คนงานฟาร์อีสท์ เร่งให้ความรู้กฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 75

สถานการณ์มาตรา 75 การใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานของนายจ้าง-ลูกจ้างบริษัทฟาร์อีสท์ฯ และผลกระทบจากการย้ายสถานที่ทำงานจากนครชัยศรี ไปสาธุประดิษฐ์ 

กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ จัดอบรมกฎหมายแรงงานให้กับคนงานบริษัทฟาร์อีสท์ปั่นทออุตสาหกรรม  จำกัด  เมื่อวันที่  12  กุมภาพันธ์  2560 ณ.วัดศีรษะทอง  อ.นครชัยศรี  จ.นครปฐม เพื่อชี้แจงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้คนงานได้รับรู้และเข้าใจเพื่อหาแนวทางแก้ไขพร้อมรับสถานการณ์และสิ่งที่เกิดขึ้น

น.ส.สุรินทร์  พิมพา ฝ่ายรับเรื่องร้องทุกข์กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ พูดถึงสิ่งที่คนงานโดนกระทำและสิ่งที่เจออยู่ในขณะนี้ทางกลุ่มฯได้มารับเรื่องและทำหนังสือร้องเรียนเจ้าหน้าที่ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้เรียกนายจ้างเข้าพบที่สำนักงานแรงงานจังหวัดนครปฐม  เรื่องการเลื่อนการจ่ายค่าจ้างที่ผ่านมา และวันที่ 7 กุมภาพันธ์  2560 นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ตามกำหนด

ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่  กล่าวว่า  บริษัทฟาร์อีสท์ปั่นทออุตสาหกรรม  จำกัด ยังไม่มีองค์กรที่ทำเพื่อคนงาน วันนี้ที่เรามาก็เรื่องที่นายจ้างสั่งหยุดงานชั่วคราวตามกฎหมายาคุ้มครองแรงงานโดยจ่ายค่าจ้างร้อยละ 75 เป็นสิทธิของนายจ้างที่ทำได้ตามกฎหมาย  แต่นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบ  แต่การสั่งหยุดเป็นผลกระทบกับพวกเราทำให้ขาดรายได้สิ่งที่นายจ้างทำเข้ากรอบของกฎหมายทั้งหมด  แต่จ่าย 75 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เราได้ไม่เต็ม รวมถึงขาดรายได้เรื่อง OT ด้วย และถามคนงานว่ามีเบี้ยขยันหรือไม่ คนงานตอบว่าไม่มี ได้ค่าจ้างขั้นต่ำตลอดชีพ

ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ พูดถึงข้อเรียกร้องในปี 2559 ของสหภาพแรงงานผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไทย ว่าได้โบนัส  5.5  เดือน + 20,000  บาท  สิ่งที่ได้มาจากการใช้สิทธิขององค์กรสหภาพฯที่ทำเพื่อพี่น้องคนงานทำเพื่อส่วนรวม สิ่งที่ตัวแทนคนงานบริษัทฟาร์อีสท์ฯทำเขาทำด้วยใจ ที่ลุกขึ้นมานำและทำเพื่อพี่น้องทุกคน

นางสาวสุภาพร  สันติพร้อมผล  เจ้าที่หน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐมกล่าวถึงเจ้าหน้าที่ได้รับหนังสือแจ้งจากนายจ้างเรื่องการสั่งหยุดชั่วคราวโดยใช้มาตรา 75  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานนั้น ได้มีการแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนหรือไม่ และอีกฉบับเป็นการแจ้งย้ายสถานที่ทำงาน  มีผล วันที่16 มีนาคม 2560   การสั่งหยุดมาตรา 75  นายจ้างแจ้งถูกต้องลูกจ้างก็ต้องรอ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ว่านายจ้างจ่ายค่าจ้างถูกต้องหรือไม่  ส่วนการย้ายสถานที่ทำงานก็ต้องดูว่าเรามีผลกระทบอะไรบ้างการที่จะบอกเลิกสัญญาจ้าง ตามมาตรา 120 ต้องเป็นการปิดกิจการ  แต่ของคนงานบริษัทฟาร์อีสท์ฯกล้ำกึ่งเพราะเป็นการย้ายสถานที่ทำงานจากนครชัยศรี ไปสาธุประดิษฐ์  แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิลูกจ้างในการยื่นคำร้อง อยู่ที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน  ในการพิจารณาว่าจะเข้าเงื่อนไขหรือไม่  หากเข้าเงื่อนไขมีสิทธิได้รับค่าชดเชย การยื่นคำร้องต้องยื่นภายใน 30 วัน ต้องนับตั้งแต่วันที่นายจ้างแจ้งย้ายกิจการ  หากเข้าเงื่อนไขสั่งจ่ายภายใน  7  วันคณะกรรมการจะมีคำสั่งภายใน  60  วัน สั่งแล้วนายจ้างไม่จ่าย  ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องศาลได้ ลูกจ้างถาม  การยื่นคำร้องลูกจ้างหมดสิทธิการเป็นลูกจ้างเลยหรือไม่ การยื่นคำร้องลูกจ้างต้องนับวันตั้งแต่นายจ้างแจ้งภายใน 30 วัน ลูกจ้างต้องยื่นคำร้อง การพิจารณาว่าพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรืออยู่ที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานจะพิจารณาว่าพ้นสภาพหรือไม่ หากจะยื่นคำร้องทางเจ้าหน้าที่จะลงมารับคำร้องให้คนงาน  จากคำร้องที่ผ่านมาจะมีการไกล่เกลี่ยที่ทั้งสองฝ่ายรับกันได้ หากการยื่นคำร้องไม่เข้าเงื่อนไขข้อกฎหมาย  ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิ  หากเข้าเงื่อนไขลูกจ้างก็จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษเท่ากับค่าชดเชยตามมาตรา118 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541  ในระหว่างทางลูกจ้าง-นายจ้าง  ยังสามารถพูดคุยกันได้

หลังจากเจ้าหน้าที่หน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐม กล่าวจบ ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ และคนงานบริษัทฟาร์อีสท์ฯ ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนฉบับที่ 2 เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบพฤติกรรมของบริษัทฯดังนี้

1.เหตุจำเป็นตามที่บริษัทฯได้ประกาศหยุดกิจการชั่วคราว มีความจริงหรือไม่ อย่างไร

2.เหตุจำเป็นตามที่บริษัทฯอ้างสามารถใช้สิทธิหยุดกิจการชั่วคราวตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคแรก ได้หรือไม่ อย่างไร

3.บริษัทฯได้ดำเนินการแจ้งลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคแรก ได้หรือไม่ อย่างไร

จากนั้นนางสาวคุ้มเกล้า  ส่งสมบูรณ์ ทนายความด้านแรงงาน  กล่าวว่า จากการที่ได้รับทราบข้อมูลจากข่าวสถานการณ์ที่คนงานบริษัทฟาร์อีสท์ฯกำลังเผชิญอยู่ปัจจุบัน  และที่เคยเป็นข่าวลูกจ้างที่บุรีรัมย์  ที่มีคำสั่งย้ายจากบุรีรัมย์มาที่นครชัยศรีเป็นลูกจ้างกลุ่มเดียวกันหรือไม่ สิ่งที่เราต้องศึกษาคือลูกจ้างที่บุรีรัมย์ ได้รับค่าชดเชยหรือไม่  เพราะทราบแต่ว่าลูกจ้างต้องเขียนคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ จ.บุรีรัมย์  หากเป็นนายจ้างคนเดียวกันเราต้องติดตาม แต่หากเป็นคนละนิติบุคคลก็คงไม่เกี่ยวข้องกัน  ทุกคนรู้กฎหมายเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับเราอยู่แล้ว เช่น ค่าจ้าง  OT.  จากการย้ายสถานที่ทำงานจากนครชัยศรี ไปสาธุประดิษฐ์ การสั่งหยุดตามมาตร 75 ประกาศ  2 ฉบับนี้มีผลก่อน คือมาตรา 75 มีผลวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2560 วันที่ 15 มีนาคม 2560   ประกาศย้ายสถานที่ทำงานมีผล 16 มีนาคม 2560  การประกาศมาตรา 75 ของนายจ้าง ที่ทางกลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ได้ยื่นหนังสือกับเจ้าหน้าที่ในวันนี้  ว่าการประกาศของนายจ้างชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  โดยเจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบว่าเข้าข่ายตามมาตรา 75  ตามที่นายจ้างอ้างเหตุหรือไม่ที่อ้างเพื่อจ่าย  75 เปอร์เซ็นต์ หากสั่งหยุดเพราะประสบปัญหาการขาดทุนก็ถือว่าเขาประสบปัญหาจริง แต่มีกรณีตัวอย่างจากที่อื่นที่มีการสั่งหยุดมาตรา 75 แล้วนายจ้างมีการขนย้ายเครื่องจักรออกจากโรงงาน ระหว่างที่สั่งให้คนงานหยุดมาตรา 75 เราก็ต้องติดตามสถานการณ์ในระหว่างการสั่งหยุดในช่วงนี้  ที่สาธุประดิษฐ์เป็นโกดังโล่ง  จากที่ฟังมาในช่วงที่สั่งหยุดเขาอาจจะย้ายเครื่องจักรไปไว้ที่สาธุระดิษฐ์ก่อนที่จะย้ายเราไปก็ได้ มีการลงชื่อไปแล้วกี่คน  ส่วนที่ไม่ได้ลงชื่อ ถามว่าต้องไปไหม  ต้องไปตามคำสั่งของนายจ้างเพราะเป็นอำนาจการบริหารจัดการของนายจ้างที่สามารถกระทำได้ สิ่งที่เราต้องทำ คือต้องไปก่อน หากไปทำงานแล้วเรามีผลกระทบอย่างไร  ก็สามารถร้องเรียนได้เพราะเป็นสิทธิของลูกจ้างที่สามารถคัดค้านคำสั่งของนายจ้างได้  การหยุดมาตรา 75 เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง  นายจ้างไม่จ่ายตามกำหนดก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่เราต้องทำ การย้ายสถานที่ทำงานกับการย้ายสถานประกอบการ  2 เรื่องนี้  เป็นเรื่องที่แตกต่างกันอย่างมาก  มีแนวคำพิพากษาออกมาเรื่องการย้ายสถานประกอบการ นายจ้างมีการเปิดบริษัทอีกที่หนึ่ง  โดยปิดจากนครปฐม ไปอยู่ปราจีนบุรี  แต่เป็นนายจ้างคนเดิม  ถือว่าเป็นการย้ายสถานประกอบการ  หากลูกจ้างไม่อยากไปได้หรือไม่  ได้เพราะเป็นการปิดกิจการลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง  และได้รับค่าชดเชยพิเศษเท่ากับค่าชดเชยในการเลิกจ้างตามมาตรา 118 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541

กรณีย้ายสถานที่ทำงาน  สมมุติว่านายจ้างมีกิจการหลายสาขาเมื่อนายจ้างพิจารณาดูแล้วว่าสาขาไหนทำกำไรได้ก็จะย้ายสาขาที่ขาดทุนไป  โดยย้ายลูกจ้างไปสาขาที่ทำกำไรได้  ถามว่าลูกจ้างต้องไปหรือไม่  ต้องไปเพราะเป็น สาขาที่นายจ้างเปิดไว้แล้ว  ในกรณีคนงานของฟาร์อีสท์  จึงเข้าประเด็นนี้หากเราไปใช้สิทธิเขียนคำร้อง หรือฟ้องศาลเลยได้หรือไม่  ตอบว่าไม่ได้  เพราะ เราต้องร้องเพื่อให้เจ้าหน้าที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานวินิจฉัยก่อน ว่าเข้าข่ายหรือไม่  ว่าเป็นการย้ายตามมาตรา120  หรือไม่เข้าเงื่อนไขของมาตรา120  ก็ต้องรอดูต่อไป

กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง  หากนายจ้างเลิกจ้าง โดยลูกจ้างไม่ได้รับเงินค่าชดเชย  ลูกจ้างต้องไปร้องพนักงานตรวจแรงงานก่อน  เพื่อให้ได้รับสิทธิในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

นักสื่อสารแรงงานศูนย์อ้อมน้อย – อ้อมใหญ่