การปฏิรูปกฎหมายแรงงานสวัสดิการสังคมและมาตรการในการขับเคลื่อนสู่การปฏิรูปประเทศไทย

Untitled-3

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย โดยคณะทำงานยุทธศาสตร์ที่ 2 ได้จัดเวทีเรื่อง “การปฏิรูปกฎหมายแรงงานสวัสดิการสังคม และมาตรการในการขับเคลื่อนสู่การปฏิรูปประเทศไทย” ณ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟประเทศไทย สวนรถไฟ นิคม กม. 11 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวถึงการจัดเสวนาในวันนี้โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย มีการจัดทำยุทธศาสตร์ 10 ปี และยุทธศาสตร์ที่ 2 ได้ทำงานขับเคลื่อนในประเด็นต่างๆ เช่น พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้มีการขับเคลื่อนร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม และอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ได้มีการยื่นในสมัยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งอยู่ในสภา และพ.ร.บ.ประกันสังคม ได้ถูกคว่ำร่างกฎหมายในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และขณะนี้อยู่ในการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แรงงานก็ทำอะไรไม่ได้มาก รัฐบาลทหารซึ่งหากแรงงานขับเคลื่อนผลักดันในขณะนี้ซึ่งเป็นเผด็จการ หากทำได้สำเร็จก็จะสามารถบังคับใช้กฎหมายได้เลย และในวันนี้คณะทำงานยุทธศาสตร์ที่ 2 โดยนางสาวธนพร วิจันทร์ และนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ได้จัดเวทีนี้ขึ้นมาเพื่อให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานได้มาพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหา และนำไปผลักดันกฎหมายเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกฎหมายแรงงานของพวกเรา และเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนต่อไป

Untitled-2Untitled-4

นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวในช่วงที่เข้าไปนั่งในสภาจะเห็นได้ว่าไม่สามารถพึ่งรัฐบาลได้เลย กับสิ่งที่ได้นำกฎหมายไปให้รัฐบาล จึงต้องการให้ผู้ใช้แรงงานได้เห็นร่างกฎหมายใหม่กับร่างเก่าว่ามีประเด็นอะไรที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม เช่น กรณีว่างงานที่ถูกปิดงานแต่นายจ้างยังไม่ได้เลิกจ้างทำให้ลูกจ้างเข้าไม่ถึงสิทธิ หลังจากที่กฎหมายประกันสังคมไม่ได้เข้าสภาก็มีการเจรจากันว่าควรปรับปรุงในบางประเด็นที่ยังไม่ครอบคลุม เช่น ถูกปิดงานเกิน 6 เดือนจะทำอย่างไรถึงจะยังคงสิทธิการรักษาพยาบาลไว้ และคงไว้ซึ่งสาระสำคัญ และช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจะทำอย่างไร คสช.ให้ส่งรายชื่อเข้าไปเพื่อคัดสรรว่าใครจะได้เข้าไปเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ก็จะทำการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมาในการยกร่างกฎหมายในทีมของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ( คปก. )มีคุณสุนี ไชยรส คุณชฤทธิ์ มีสิทธิ คุณคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ได้มีส่วนช่วยในการแก้ไขยกร่างกฎหมายประกันสังคมเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมาระบบประกันสังคมถูกแทรกแซงในการบริหารกองทุนทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิไม่ดีเท่าที่ควร จึงต้องการให้เราช่วยกันดูแลสิทธิของเราตั้งแต่เกิด จนตาย

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ปรึกษาสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสำนักงานประกันสังคม เช่น มาตรา 39 ถ้าฟังจากกระทรวงก็ว่าถ้าลูกจ้างตกงานจะเอาเงินจากไหนมาจ่าย ถ้าในกลุ่มของแรงงานฟังดูจากผู้ที่เข้าไป ผู้มีอำนาจในประกันสังคมก็ไม่ต้องการให้แรงงานไปเกี่ยวข้องมาก จึงต้องฝ่าด่านตรงนี้หลายชั้นอยู่เหมือนกันที่เราจะไปรื้อระบบเดิมของประกันสังคม และยังมีการพูดคุยกันว่าทำไมประกันสังคมไม่มีโรงพยาบาลเป็นของตนเองต้องเอาผู้ประกันตนไปฝากไว้กับโรงพยาบาลอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องขบคิดกันในช่วงต่อไป

นายทวีป กาญจนวงค์ ประธานมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย กล่าวถึงกฎหมายประกันสังคม หลักการสำคัญ คือ
1. การขยายความคุ้มครองคนทำงานว่ามีใครบ้าง เช่น รัฐวิสาหกิจยอมหรือไม่ที่จะไปอยู่กับประกันสังคม แรงงานนอกระบบเราจะเพิ่มเติมยังไงให้ครอบคลุม
2. การเลือกตั้ง 1 คน 1 เสียง เดิมเลือกตั้งแบบระบบไตรภาคี แต่ต่อไปนี้เราจะเลือกโดยทางตรงหรือทางอ้อม
3. ประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ ให้สำนักงานประกันสังคมอยู่ภายใต้ของใคร เช่น อยู่ภายใต้กำกับนายกรัฐมนตรี หรือว่าใครจะเป็นผู้ดูแลดี และสัดส่วนของคณะกรรมการประกันสังคม
4. สัดส่วนของผู้หญิงในคณะกรรมการประกันสังคมว่าควรมีสัดส่วนเท่าใด
5. การนำประกันสังคมไปรวมกับประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช. ) ซึ่งมีการถกเถียงกันว่าไม่รวมในเรื่องสุขภาพการรักษาพยาบาล
6. มาตรา 40 ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิทั้ง 7 กรณีเท่ากัน แต่จะต่างกันตรงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับตามอัตราเงินสมทบ
7. เงินสงเคราะห์บุตรควรครอบคลุมบุตรอายุถึง 20 ปี หรือไม่ให้รวมถึงการรักษาพยาบาล

กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ หลักการสำคัญ คือ

1. กำหนดให้มีการจัดตั้งส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาแรงงานสัมพันธ์
2.  หลักการสำคัญหากจะเลิกจ้างกรรมการสหภาพต้องไปขออำนาจศาล
3. การขึ้นทะเบียนสหภาพไม้ต้องนำไปจดแค่แจ้งให้ทราบ
4. คนงานมีสิทธิชุมนุมโดยใช้น้ำ –ไฟ ได้ตามปกติที่นายจ้างเคยจัดให้

Untitled-1

นายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย เลขาธิการกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่า นโยบาย คสช. 11 เรื่องไม่มีการบรรจุหลักสูตรของแรงงานเข้าไปจึงอยากให้พวกเราเสนอการทำหลักสูตรของแรงงานให้อยู่ในภาคบังคับ และตามที่เสนอโรงพยาบาลของผู้ประกันตนตนก็เห็นด้วยเพราะในร่างกฎหมายประกันสังคมยังไม่เห็นเรื่องนี้ การออกกฎหมายในสาระสำคัญกำหนดทั้ง 7 กรณีไว้ น่าจะอยู่ในกฎหมายลูกมากกว่า

1. จะทำอย่างไรให้สำนักงานประกันสังคมแจ้งข้อมูลให้ลูกจ้างทราบ
2. กรณีว่างงาน การปิดงานถือว่าลูกจ้างว่างงานหรือไม่สำนักงานประกันสังคมควรจะพิจารณาในประเด็นนี้ เพราะลูกจ้างไม่ได้ทำงานจึงไม่มีรายได้
3. บอร์ดประกันสังคม การกำหนดสัดส่วนผู้หญิงควรมีสัดส่วนเท่าไร
4. ร่างของแรงงานนอกระบบก็ไม่ได้พูดถึงแรงงานข้ามชาติเท่าไร
5. การเลือกตั้งทางตรงตามจังหวัดผู้ประกันตนจะรู้จักตัวแทนไหม

สรุปประเด็นและข้อเสนอการปฏิรูปกฎหมายแรงงานสวัสดิการสังคมและมาตรการในการขับเคลื่อนสู่การปฏิรูปประเทศไทย

1. ข้อเสนอประกันสังคม

– ประสานการจัดเวทีการพูดคุยให้เป็นในทิศทางเดียวกัน
– มีตัวแทนเข้าไปนั่งในสภา
– ให้มีโรงพยาบาลประกันสังคม
– ให้สำนักงานประกันสังคมแจ้งข้อมูลให้ลูกจ้างทราบ
– กรณีว่างงาน การปิดงานถือว่าลูกจ้างว่างงานให้สำนักงานประกันสังคมพิจารณาในประเด็นนี้ เพราะลูกจ้างไม่ได้ทำงานจึงไม่มีรายได้
– บอร์ดประกันสังคม กำหนดสัดส่วนผู้หญิงควรมีสัดส่วนเท่าไรอย่างเท่าเทียม
– ให้ทำใบส่งตัวรักษาในต่างจังหวัดเป็นการเพิ่มจำนวนครั้งให้มากขึ้นกว่าเดิมต่อหนึ่งใบ

2. ข้อเสนอแรงงานสัมพันธ์

– กรณีนัดหยุดงานนายจ้างต้องรับกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข
– กรณีนายจ้างปฏิบัติผิดให้เสียค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนด เสนอขอให้เพิ่มบทลงโทษเรื่องการยึดใบอนุญาตประกอบกิจการนอกเหนือจากการปรับเป็นเงิน
– การยื่นข้อเรียกร้องคนที่ไม่ใช่สมาชิกไม่ควรมีสิทธิ
– มีการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปนั่งในสภา

3. ข้อเสนอสภาปฏิรูป

– ให้มีการทำสภาแรงงานขึ้นมาเพื่อนำเสนอสัดส่วนของแรงงาน
– การจัดเวทีหาข้อเสนอของแรงงานเพื่อนำเสนอต่อ คสช.
– เสนอตัวแทนของแรงงานเข้าไปอยู่ใน สนช.
– ใน 11 ข้อของ คสช. ควรมีประเด็นของแรงงาน

4. เสนอประเด็นปัญหาการใช้สิทธิที่เกิดขึ้น

– ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการเข้าถึงสิทธิในการรักษา
– การส่งตัวมารักษาในต่างจังหวัดต้องไปขอใบส่งตัวทุกครั้ง
– ไม่ควรนำประกันสังคม (สปส.)ไปรวมกับ หลักประกันสุขภาพ (สปสช.)

ดาวเรือง ชานก นักสื่อสารแรงงานกลุ่มอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ รายงาน