างตนเอง

กรณีศึกษาคนงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ คนงานในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยตรงราว 7 แสนคน มีคนงานที่เป็นสมาชิก 4-5 หมื่นคน มีสหภาพแรงงานมากกว่า 50 สหภาพ 2 สหพันธ์แรงงาน 1 สภาองค์การลูกจ้าง มองแต่ปัญหาภายในของตนเองเป็นหลักทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ และไม่เข้มแข็ง อยู่อย่างแยกกันอยู่การเจรจาต่อรองกับนายจ้าง ขาดพลัง

ลักษณะขององค์กรแรงงานที่มีความเข้มแข็ง คือ ต้องมีเพียง 1 สหภาพแรงงาน 1 อุตสาหกรรม เพื่อรวมทรัพยากร รวมเงินทุน รวมคนเข้ามารวมกัน รวมผู้นำ เพื่อรวมความสามารถในการบริหารองค์กรให้เติบโต การเก็บค่าบำรุงทั่วไปในสภาพแรงงาน เก็บแบบอัตราคงที่ซึ่งหากมีการรวมกันทำให้เงินทุกองค์กรมารวมกัน การเก็บค่าบำรุงอัตราก้าวหน้าก็เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาขององค์กรแรงงานเพื่อให้มีงบประมาณในการบริหาร

ข้อดีในการมีสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม การนัดหยุดงานหรือปิดงานเกิดขึ้นได้ยากมากขึ้น นายจ้างบริหารงานได้ง่ายขึ้นสามารถวางแผนการทางธุรกิจได้ชัดเจน การจัดการปัญหาแรงงานนายจ้าง และลูกจ้างอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข การเจรจาต่อรองกับนายจ้างมีการยกระดับเป็นการเจรจาในกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ใช่แต่ภายในโรงงานเดียว

อุปสรรคสำคัญของการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมเดียวกัน กฎหมายแรงานสัมพันธ์ 2518 กำหนดให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานได้เพียง 2 รูปแบบ คือสหภาพแรงงานแบบประเภทกิจการ นายจ้างคนเดียวกัน ผู้นำแรงงานยังยึดติดกับความเป็นผู้นำ กลัวอำนาจที่มีอยู่ในองค์กรหายไป ต้องได้รับมติจากที่ประชุมใหญ่ ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน

เปรียบเทียบความแตกต่าง 9 ข้อ ระหว่างสหภาพแรงงานแบบนายจ้างคนเดียวกันกับสหภาพแรงงานประเภทอุตสาหกรรม ดังนี้

1. การตั้งสหภาพแรงงาน แบบสหภาพแรงงานเดี่ยวตั้งยากพอจดทะเบียนก็ถูกเลิกจ้าง กฎหมายไม่คุ้มครองผู้เริ่มก่อตั้ง หากเป็นแบบอุตสาหกรรมไม่ต้องตั้งสหภาพแรงงานใหม่ ดูสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมแล้วก็สามารถสมัครสมาชิกได้

2. งบประมาณ ค่าบำรุง สหภาพแรงงานเดียว เก็บเงินค่าบำรุงไม่เพียงพอในการบริหารองค์กร เก็บเพียงคนละ 20 บาท ทำให้ไปพึ่งพิงนายจ้างในการจัดสิทธิประโยชน์ ด้านงบประมาณ รถบริษัทในการดำเนินกิจกรรมสหภาพแรงงาน

การเป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม เงินมารวมกันเงินเพิ่ม การบริหารจัดการองค์กรได้ มีสำนักงานเป็นของตนเอง ไม่ต้องพึ่งพิงบริษัท

3. ค่าใช้จ่าย แบบบนายจ้างเดียวค่าใช้จ่ายสูงหากเฉลี่ยต่อหัว เพราะมีจำนวนจักด สหภาพแรงงานอุตสาหกรรม จะเฉลี่ยต่อหัวถูก

