ไทยแลนด์ 4.0 แรงงาน 4.0 จนถึงสตาร์ทอัพ | แรงงานมนุษย์อยู่ตรงไหนในรหัสการพัฒนา

แรงงานไม่มีประวัติศาสตร์

สภาอุตสาหกรรมเตรียมพร้อมปรับระบบสู่ยุคดิจิตอล 4.0 ดันรัฐจัดระบบการศึกษาสนองรับนโยบาย และระบบการพัมนาฝีมือแรงงาน แนะต้องมองประเทศพัมนาแล้วที่จัดระบบสวัสดิการแก้ปัญหา

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ วิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานแห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ได้จัดเสวนาเรื่อง ทศนิยมแห่งยุคสมัย : ไทยแลนด์ 4.0 VS แรงงาน 4.0 ภายใต้กระแสของการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่โมเดล ประเทศไทย 4.0 หรือไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจทุกภาคส่วนในสังคมทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ และแรงงาน

นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรม 4.0 คือการปรับระบบการทำงานจากเดิมเป็นการใช้ระบบอนาล็อค และเข้าสู่ยุคดิจิตอล ซึ่งจริงแล้วการใช้สมาร์ทโฟนของคนไทยในปัจจุบันนี้ก็เป็นระบบดิจิตอล แต่หากยังคงใช้งานเป็นระบบอนาล็อคเช่นเดิมคงไม่เท่าทันสถานการณ์ คิดว่าคงไม่มีใครใช้ระบบการส่งจดหมายแล้ว คงจะใช้ไลน์ และอ่านกันในมือถือไม่ปริ้นกระดาษ หรือส่งแฟ็ก หากยังใช้แบบเดิมก็ยังคงอยู่ในยุคอนาล็อคอยู่

“การเข้าสู่ยุคสมัย 4.0 ในระบบอุตสาหกรรมก็เพื่อการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการค้าและยังเสียโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ทันสมัย เป็นการปรับปรุงเทคโนโลยี ซึ่งไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นการดีต่อโลก” นายเจน กล่าว

นายเจน ยังกล่าวอีกว่าต่อประเด็นผลกระทบต่อแรงงานมีหรือไม่ คิดว่า แม้มีเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างไรก็ต้องใช้คน ซึ่งต้องมีการพัฒนาทักษะเพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ อาจมีผลกระทบต่อแรงงานบางส่วนที่ไม่ได้พัฒนาทักษะฝีมือ จากการที่ได้ไปดูงานที่ประเทศเยอรมันมานั้น การที่ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมให้ใช้เทคโนโลยีใหม่ เนื่องจากขาดแคลนแรงงานที่จะมาทำงาน เช่นกันประเทศไทยตอนนี้ก็เริ่มขาดแคลนแรงงานในการทำงานในระบบอุตสาหกรรม มีการนำเข้าแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงาน จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ในประเภทงานที่ขาดแคลนแรงงานด้วย ซึ่งในส่วนของงานหัตกรรมที่เป็นงานฝีมือเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีคงไม่สารถทำแทนได้

เจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

นายทิวา ยอร์ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเว็บไซต์ kaidee.com กล่าวว่า การทำงานสตาร์ตอัพนั้นคือการลงทุนที่ต้องเสี่ยงแต่หากประสบผลสำเร็จถือว่าเป็นธุรกิจที่คุ้มค่าทีเดียว แต่ก่อนอื่นต้องดูข้อมูลก่อนว่า ธุรกิจร้อยเปอร์เซ็นต์สำเร็จเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น และมีเพียง 1 บริษัทที่ร่ำรวยมหาศาลนั้นคือเฟซบุ๊กส์ ที่หรืออีกร้อยละ 95 ที่ไม่ประสบผลสำเร็จในธุรกิจสตาร์ตอัพ

“ธุรกิจสตาร์ตอัพถือเป็นโอกาสแม้ว่า ส่วนใหญ่จะไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม ประเทศไทยยังต้องการแนวคิดในการพัฒนาธุรกิจแบบนี้ เช่นในส่วนของการเกษตร ซึ่งสามารถที่จะพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีใหม่เข้ามาแก้ปัญหา kaidee.com ลงทุนทำมา 5 ปี ด้วยแนวคิดในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ เป็นธุรกิจที่ยังไม่มีกำไร ธุรกิจแบบนี้ต้องใช้เวลา และทุน” นายทิวา กล่าว

นายทิวา ยังกล่าวอีกว่า สิ่งที่ต้องสร้างคือการพัฒนาทักษะ แนวคิด ซึ่งการส่งเสริมทางด้านการศึกษามีความสำคัญต้องมีความสอดคล้องกับการจ้างงาน พร้อมการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นเองเพื่อการแก้ปัญหาความสามารถในทางธุรกิจให้ทัดเทียมกับนานประเทศอื่นๆ ได้

ทิวา ยอร์ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเว็บไซต์ kaidee.com
ทิวา ยอร์ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเว็บไซต์ kaidee.com

ด้านศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การที่รัฐบาลมีการกล่าวถึงแนวนโยบายการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมที่เรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 นั้นความหมายคือ การพัฒนาเศรษฐกิจที่กล่าวนั้นหมายถึงคนทุกคนหรือหมายถึงใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และความเจริญที่เสนอนั้นหมายถึงคนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์หรือไม่ หรือว่าเจริญเพื่อใคร ระบบอุตสาหกรรมนั้นทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือตกต่ำลง การพัฒนาอุตสาหกรรมปัจจุบันมีคนรวยเพียงส่วนน้อย แต่คนส่วนใหญ่ยังยากจนอยู่แล้ว จะให้ร่วมมือกับนายจ้างในการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมใหม่ เทคโนโลยีใหม่จนต้องสูญเสียทักษะการดำเนินชีวิตที่เคยหาปลาไปเพียงแค่ชดเชยเงินให้ไปหาอาชีพใหม่แล้วชีวิตของคนเหล่านั้นจะอยู่รอดได้อย่างไร รัฐบาลไม่สนใจหรือ

ศาสตราภิชาน แล กล่าวอีกว่า การที่เปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมของทุนที่กระทบต่อแรงงานจนมีการลุกขึ้นมาเผาโรงงาน และต่อสู้จนเกิดพรรคการเมืองที่เป็นพรรคแรงงาน และมาทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนสิทธิสวัสดิการแรงงาน ต่างกับประเทศไทยที่สิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรองยังไม่ได้รับการยอมรับ ฉะนั้นการที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาแทนแรงงาน ภายใต้ระบบการศึกษาที่ยังไม่มีการพัฒนาให้ให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเทคโนโลยี และหากเทคโนโลยีใหม่เข้ามาคนไม่พร้อมต้องมีคนที่หลุดออกจากงานจำนวนมาก จะมาบอกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีไม่เกี่ยวกับแรงงานอย่างไร หากบอกว่าคนอายุ 40 -50 ปี ต้องมาพัฒนาทักษะเพื่อให้ทันกับงานที่เป็นเทคโนโลยีใหม่อาจมีส่วนหนึ่งรอดแต่อีกส่วนไม่รอดแล้วจะไปทำอะไรในเมื่อทักษะเดิมหายไปหมดแล้วภายใต้ระบบสวัสดิการที่ยังไม่รองรับปัญหาแรงงานจำนวนมากที่ต้องตกงาน คงต้องรื้อระบบการศึกษาทั้งหมด เพื่อการสร้างคนก่อน ทุกวันนี้การศึกษายังไม่สนองต่อการจ้างงานที่มีอยู่

ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายเกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยเซราคิวส์ สหรัฐอเมริกา เล่าว่า จากการที่ได้ลงไปทำงานวิจัยกับแรงงานในพื้นที่ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ระยอง พบว่าแรงงานมีความไม่เข้าใจเรื่องแนวคิดการพัฒนาของรัฐบาลอาจมีบางส่วนที่กังวลใจบ้างเรื่องความเปลี่ยนแปลง การพัฒนาระบบอุตสาหกรรมจากประเทศพัฒนาแล้วทางด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานราคาถูกและเทคโนโลยีต่ำเช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งเดิมประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตเพื่อการส่งออก และตอนนี้มีการย้ายฐานไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า กัมพูชา

แม้ว่ายุค 3.0 ในอุสาหกรรมประเภทยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าขณะนี้ก็มีการปรับฐานการผลิตและมีการปรับเรื่องเทคโนโลยีบ้างแล้วส่งผลกระทบกับแรงงานส่วน เมื่อมีการกล่าวถึงยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่เป็นระบบดิจิตอลที่ต้องใช้แรงงานทักษะ อันนี้พบว่าอาจกรนะทบกับแรงงานทักษะส่วนหนึ่ง เช่นนักการบัญชี นักออกแบบกราฟฟิกดีไซน์ การออกแบบ เป็นต้น และการจ้างงานจะเป็นการจ้างโดยมีการประกาศผ่านเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ที่ต้องการได้งานมีการแข่งขันกันออกแบบ และนายจ้างจะเลือกว่าจะจ้างใคร โดยที่ผู้ถูกจ้างงานไม่ทราบว่าใครเป็นนายจ้าง เกิดแนวการจ้างงานแบบใหม่ขึ้นมากมาย ซึ่งจะมีอีกมากมายที่ไม่ได้งานทำ สิทธิสวัสดิการไม่ต้องมีการกล่าวถึงเป็นการรับงานกันเป็นชิ้นๆ ไม่มีการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงาน ตรงนี้จะดูแลกันอย่างไร เมื่อระบบการจ้างงานเปลี่ยนไป การรวมตัวของสหภาพแรงงานคงยากที่จะเกิดขึ้นอำนาจต่อรองคงไม่มี

“ภายใต้ระบบเศรษฐกิจปัจจุบันแรงงานยังไร้ฝีมือ และโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยี ยังคงอยู่กับผลพวงระบบอุตสาหกรรม 2.0 และยุคอุตสาหกรรม 3.0 การเสนอนโยบายการพัฒนาก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 จะต้องมีคนสูญเสียงานทันทีด้วยความไม่พร้อมที่จะเข้ายุคสมัยจำนวนมาก และคงเกิดผลกระทบทั้งระบบครอบครัว สังคมแน่นอนหากรัฐบาลไม่มีแผนรองรับ” นายเกรียงศักดิ์ กล่าว

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
นายเกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยเซราคิวส์ สหรัฐอเมริกา

ส่วน ดร.เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐบาลควรเรียนรู้ประสบการณ์จากประเทศที่พัฒนาแล้วถึงการจัดการระบบสวัสดิการเมื่อเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง การพัฒนาด้านทักษะคน การดูแลคนที่ขาดทักษะงานที่สอดคล้องเป็นอย่างไร อย่างสหรัฐอเมริกา ในประเทศแถบยุโรป ซึ่งเมื่อเกิดเทคโนโลยีใหม่ เกิดอาชีพใหม่ และแรงงานบางส่วนกลับไปทำอาชีพเดิมที่เคยละทิ้งไปสู่ระบบอุตสาหกรรม แต่กลุ่มแรงงานที่หายไปจากการจ้างงานในระบบอุตสาหกรรมประเภทงาน นอกจากนักการบัญชี คนออกแบบ คนทำโฆษณาแล้ว จะเป็นแรงงานที่ทำงานแบบไม่ใช่ทักษะฝีมือเป็นงานซ้ำซากเดิมๆจำเจ ที่อาจใช้เครื่องจักร หรือเทคโนโลยีใหม่มือทำแทนได้ ส่วนที่จะไม่ตกงานเลยคงเป็นกลุ่มโปร์แกมเมอร์ ซึ่งประเทศไทยยังขาดแรงงานทักษะ เพราะว่าระบบการศึกษาที่ยังไม่ตอบสนองระบบอุตสาหกรรม

ดร.เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้านตัวแทนแรงงาน นายวิสุทธิ์ เรืองฤทธิ์ จากสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย เล่าถึงสถานการณ์ของแรงงานเมื่อทราบถึงนโยบาย 4.0 ของรัฐบาลว่า แรงงานส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าไทยแลนด์ 4.0 จะส่งผลกระทบแรงงานหรือไม่ แต่เมื่อมีการเลิกจ้างแรงงานกลุ่มลูกจ้างเหมาค่าแรงในประเภทกิจการยานยนต์ทำให้รู้สึกถึงความไม่มั่นคงในการมีงานทำ และอนาคต หากกล่าวว่าอุตสาหกรรมไทยยังขาดแรงงานจำนวนมากจนต้องนำเครื่องจักรมาทำงานแทนอันนี้ตนมองว่า ไม่จริง เพราะมีแรงงานจำนวนมากที่ตกงานหากดูจากตัวเลข หากถามถึงทักษะฝีมือแรงงาน และการจัดการเรื่องการศึกษานโยบายการศึกษาวิศวะสร้างชาติ ที่ปัจจุบันมีการนำนักศึกษาเข้าไปฝึกงานในบางสถาบันนั้นกลายเป็นการใช้แรงงานนักศึกษามากกว่าเพราะว่าฝึกงานเป็นปีได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ต้องจ่ายสวัสดิการเหมือนแรงงานในสถานประกอบการ ส่งผลกระทบต่อการจ้างหรือไม่ใครได้ประโยชน์

นายวิสุทธิ์ เรืองฤทธิ์ จากสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย
นายวิสุทธิ์ เรืองฤทธิ์ จากสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย