พรุ่งนี้ ขบวนการแรงงานนัดแถลงข่าวคลื่อนหนัก7ตุลานี้ ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ98

Untitled-1

กลุ่มสหภาพแรงงานหลายจังหวัดลุกโหมโรงยื่นหนังสือต่อผู้ว่าให้เสนอรัฐบาลให้รับรองอนุสัญญาILOทั้ง 2 ฉบับพร้อมร่วมขับเคลื่อนขบวนใหญ่ หวังให้รัฐบาลดำเนินการรับรองอุสัญญา เตรียมจัดเสวนา และแถลงข่าว 2 ตุลานี้เวลา 09.00-12.00 o.ที่ ห้องประชุมศุภชัย ศรีสติ พิพิธภัณธ์แรงงานไทย มักกะสัน ราชเทวี กทม.

คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87และฉบับที่ 98 ได้จัดเสวนาและแถลงข่าว “รวมพลังเคลื่อนไหว 7 ตุลาคม” ขึ้นในวันพุธที่ 2 ตุลาคม 2556 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

Untitled-3นายชาลี  ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87และฉบับที่ 98 กล่าวว่าขณะนี้กลุ่มสหภาพแรงงานในหลายจังหวัด เช่น สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และพระนครศรีอยุธยา โดยหลังจากนี้ก็จะมีอีกหลายจังหวัดเพื่อขอความร่วมมือในการสนับสนุนให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 จากผู้ว่าราชการจังหวัด เนื่องจากที่เครือข่ายองค์กรแรงงานต่างๆ ในนามของคณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 อันประกอบด้วยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย, สภาองค์การลูกจ้าง, สหพันธ์แรงงาน, กลุ่มสหภาพแรงงาน, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

นับเป็นเวลา 10 ปีที่ผ่านมา คณะทำงานผลักดันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ได้มีการรณรงค์ต่อกระทรวงแรงงานและรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับคือ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว พ.ศ. 2491 และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง พ.ศ. 2492

ปัจจุบันประเทศไทยในฐานะภาคีที่เข้าร่วมก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศมาตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2462 และเป็นประเทศภาคีสมาชิกยังไม่มีการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้งสองฉบับ ซึ่งเป็นอนุสัญญาหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ

การไม่รับรองอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ นำมาสู่สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานที่ทวีสูงขึ้น ย่อมเป็นการบั่นทอนความมั่นคงทางสังคมของประเทศอย่างยิ่ง และหากปัญหาขยายวงกว้างมากขึ้น ก็จะทำให้ช่องว่างทางสังคมกว้างขึ้น และนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมทางสังคมในวงกว้างต่อไป

ดังนั้นการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ ฉบับที่ 98 จึงเป็นการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง

(1) เป็นการช่วยลดปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ที่มีอยู่ปัจจุบันและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น เพราะจะเกิดการรวมตัวกันเป็นสหภาพขนาดใหญ่ และการนัดหยุดงานก็ลดน้อยลง ส่งผลให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างสามารถเจรจาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ อันเป็นการส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนที่แท้จริง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยโดยรวม

(2) การให้สัตยาบัน เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในชุมชนระหว่างประเทศ เพราะเป็นการแสดงว่าประเทศไทยยอมรับมาตรฐานแรงงานสากล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในยุคโลกาภิวัตน์ ที่กำลังนำเรื่องมาตรฐานแรงงานมาใช้เป็นเหตุผลในการกีดกันทางการค้า

(3) การให้สัตยาบัน จะเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรอง และแก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ในประเทศให้สอดคล้องตามหลักการของอนุสัญญาดังกล่าว

(4) การให้สัตยาบัน ในระยะยาว จะช่วยสร้างสังคมที่มีการแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างเป็นธรรม และช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน โดยเฉพาะการลดช่องว่างทางรายได้ระหว่างกลุ่มแรงงานต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ

(5) ลดปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เพราะนำไปสู่การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติได้อย่างชัดเจน มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความเป็นจริง

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานในประเทศไทยสามารถเข้าถึงสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วม อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะทำให้คนทำงานทุกภาคส่วนสามารถรักษาสิทธิและผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ และเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคมและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ทางกลุ่มผู้ใช้แรงงานทุกกลุ่มได้เรียนเพื่อขอความร่วมมือในการสนับสนุนให้รัฐบาลไทยรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 โดยเร็ว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้แรงงานทุกคนในประเทศไทย พร้อมยินดีที่จะให้ข้อมูลต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรัฐบาล

นักสื่อสารแรงงาน รายงาน