4. การบริหารสหภาพแรงงานขึ้นอยู่กับความสามารถ ศักยภาพ เมื่อเปลี่ยนผู้นำก็มีปัญหา สหภาพแรงงานอุตสาหกรรม เมื่อรวมกันคนที่บริหาร คนเก่งๆก็มารวมกันอยุ่มีความเชี่ยวชาญ มีความหลากหลายมาช่วยกันทำงาน เมื่อเปลี่ยนผู้นำแล้วไม่กระทบต่อการบริหารองค์กร

5. ความเข้มแข็งขององค์กร แบบนายจ้างคนเดียว ถูกแทรกแซงได้ง่าย ทำให้เกิดความอ่อนแอ สหภาพแรงงานแบบอุตสาหกรรมมีอำนาจต่อรองสูง โครงสร้างบริหารมีความหลากหลายมีกองทุนนัดหยุดงานมากพอที่จะรองรับการต่อสู้ ประเทศเบลเยี่ยม เกาหลีมีสหภาพแรงงานเป็นแบบอุตสาหกรรม เหมือนญี่ปุ่นที่มีแนวคิดใหม่ในการรวมกลุ่มสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมแล้ว มีพลังที่แตกต่างกันระหว่างสหภาพแรงงานเดี่ยวๆ เพราะเป็นองค์กรที่เล็กไม่ได้รับการยอมรับ

6. การยอมรับจากองค์กรภายนอก แบบนายจ้างเดียวกัน จะไม่ได้รับความสนใจจากภาครัฐ องค์กรนายจ้าง และองค์กรแรงงานสากล ไม่มีพลัง ไม่เป็นเอกภาพ หากเป็นสหภาพแรงงานแบบอุตสาหกรรมจะได้รับการยอมรับจากองค์กรนายจ้าง ภาครัฐ และองค์กรแรงงานสากล เพราะมีพลังมากกว่าในการกดดัน

7. ผลที่เกิดต่อลูกจ้างสหภาพแรงงานแบบเดี่ยว คุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ไม่ดีขาดความมั่นคง สหภาพแรงงานแบบอุตสาหกรรมผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความมั่นคง แถบแสกนดินีเวียร์ที่สามารถสร้างให้เป็นประเทศแห่งรัฐสวัสดิการ

8. ผลที่เกิดต่อนายจ้าง แบบสหภาพแรงงานเดี่ยว ลูกจ้างเปลี่ยนงานบ่อยประสิทธิภาพทำงานต่ำศักยภาพในการแข่งขันลดลง แบบสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม ลูกจ้างมีความสุขในการทำงานมีทักษะ

9. ผลที่เกิดต่อสังคม แบบนายจ้างคนเดียว มีปัญหาขัดแย้งบ่อย ขาดความารักสามัครคี แบบอุตสาหกรรม มีความเข้าใจช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจา มีการปรับทัศนคติกันระหว่างนายจ้างลูกจ้างเพราะเดิมใช้แต่ข้อกฎหมายมายกใส่กัน

P9280710P9280703

อุปสรรคสำคัญของการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่เอื้อต่อการรวมตัว ผู้นำยังยึดติดกับความเป็นผู้นำ ประกอบด้วยปัญหาอุปสรรค 9 ข้อ คือ

1. อำนาจในการบริหาร ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น กรรมการบริหารเดิมมีความสะดวกในการจัดการทุกด้าน ตั้งแต่นโยบายไปจนถึงการปฏิบัติ รวมถึงการควบคุมการใช้จ่ายในการบริหาร อาจสูญเสียการยอมรับจากสมาชิก การป้องกันแก้ไข คือ จัดโครงสร้างองค์กร โดยยึดหลักการกระจายอำนาจ โดยมีศูนย์กลางที่คณะกรรมการหลัก และให้คณะกรรมการแต่ละพื้นที่มีอำนาจบริหารภายในต่อไป

2. การบริหารจัดการ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น การควบคุมดูแลทำได้ยาก สมาชิกอยู่หลายสถานประกอบการคุ้มครองอาจไม่ทั่วถึงกรรมการบางคนติดขัดเรื่องเวลาในการทำกิจกรรม แก้ไขป้องกัน จัดโครงสร้างกระจายอำนาจฯ

3. การจัดเก็บค่าบำรุง ปัญหาที่เกิด มีการจัดเก็บที่แตกต่างกันทำให้เสียความรู้สึกว่าเสียเปรียบ ฉะนั้นเมื่อเข้ามาอยู่ในบ้านใหญ่มีระเบียบในการจัดการให้อยู่ร่วมกัน การป้องกันแก้ไข ในระยะแรกการเก็บค่าบำรุงแบบเดิมไปก่อนแต่ภายใน 1-2 ปีต้องมีการปรับเกณฑ์การจัดเก็บค่าบำรุงเพิ่ม ซึ่งที่ใดพร้อมก็เริ่มก่อน หากไม่พร้อมก็ค่อยปรับโดยมีการกำหนดระยะเวลา

4. การจัดการสวัสดิการสมาชิก ปัญหาสมาชิกในแต่ละส่วนอาจมีข้อสงสัยว่า ทำไมจึงได้รับสวัสดิการที่แตกต่างกันคิดว่าไม่เป็นธรรม แนวการป้องกันแก้ไขปัญหา ในระยะแรกที่ยังเก็บค่าบำรุงแตกต่างกันก็ให้คงจัดสวัสดิการสมาชิกตามที่เคยมีอยู่ต่อเมื่อสามารถจัดเก็บค่าบำรุงเป็นอัตราก้าวหน้า เช่นร้อยละ 1 ของค่าจ้างได้เท่ากันทุกแห่งจึงจะมีการจัดสวัสดิการเท่ากัน

5. การประชุมใหญ่ ปัญหาที่เกิดขึ้น สมาชิกเข้าร่วมประชุมมีความกระจัดกระจายอยู่หลายแห่งอาจมีปัญหาองค์ประชุมไม่ครบเพราะสมาชิกมาประชุมน้อย ในการแก้ปัญหา มีการกำหนดสัดส่วนตัวแทนเข้าร่วมประชุม โดยให้สมาชิกแต่ละแห่งส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมตามสัดส่วนที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

6. การจัดกิจกรรมต่างๆ ปัญหามีความแตกต่างกันไม่สารมารถจัดกิกรรมร่วมกันได้ เพราะอาจติดขัดเรื่อเวลาการทำงานที่มีความแตกต่างกัน การป้องกันแก้ไข คือกำหนดแผนกิจกรรมล่วงหน้า โดยใช้วันหยุดประจำสัปดาห์ ในระยะยาวต้องพยายามผลักดันให้สมาชิกทุกที่มีวันทำงานเท่าๆกัน

7. การยื่นข้อเรียกร้อง ปัญหาคืออายุการยื่นข้อเรียกร้องต่างกัน ยื่นไม่พร้อมเพียงกัน เนื่องจากการตกลงสภาพการจ้างข้อตกลงมีระยะเวลาไม่สอดคล้องกัน ซึ่งการป้องแก้ไข คือ การกำหนดระยะเวลาการยื่นข้อเรียกร้องให้อยู่ในช่วงไตรมาสเดียวกัน และทำให้สัญญาข้อตกลงมีอายุ 1 ปี เป็นข้อเรียกร้องตกลงเป็นแนวทางเดียวกัน ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับขององค์กรต้นแบบ

8. การเจรจาต่อรอง ปัญหาที่เกิดขึ้น คือนายจ้างอาจไม่ยอมรับผู้แทนเจรจาที่เป็นกรรมการจากที่อื่นเข้ามาเจรจาต่อรองร่วมทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งเป็นข้อพิพาทแรงงานได้ การแก้ไขปัญหาคือ กำหนดให้สมาชิกแต่ละที่คัดเลือก ผู้แทนเข้าเจรจาต่อรอง และอาจมีกรรมการส่วนกลางเข้าร่วมเจรจาต่อรองด้วย 1-2 คนในฐานะที่ปรึกษาข้อเรียกร้อง ส่วนนี้นายจ้างอาจไม่เข้าใจและยอมเจรจาร่วม ทางสหภาพกลางต้องเดินหน้าเพื่อขอทำความเข้าใจกับนายจ้างเพื่อปรับทัศนะคติ

9. กรรมการลูกจ้าง ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ สหภาพแรงงานจะสามารถแต่ตั้งกรรมการลูกจ้างได้ตามเดิมหรือไม่ การป้องแก้ไขปัญหาคือ การจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมายดังที่เคยปฏิบัติอยู่ตามเดิม

P9280700 P9280736

โครงสร้างคณะกรรมการ เป็นโครงสร้างเดิม แต่จะมีการกำหนดสัดส่วนให้ส่งตัวแทนเข้ามาเป็นกรรมการกลางร่วมกัน โดยใช้สัดส่วนสมาชิกในการกำหนดตัวแทน

ขั้นตอนวิธีการในการจัดตั้งสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม สหภาพแรงงานมี 2 แบบ คือ 1. การควบรวมสหภาพแรงงานต่างๆที่จัดตั้งไว้แล้วเข้าด้วยกัน 2. จัดตั้งสหภาพแรงงานใหม่

แบบที่ 1 การควบรวมสหภาพแรงงาน วิธีการการควบรวมสหภาพแรงงานเป็นอุตสาหกรรม เช่น เอที ที่มี 6 สหภาพภายใต้นายทุนเดียวกันให้เหลือสหภาพแรงงานที่เป็นประเภทอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและการบริหารจัดการที่ดีมีความเข้มแข็ง กำหนดเป็นสหภาพหลักที่จะเข้าควบรวม เพื่อแก้ไขข้อบังคับหลัก เพื่อรองรับการควบรวม และเปิดรับสมาชิกจากที่ต่างๆได้ ให้สมาชิกจากสหภาพแรงงานต่างๆเขียนใบลาออกจากองค์กรเดิม และไปสมัครสหภาพแรงงานใหม่ที่ถูกเลือกให้เป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม ในสหาภาพแรงงานเก่าให้มีสมาชิกส่วนหนึ่งเพื่อขอมติประชุมใหญ่เพื่อยกเลิกสหภาพ วาระโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้กับใคร สหภาพแรงงานมีมติโอนให้กับสหภาพแรงงานที่จะควบรวม สหภาพแรงงานที่เหลือสมัครเป็นสมาชิกใหม่ทันที

ข้อควรระวัง หลังจากสมาชิกลาออกแล้ว ให้สมัครเป็นสมาชิกในองค์กรใหม่ทันที เพื่อป้องกันการจัดตั้งสหภาพแรงงานใหม่ หากไม่พร้อมควบรวมคือไปไม่หมดไม่ต้องไปควบรวมเพราะจะเกิดปัญหา

แบบที่ 2 การจัดตั้งสหภาพแรงงานใหม่ มีผู้เริ่มก่อการรวบรวมรายชื่อ และลายมือชื่อพนักงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนของพนักงาน อย่างไรต้องรวบรวมให้มากที่สุด ยื่นข้อเรียกร้องและให้ผู้มีชื่อในข้อเรียกร้องทั้งหมดสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหลักเพื่อให้เกิดความคุ้มครอง ต้องหาสมาชิก หรือซักชวนพนักงานเข้าร่วมสมัครเป็นสมาชิกให้มากที่สุดอย่างน้อยร้อยละ 20 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด หากได้มากกว่าร้อยละ 50 จะดีที่สุด ให้สามารถยื่นข้อเรียกร้องตามมาตรา 15 โดยสหภาพแรงงานเป็นผู้ยื่นในคราวถัดไป

ข้อสังเกตแบบที่ 2 กรณีในสถานประกอบการใดที่มีความต้องการจัดตั้งสหภาพแรงงานของตนเองขึ้นใหม่ให้ลูกจ้างนั้นไปสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานหลักตามประเภทกิจการได้ทันที โดยไม่ต้องดำเนินการจัดตั้งองค์กรใหม่

ข้อควรระวังแบบที่ 2 คือ 1. ต้องทำให้เป็นความลับมากที่สุด เพราะอาจถูกนายจ้างกลั่นแกล้ง หรือเลิกจ้างได้ 2. ทำบันทึกการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเรียกร้องไว้ทุกครั้ง 3. ระบุชื่อผู้ร่วมการประชุมทุกคนไว้ เพื่อให้มีผลคุ้มครองโดยกฎหมาย 4. ในระหว่างที่การสมัครเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานยังอยู่ในระหว่างดำเนินการให้ทำการเจรจาข้อเรียกร้องไปก่อน เพื่อให้ข้อเรียกร้องมีผลคุ้มครองต่อไปได้

ทำไมต้องเป็นสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม สหภาพแรงงานมีการจดทะเบียน 3,192 แห่ง ถูกถอนทะเบียน 1,838 แห่ง เหลืออยู่ 1,441 แห่ง ทำกิจกรรมจริง 600-700 แห่ง สรุปว่าสหภาพแรงงานตายมากกว่าเกิด ซึ่งคิดว่าส่วนที่ไม่ได้ทำกิจกรรมเกือบครึ่งรอวันที่จะตาย

สรุปสภาพปัญหาการต่อสู้ของสหภาพแรงงานแบบสถานประกอบการเดียว การต่อสู้หลายสหภาพแรงงานเกิดปัญหามีความโด่ดเดี่ยว มีการตั้งสหภาพแรงงานซ้อน เลิกจ้าง ผู้นำแรงงานขายตัวให้นายจ้าง การปิดงานเฉพาะสมาชิก ฟ้องร้องสหภาพแรงงาน ขบวนการขออำนาจศาลเลิกจ้างกรรมการสหภาพแรงงาน ในส่วนของลูกจ้าง อ่อนแอ แตกแยก สร้างความ

นโยบายจากองค์กรแม่ IMF สหพันธ์แรงงานโลหะฯมีนโยบายในการควบรวมองค์กร TAMก็รับนโยบายมาปฏิบัติในการจัดการควบรวม และมีการให้การศึกษา และใน 8 สหภาพแรงงานร่วมลงนามว่าจะรวมสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ชิ้นส่วน เจเทค ไดน่า ซันสตาร์ สมบูรณ์โซมิค ทีไอดี (สร.อุตสาหกรรม) ทีราด ไทยโตเคนเทอร์โม ซึ่งขณะนี้รวมได้ในระยะแรก 5 แห่ง เป็นTAM ปี 2009 รับสมัครสมาชิกตรง SH 2010 และ 2011 มีการยุบเลิกสหภาพแรงงานJTEKT DYNA METAL ซึ่งทำได้ยากมากก็ใช้วิธีการรวบรวมสมาชิกให้เขียนใบลาออก และสมัครสหภาพTAM เริ่มในปี 2013 จนบัดนี้ NHK เป็นสหภาพแรงงานต้นแบบที่รวมกันก่อน และเมื่อคุยเรื่องควบรวมกับ 8 สหภาพแรงงาน NHK เปิดข้อบังคับ เปลี่ยนชื่อรองรับสมาชิกจากบริษัทอื่นๆ จากเดิมสมาชิก 3,000 คน เมื่อรวมกันเป็นสมาชิกสหาภาพอุตสาหกรรมเป้าหมายคือ 1หมื่นคน นำคนมารวมกัน ประเภทที่ผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ สหภาพแรงงานอุตสาหกรรม ต้องมีเครือข่าย TEAM รวมกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ ปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ รวมกับอีกหลายองค์กรเป็นCILT

รูปแบบการบริหารเงินของ TAM ค่าบำรุงปีละ 12 ล้านบาท จากสมาชิก 9228 คน มีการตั้งบีญชีกลาง และกระจายเข้ากองทุน ร้อยละ43 กองทุนบริหาร ร้อยละ13 กองทุนจัดการประชุมใหญ่ ร้อยละ 30 กองุทนสวัสดิการคณะกรรมการ ร้อยละ 4 เป็นกองทุนนัดหยุดงาน ร้อยละ 10 กองทุนสวัสดิการสมาชิก และหักเงินเพิ่มอีกปีละ 200 บาท เพื่อจัดสวัสดิการ จากเงินกองทุนปีละ 14 ล้านบาท
แนวทางTAM คือแรงงานสัมพันธ์ทวิภาคีนายจ้าง ลูกจ้างเท่าเทียมกัน การพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ร่วมมือกันในการทำงาน

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน