คสรท. ลงพื้นที่กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ ให้ความรู้อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อการขับเคลื่อนและรณรงค์

SAM_0208

วันที่  22  กันยายน   2556  ณ โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์  จ.สมุทรสาคร    คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  ได้ลงพื้นที่กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่  ให้ความรู้อนุสัญญา ILO  ฉบับที่  87 และ 98  ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ  ( ILO )

คุณสงวน  ขุนทรง  ผู้ประสาน กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่  กล่าวว่าการ ให้ความรู้สามารถทำได้ทุกที่  เช่น ใต้ต้นไม้ ในการจัดอบรมการให้ความรู้เรื่องอนุสัญญาฉบับ 87 และ 98  เพื่อให้พี่น้องได้รับรู้และเข้าใจ  ผู้ใช้แรงงานมีการขับเคลื่อนติตามมา 10 กว่าปี  แต่รัฐบาลไทยยังไม่ยอมรับ  สิทธิในการรวมตัว เช่นคนงาน  จ.อ่างทอง นายจ้างฉวยโอกาสเลิกจ้าง คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  ลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจ เรื่องอนุสัญญา  I  L O  ฉบับ  87 และ  98

SAM_0104SAM_0121

นายทวีป   กาญจนวงศ์   ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย    กล่าวว่าวันที่  7  ตุลาคม  วัน  DESENWORK  หมายถึงวันงานที่มีคุณค่า  คืองานที่สนองความต้องการของคนงาน   1.ต้องมีค่าจ้างที่ดี  2.มีสวัสดิการที่ดี  3.มีความปลอดภัยในการทำงาน ทุกบริษัทจะต้องได้มาตรฐานจาก  ILO  เพื่อจะทำการค้า  หากบริษัทใดไม่ได้มาตรฐานจาก  ILO  การค้าก็จะขาดความเชื่อถือ มาตรฐานกฎหมายแรงงานไทยมีกฎหมายอยู่ 3  ฉบับ  1.กฎหมายคุ้มครองแรงงาน   2.กฎหมายแรงงานสัมพันธ์    3.กฎหมายความปลอดภัย  ความต้องการของสหประชาชาติ  ต้องการให้คนงานมีงานที่ดี  สวัสดิการที่ดี    ปัจจุบัน ILO มีสมาชิก 185 ประเทศ มีอนุสัญญา 189 ฉบับ มีข้อเสนอแนะ 15 ฉบับ แต่ ILO ยกเลิกการบังคับไปแล้ว 2 ฉบับ จึงเหลือเพียง 13 ฉบับเท่านั้น สำหรับอนุสัญญาหลัก 8 ฉบับ  ที่เป็นกรอบมาตรฐานแรงงานของ ILO ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไปแล้ว 5 ฉบับ คือ

ฉบับที่    29  ว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับ

ฉบับที่    105  ว่าด้วยการยกเลิกแรงงานบังคับ

ฉบับที่    100  ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน

ฉบับที่    138  ว่าด้วยอายุขั้นต่ำที่อนุญาตให้ทำงานได้

ฉบับที่    182  ว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก

สำหรับอนุสัญญาที่เป็นกรอบมาตรฐานแรงงาน  และเป็นอนุสัญญาพื้นฐานที่ประเทศ   ไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบัน  3 ฉบับคือ

ฉบับที่ 87  ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการรวมตัว

ฉบับที่ 98  ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักแห่งสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง

ฉบับที่ 111  ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติการจ้างงาน และการประกอบอาชีพ

SAM_3647SAM_0178

คุณวิไลวรรณ  แซ่เตีย  รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  กล่าวว่าในปี 2558 ประเทศไทยจะเปิดประชาคมอาเซียนการค้าเสรี (AEC ) สิ่งที่เกิดขึ้นแรงงานข้ามชาติ จะหลั่งไหลเข้ามาประเทศไทย  จะ

มีผลกระทบกับแรงงานไทยทั้งภาคเกษตร  อุตสาหกรรม จะเกิดข้อจำกัดในการเรียกร้องสิทธิที่จะเกิดขึ้นกับสหภาพแรงงาน  เราจะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา  จึงถึงเวลาที่พี่น้องทุกภาคส่วนจะสร้างประวัติศาสตร์ให้กับขบวนการแรงงานเพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับสิทธิในการจ้างงานที่เป็นธรรม  ในวันที่  7  ตุลาคม  2556  เราต้องร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดันอนุสัญญา  I LO ฉบับที่ 87 และ 98

นายชาลี   ลอยสูง  ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  กล่าวว่าอนุสัญญา  I LO   ประเทศไทยเป็น  1  ใน  45  ประเทศ  ที่เป็นผู้ก่อการแต่ที่ผ่านมา  49  ปี   ประเทศไทยยังไม่รับรองฉบับที่ 87 และ 98  และหลายประเทศในเอเชียยังไม่รับรอง  แต่ประเทศไทยเป็นผู้ก่อตั้งทำไมถึงไม่รับรอง   ขบวนการแรงงานได้ขับเคลื่อนเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี  2547  แต่มีองค์กรเข้ามาร่วมขับเคลื่อนเยอะจึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่าคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา  I LO ฉบับที่ 87 และ 98  และจากการขับเคลื่อนทำให้รัฐบาลส่วนหนึ่งเห็นด้วย  บางกลุ่มก็ไม่เห็นด้วย  และนายจ้างก็ไม่เห็นด้วยที่จะมีการรวมตัวกันอย่างเสรี  โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติที่จะรวมตัวก่อตั้งสหภาพได้  องค์กรแรงงานหลายภาคส่วนได้ร่วมกันผลักดันในรัฐบาลของ  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  ได้นำเข้าสู่สภา แต่เนื่องด้วยมีเรื่องของความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้องจึงต้องส่งเรื่องไปให้กฤษฎีกาตีความ  และมีคำสั่งออกมาว่าไม่เข้าข่าย  ถึงจะนำเข้ามาพิจารณา แต่ยังไม่ได้รับรองก็ยุบสภาไปก่อน  รัฐบาลยิ่งลักษณ์   ชินวัตร  ก็ไม่ได้นำมาพิจารณา

ช่วงบ่ายมีการแบ่งกลุ่มเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ช่วยกันระดมปัญหาการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นในสหภาพของตนเองรวมถึงแนวทางในการผลักดันอนุสัญญา  I LO ฉบับที่ 87 และ 98  ในวันที่  8 – 9  ตุลาคม  2556

ปัญหาและอุปสรรคในสหภาพแรงงาน

1.นายจ้างเลือกปฏิบัติระหว่างคนไทย  แรงงานข้ามชาติ

2.จ่ายสิทธิประโยชน์ให้กับคนงานซับคอนแทรกไม่เท่าเทียมกับพนักงานประจำ

3.ขาดการยอมรับจากนายจ้าง  นายจ้างไม่มีแรงงานสัมพันธ์ไม่ให้ความร่วมมือ    การแทรกแซงของนายจ้าง   การเลิกจ้างผู้นำแรงงาน

4.การลาเพื่อทำกิจกรรมสหภาพนายจ้างไม่อนุญาต  หากไม่ใช่หนังสือจากราชการ

5.กฎหมายแรงงานเอื้อประโยชน์ต่อนายจ้าง  ทำให้ไม่สามารถเอาผิดกับนายจ้างได้

6. ปัญหาการลางานยาก  การรูดบัตร  และการแสกนนิ้วเข้า – ออก เวลาทำงานในบริษัท

 เราจะมีส่วนร่วมในการผลักดันอนุสัญญา  ILO  87  98  อย่างไร

1.ช่วยประชาสัมพันธ์  ข้อมูลข่าวสาร  ให้ความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญา   ILO  87  98  ให้แรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติได้เข้าใจร่วมกัน

2.เข้าร่วมกิจกรรมในการผลักดันอนุสัญญา  ILO  87 98  ร่วมกับองค์กร  เครือข่ายทุกภาคส่วน

3.ร่วมรณรงค์ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง

4.ในวันที่  7  ต.ค.  56  เราจะรวมพลังไปกดดันรัฐบาลด้วยการนอนค้างคืน

5.กรรมการต้องทำความเข้าใจเรื่องอนุสัญญา  ILO  87  98  ให้กับสมาชิกได้เข้าใจร่วมกันเพื่อจะ  ได้ระดมผู้เข้าร่วมในการเคลื่อนไหวผลักดันอย่างจริงจัง

6.ร่วมระดมทุนในการขับเคลื่อน

นักสื่อสารแรงงานอ้อมน้อย – อ้อมใหญ่   รายงาน